Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา
dc.contributor.advisorศิรินทร หยิบโชคอนันต์
dc.contributor.authorอร่ามศรี มีพร้อม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned2012-03-16T15:42:34Z
dc.date.available2012-03-16T15:42:34Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18022
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการรับประทานน้ำตาลฟรุกโตสปริมาณสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเบาหวานได้ การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจึงอาจเป็นหนทางป้องกันการเกิดโรคเบาหวานอันเนื่องมาจากอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตสปริมาณสูงที่คาดหวังผลได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดองุ่น (Grape seed extract; GSE) ในเชิงป้องกันการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โดยศึกษาผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลกลูโคส ฮอร์โมนอินซูลินและไขมันในเลือด ปริมาณการสะสมไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ และมุ่งเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงระดับการแสดงออกของโปรตีนในกระบวนการส่งสัญญาณอินซูลินในเซลล์กล้ามเนื้อของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตสปริมาณสูง(High-fructose diet; HF) นาน 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า หนูที่ได้รับ HF เสริมด้วย GSE มีระดับน้ำตาลกลูโคสและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับ HF เพียงอย่างเดียว ระดับฮอร์โมนอินซูลินในเลือดลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีความแตกต่างระหว่างปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดหนูที่ได้รับ HF กับหนูที่ได้รับ HF เสริมด้วย GSE ส่วนการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์พบว่า GSE ไม่เพิ่มการแสดงออกของ Insulin receptor β (IRβ) และ Insulin receptor substrate 1 (IRS-1) ในเซลล์กล้ามเนื้อของหนูเบาหวานที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย HF อย่างไรก็ตาม GSE สามารถเพิ่มระดับการแสดงออกของโปรตีนตัวส่งสัญญาณอินซูลินในช่วงปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ Protein kinase B (PKB/Akt) และ Glucose transporter 4 (GLUT4) ส่งผลให้มีการขนส่งกลูโคสเข้าเซลล์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ GSE ยังเพิ่มปริมาณการสะสมไกลโคเจนในกล้ามเนื้อหนูที่ได้รับ HF อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ GSE เป็นอาหารเสริมในเชิงป้องกันภาวะดื้ออินซูลินและโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้en
dc.description.abstractalternativeConsumption of high dietary fructose is an important factor contributing to the growing worldwide prevalence of diabetes mellitus. Finding effective plant foods and their ingredients can be beneficial in the prevention of high-fructose diet induced diabetes. The aim of this study was to investigate the preventive effect of grape seed extract (GSE) on the alteration of body weight, plasma glucose, plasma insulin, lipid profiles, glycogen accumulation and the expression of insulin signaling proteins in a high-fructose-diet (HF) induced diabetic rats. The results showed that a high-fructose diet supplemented with GSE caused no change in rat body weight, whereas it significantly decreased plasma glucose and triglyceride concentration (p<0.05). The plasma insulin concentration of HF supplemented with GSE tended to decrease when compared to HF group but not significant. There were no significant differences in plasma cholesterol between HF and HF supplemented with GSE. Moreover, GSE did not alter the levels of expression of insulin receptor β (IRβ) and insulin receptor substrate 1 (IRS-1) in HF induced diabetic rats, whereas it increased the expression of downstream signaling proteins of phosphatidylinositol-3 kinase (PI3K) including protein kinase B (PKB/Akt) and glucose transporter 4 (GLUT4), resulting in a consequential increase of glucose uptake. These results also showed that HF supplemented with GSE significantly increased in glycogen accumulation in skeletal muscle (p<0.05). From this point of view, GSE is a possible strategy for prevention of patients with type 2 diabetes mellitus.en
dc.format.extent7352671 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2092-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบาหวาน
dc.subjectอินสุลิน
dc.subjectสารสกัดจากพืช
dc.subjectสารสกัดเมล็ดองุ่น
dc.subjectDiabetes
dc.subjectInsulin
dc.subjectExtracts
dc.subjectHigh-Fructose diet
dc.titleการเปลี่ยนแปลงการส่งสัญญาณอินซูลินโดยสารสกัดเมล็ดองุ่นในหนูเบาหวานที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตสปริมาณสูงen
dc.title.alternativeAlteration of the insulin signaling pathway by grape seed extract in high-fructose-induced diabetic ratsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.A@Chula.ac.th
dc.email.advisorSirintorn.Y@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.2092-
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aramsri_me.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.