Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17942
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญเสริม วิมุกตะนันทน์ | - |
dc.contributor.advisor | มะลิ บุณยรัตผลิน | - |
dc.contributor.author | จรีรัตน์ ศรีรัตนา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-14T15:36:07Z | - |
dc.date.available | 2012-03-14T15:36:07Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745670693 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17942 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการเพาะพันธุ์ลูกปลาสวายด้วยวิธีการผสมเทียม ตลอดจนศึกษาถึงวิธีการอนุบาลลูกปลาสวาย ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนอนุบาลลูกปลาสวายในบ่อดินรวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการอนุบาลลูกปลาสวายในบ่อดิน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการสอบถามเกษตรกรในปีการผลิต 2528 ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ทำการอนุบาลลูกปลาสวายในบ่อดินมากที่สุด โดยคัดเลือกฟาร์มตัวอย่างจำนวน 15 ฟาร์มเป็นตัวแทนในการศึกษา ข้อมูลบางส่วนได้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ฤดูการอนุบาลลูกปลาสวายจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม การอนุบาลจะเริ่มตั้งแต่การซื้อปลาตุ้ม (Fry) หรือลูกปลาที่มีอายุไม่เกิน 3 วัน มาอนุบาลเรื่อยไปจนกระทั่งลูกปลาได้ขนาดที่ผู้ซื้อต้องการคือ ขนาด 1, 2, 3 และ 4 นิ้ว โดยใช้ระยะเวลาในการอนุบาลประมาณ 20, 30, 40 และ 50 วันตามลำดับ ต้นทุนของการอนุบาลลูกปลาสวายแต่ละขนาดโดยเฉลี่ยต่อรุ่นต่อบ่อขนาด 1 ไร่ เท่ากับ 16,130.29, 17,812.30, 19,663.92, และ 21,268.45 บาทตามลำดับ คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อ 1 ตารางเมตร เท่ากับ 10.085, 11.134, 12.292 และ 13.111 บาทตามลำดับ และต้นทุนเฉลี่ยต่อร้อยตัว เท่ากับ 10.676, 15.000, 18.001, และ 20.280 บาทตามลำดับ ต้นทุนที่สำคัญที่สุดในการอนุบาลลูกปลาสวายในบ่อดินคือ ค่าพันธุ์ปลา รองลงมาคือ ค่าอาหารปลา เงินลงทุนเริ่มแรกของฟาร์มที่ทำการอนุบาลลูกปลาสวายขนาด 1 และ/หรือ 2 นิ้ว โดยเฉลี่ยเท่ากับ 114,770 บาทต่อฟาร์ม เงินลงทุนเริ่มแรกของฟาร์มที่ทำการอนุบาลลูกปลาสวายขนาด 3 และ/หรือ 4 นิ้ว โดยเฉลี่ยเท่ากับ 115,270 บาทต่อฟาร์ม ส่วนฟาร์มที่ทำการอนุบาลลูกปลาสวายขนาด 1, 2, 3 และ 4 นิ้ว ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกโดยเฉลี่ย 116,270 บาทต่อฟาร์ม อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอนุบาลลูกปลาสวายขนาด 1, 2, 3 และ 4 นิ้ว โดยเฉลี่ยต่อไรต่อปีเท่ากับ 0.61, 11.59, 20.98 และ 17.06% ตามลำดับ ฉะนั้นการอนุบาลลูกปลาสวายให้ได้ขนาด 3 นิ้ว จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด ส่วนปริมาณขาย ณ จุดเสมอตัวของอนุบาลลูกปลาแต่ละขนาดโดยเฉลี่ยต่อรุ่นต่อบ่อขนาด 1 ไร่ เท่ากับ 82,725, 26,542, 13,095 และ 9,739 ตัวตามลำดับ และยอดขาย ณ จุดเสมอตัวของการอนุบาลลูกปลาแต่ละขนาดโดยเฉลี่ยต่อรุ่นต่อบ่อขนาด 1 ไร่ เท่ากับ 10,271.75, 5,300.69, 3,934.43 และ 3,901.16 บาทตามลำดับ ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการอนุบาลลูกปลาสวายในบ่อดิน คือ ปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศ และปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลา นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความชำนาญ ปัญหาเกี่ยวกับศัตรูของลูกปลา ปัญหาเกี่ยวกับโรคปลา ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาเงินทุน ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มีผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆเหล่านี้จะต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ คือ เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้อนุบาลลูกปลาจะช่วยให้เกษตรกรได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุบาลลูกปลา นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินและหน่วยงานของรัฐมากขึ้น และรัฐควรส่งเสริมการวิจัยเพื่อหาอาหารที่สามารถใช้ทดแทนไรแดงและปลาทะเลอย่างจริงจัง นอกจากนี้รัฐควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในด้านเงินทุน ตลอดจนให้ความรู้ทางด้านวิชาการและเทคนิคใหม่ ๆเพื่อให้เกษตรกรทากรอนุบาลลูกปลาได้ผลดียิ่งขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study induced spawning of Pangasius sutchi and related nursery operations, the cost and return on investment of Pangasius sutchi in earthen nursery pond operations, and problems encountered. Fifteen farms in Nakornsawan were sampled in 1985. Primary data were obtained from the farms, other data were collected from literature. The study revealed that nursery season was from April to December. Nursery operations start with the purchase of fry, the nursing to these sizes comes to 20, 30, 40 and 50 days respectively. On the average, the cost of production of various sizes as mentioned above are16,130.29, 17,812.30, 19,663.92 and 21,268.45 Baht/crop/rai respectively or 10.085, 11.134, 12.292 and 13.111 Baht/m2 respectively or 10.676, 15.000, 18.001 and 20.280 Baht/100 units respectively or 10.676, 15.000, 18.001 and 20.280 Baht/100 units respectively. The fish seed was the main operational cost, while the feed cost was secondary. The average capital investment of nursery operations of 1 and/or 2 inches was 114,770 Baht/farm, and 115,270 Baht/farm for nursery operations of 3 and/or 4 inches, and 116,270 Baht/farm for nursery operations of all sizes. On the average, the rate of return on investment in sizes 1, 2, 3 and 4 inches were 0.61, 11.59, 20.98 and 17.06 percent/rai/year respectively. Thus, the fish fingerlings at 3 inches yielded the highest rate of return on investment. Breakeven point in sales units of various sizes as mentioned above are 82,725, 26,542, 13,095 and 9,739 units/crop/rai respectively or 10,271.75, 5,300.69, 3,934.43 and 3,901.16 Baht/crop/rai respectively. The major problems encountered were weather conditions, feed, lack of farming experience, predators, fish diseases, flooding and lack of capital which directly affect the farmers, To resolve these problems, the fish farmers should try to establish fish farmers cooperatives in order to share technical experience and increase bargaining power The government should conduct research on appropriate artificial feeds that can substitute moina and trash fish, the government should also extend credit to the fish farming industry and should assist the private sector by providing technical advice, know-how and other incentives in order to increase the success of nursery operations. | - |
dc.format.extent | 357545 bytes | - |
dc.format.extent | 251519 bytes | - |
dc.format.extent | 417027 bytes | - |
dc.format.extent | 583784 bytes | - |
dc.format.extent | 828940 bytes | - |
dc.format.extent | 318613 bytes | - |
dc.format.extent | 331963 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปลาสวาย -- การเพาะเลี้ยง -- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน | en |
dc.subject | ต้นทุน | en |
dc.subject | การผสมเทียม | en |
dc.title | ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนอนุบาลลูกปลาสวายในบ่อดิน | en |
dc.title.alternative | Cost and return on investment of Pangasius Sutchi in Earthen nursery pond operations | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcombvi@phoenix.acc.chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jareerat_Sr_front.pdf | 349.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jareerat_Sr_ch1.pdf | 245.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jareerat_Sr_ch2.pdf | 407.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jareerat_Sr_ch3.pdf | 570.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jareerat_Sr_ch4.pdf | 809.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jareerat_Sr_ch5.pdf | 311.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jareerat_Sr_back.pdf | 324.18 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.