Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1798
Title: ปัญหายาเสพติด : การศึกษาและวิเคราะห์ในแง่กฎหมาย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Nacrotic problems : a study and analysis of legal aspects
Authors: ไชยยศ เหมะรัชตะ
Email: Chaiyos.H@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายวิธีพิจารณาและธรรมนูญศาล
Subjects: ยาเสพติด
กฎหมายยาเสพติด
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้ประเทศไทยจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งทรัพยากรในด้านอื่น ๆ มาช่วยกันเพื่อการนี้ รัฐบาลได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางทั้งภายในและภายนอกประเทศ ร่วมมือกับนานาชาติ ด้วยความตระหนักดีว่า ปัญหายาเสพติดอาจมีส่วนชักนำให้เกิดปัญหาสังคมหมุนเวียน เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาโสเภณี ซ่องโจร และการพนัน เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมามีความกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนถึงด้านเศรษฐกิจด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยาเสพติดก็ยังคงระบาดในหมู่เยาวชนหรือเด็กวัยรุ่น มิได้บรรเทาเบาบางลงไป ดูเหมือนว่าจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ยิ่งนานวันปัญหาเหล่านี้ก็ยิ่งทับถมและเรื้อรัง เป็นสิ่งที่ยากต่อการแก้ไขเป็นทวีคูณ มาตรการทางกฎหมายที่ใช้สกัดกั้นยาเสพติด เป็นมาตรการที่สำคัญมาในอันที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเยาเสพติด เพราะการดำเนินการจะต้องมีระเบียบ แบบแผน และหลักเกณฑ์ที่แน่นอน สิ่งเหล่านี้ย่อมได้มาจากมาตรการางกฎหมายที่วางไว้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มาตรการทางกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการจะปราบปรามป้องกันหรือการบำบัดรักษาผู้เสพติด มิฉะนั้น การแก้ไขปัญหาจะต้องประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การกำหนดมาตรการางกฎหมายที่ดี จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้านนับตั้งแต่ การทำความรู้จักเกี่ยวกับยาเสพติด ประเภทของยาเสพติด ลักษณะและโทษของยาเสพติด สาเหตุที่ทำให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งภายในและต่างประเทศ การวิวัฒนาการของกฎหมายที่มีมาในอดีต การศึกษาองค์ประกอบหลายด้าน จะทำให้ได้มาตรการางกฎหมายที่สอดคล้องกับปัญหาตามสภาพเท็จจริงที่เกิดขึ้น กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทย เริ่มมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน กฎหมายยาเสพติดที่ยังคงมีผลบังคับใช้ คือ 1. พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 3. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 4. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 5. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่มาตรการทางกฎหมายที่กระจายอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับที่กล่าวมาทั้ง 5 ฉบับนี้ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่า เป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะหยิบยกมาแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบันให้หมดสิ้นไปได้ ด้วยสาเหตุที่ว่า 1. พระราชบัญญัติบางฉบับมีมาตรการทางกฎหมายล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับปัญหาในขณะนี้ 2. มาตรการบางประการ ก็สมควรที่จะยกเลิกได้แล้ว เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ 3. การที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทำให้ต้องบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับภาคีสมาชิก มาตรการทางกฎหมายบางอย่างไม่อาจนำมาแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผล 4. พระราชบัญญัติบางฉบับมิได้เอื้ออำนวยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้โดยสะดวก เนื่องจากไม่ได้ให้อำนาจเย่างเพียงพอ หรือโดยแจ้งชัดดังนั้น การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหายาเสพติดในแง่กฎหมายต้องค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม นำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่กล่าวมาแล้ว การดำเนินการวิจัยได้ แบ่งเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยสนาม (Filed Research) เป็นการสำรวจทัศนคติของบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด และนำมาสรุปเพื่อให้ได้มาตรการทางกฎหมายที่ดีตามวัตถุประสงค์
Other Abstract: The drug problem is one of the most siginificant social problems at present. Nowadays, Thailand must set aside a large sum of money to tackle this problem as well as mobilizing other resources for that purpose. To do this, the government has tried by all means to co-operate with the international community for the purpose of increasing the effectiveness in dealing with the problem. The government is well aware that the drug problem may in large part cause a chain of problems like crimes, deliquency problems, prostitution, hide-outs, and gambling. These problems all directly or directly affect our national stability, peace and order, and good moral as well as our ceonomy. However, narcotics are still prevalent among our youth or adolescents, not declining even at a small degree. It seems that narcotics will more and more increase in the forseeable future and the longer the time, the more serious and chronic this problem is. Legal measure for preventing narcotics are especially importantones to tackle the ndrug problem as in doing so there must be certain regulations, procedured, and principles, which surely are derived from legal measures. It can therefore be siad that.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1798
Type: Technical Report
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaiyosHam.pdf45.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.