Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18046
Title: The shan people's consumption of Thai 'Chak Chak Wong Wong' television serials
Other Titles: การบริโภคละครโทรทัศน์จักรจักรวงศ์วงศ์ไทยของคนฉาน
Authors: Rungnapa Kasemrat
Advisors: Niti Pawakapan
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Niti.P@Chula.ac.th
Subjects: Television plays
Shan (Asian people) -- Burma
Issue Date: 2009
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The goal of this research is to investigate the cross border consumption of Thai chak chak wong wong television serials (CCWW) by focusing on a case study in Myanmar’s Shan State. The study covers the beginnings of Thai CCWW television serials in the Shan State, dubbing operations, consumption networks, and the Shan people’s translation of CCWW into local languages. It applies the ethnographic research methods, especially the participant observation and in-depth interviews with focus groups, namely the Samphinong dubbing company in Taunggyi, the capital city of southern Shan State, as well as five distributors from Shan townships. Measurements of the CCWW consumption and its network were based on Samphinong’s accounting books for 2008. The research discovers that the cross border consumption of Thai CCWW began when the Myanmar government opened up its economic policies, which led to the introduction of new technology and media to the Shan State for community’s entertainment. As a result, the CCWW serials, mostly Buddhist drama, became popular. After the government cracked down on the foreign media, only the Samphinong group survived to dub CCWW, as well as the evening serials. New technologies, especially the satellite dish which provides television signals directly from Thailand, have changed the consumption, as well as the CCWW trade. VCDs have also become convenient media for distant consumers. The dubbing studio in Taungyi, however, faces certain risks under Myanmar’s strict media laws. Based on well-known Jataka tales, CCWW as religious dramas have minimized such problems. Negotiations have occurred with local authorities and partnerships have been formed as well. To localize CCWW for the Shan people, translations are necessary for local audience’s comprehension, for example, titles and actor’s names are changed accordingly to the Shan’s worldview, which is rather different from the original source. The Thai and Shan are widely connected by their shared cultures and religions, but in the context of modernization, the Tai worlds are diverse, as this research will illustrate. Since the Shan consumption of Thai CCWW involves a cross-cultural translation, it has demystified the common idea of the Tai brotherhood as one
Other Abstract: จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือ การสำรวจว่าการบริโภคละครโทรทัศน์จักรจักรวงศ์วงศ์ไทยของคนฉาน ภายใต้บริบทของประเทศพม่ามีกระบวนการอย่างไร โดยมุ่งศึกษาประเด็นการบริโภคละครโทรทัศน์ข้ามพรมแดนในบริบทสมัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วยการเริ่มต้นของละครโทรทัศน์จักรจักรวงศ์วงศ์ไทยในรัฐฉานใน รูปแบบของสินค้า กระบวนการผลิตและพากย์เสียงฉานเพื่อการบริโภค รูปแบบและเครือข่ายของผู้บริโภค รวมทั้งการแปลละครจักรจักรวงศ์วงศ์ให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นของชาวฉาน การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์ คือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในขั้นตอนการผลิตละครพากษ์เสียงฉาน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย หลัก ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในบริษัทสามพี่น้อง ผู้จำหน่ายละครจากพื้นที่ต่างๆ ในรัฐฉานจำนวน 5 คน การใช้ข้อมูล เชิงปริมาณของการสั่งซื้อละครในพื้นที่ต่างๆ จากสมุดบัญชีของบริษัทสามพี่น้องปี 2551 เพื่อนำมาใช้ในการวัด ค่าความนิยมของการบริโภคละครโทรทัศน์จักรจักรวงศ์วงศ์ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงเครือข่ายของการบริโภค ละครในพื้นที่ต่างๆ ทั่วรัฐฉาน นอกจากนี้ แผ่นวีซีดีพากษ์เสียง 10 เรื่อง รายชื่อละครจักรจักรวงศ์วงศ์ และ รายชื่อนักแสดงจักรจักรวงศ์วงศ์ในภาษาฉาน ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์การแปลงสื่อด้วย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าละครโทรทัศน์จักรจักรวงศ์วงศ์ได้ข้ามพรมแดนสู่การบริโภคในรัฐฉาน ตั้งแต่ประเทศพม่ามีนโยบายเปิดเศรษฐกิจ การเข้าถึงเทคโนโลยีและสื่อของชาวฉานทำให้เกิดการบริโภคความ บันเทิงภายในชุมชน ส่งผลให้ละครจักรจักรวงศ์วงศ์ ซึ่งเป็นละครอิงพุทธศาสนาจากชายแดนถูกเปลี่ยนเสียงเพื่อ เป็นสินค้า หลังจากมีการกวาดล้างสื่อต่างประเทศมีเพียงบริษัทสามพี่น้องที่ยังคงผลิตสื่อนี้อย่างต่อเนื่องรวมทั้ง ละครไทยภาคค่ำด้วย เมื่อจานดาวเทียมนำส่งสัญญาณโทรทัศน์จากประเทศไทยตรงมาถึงบริษัท รูปแบบการค้า ละครจึงเปลี่ยนไป วีซีดีสร้างความสะดวกให้กับผู้บริโภคทำให้ธุรกิจก้าวหน้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพากษ์ ละครไทยเพื่อการค้าในตองจี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน ต้องเผชิญกับความเสี่ยงกับกฎหมายสื่อของรัฐบาล พม่า ละครจักรจักรวงศ์วงศ์ในฐานะที่เป็นสื่อนิทานชาดกสามารถดำรงอยู่ได้ พร้อมกับการใช้วิธีการต่อรองกับ อำนาจรัฐและกับคู่ค้าทำให้ธุรกิจการพากย์เสียงมีความเสี่ยงน้อยลง และเพื่อจะทำให้สื่อละครจักรจักรวงศ์วงศ์ ไทยเข้ากับผู้บริโภค การแปลข้ามวัฒนธรรมถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการแปลงสื่อไทยให้เข้าบริบทท้องถิ่นของ ผู้ชม การแปล การพากษ์เสียง การใช้คำในชื่อเรื่องใหม่ และแม้กระทั่งการตั้งชื่อนักแสดงใหม่ในภาษาฉานล้วน แต่แสดงให้เห็นถึงการตีความและการมองโลกของชาวฉานที่มีคติความเชื่อต่างไปจากสื่อต้นแบบอย่างไทย ชาวไทยกับชาวฉานมีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางวัฒนธรรมและศาสนา แต่ในบริบทของรัฐชาติสมัยใหม่ ได้เข้ามาสร้างการมองโลกที่หลากหลายในชนชาติไท การบริโภคละครโทรทัศน์จักรจักรวงศ์วงศ์ของคนฉานและ กระบวนการแปลข้ามวัฒนธรรมได้นำไปสู่ความเข้าใจชนชาติไทในเรื่องความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ว่าจักรจักรวงศ์ วงศ์เป็นสื่อนิทานสมัยใหม่ที่ยังต้องอาศัยการตีความ อันแสดงให้เห็นถึงโลกที่แตกต่างของชนชาติไท
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2009
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Southeast Asian Studies (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18046
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1841
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1841
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rungnapa_ka.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.