Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18049
Title: Diversity of soybean rhizobia in 16 subdistricts of Phitsanulok province
Other Titles: ความหลากหลายของไรโซเบียมถั่วเหลืองใน 16 ตำบลของจังหวัดพิษณุโลก
Authors: Sujidkanlaya Maruekarajtinplaeng
Advisors: Kanjana Chansa-ngavej
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Kanjana.c@chula.ac.th
Subjects: Rhizobium
Soybean
ไรโซเบียม
ถั่วเหลือง
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Soybean rhizobia are Gram negative bacteria that fix nitrogen in root nodules of soybeans. At present, there is not much information on polyphasic taxonomy of soybean rhizobia in Thailand. The aim of the experiments is to isolate and characterize, by polyphasic taxonomy, soybean rhizobium strains in soils from 16 subdistricts in Phitsanulok province. Host trapping method was used to isolate bacteria from root nodules of 5 soybean cultivars grown in soils from the 16 subdistricts. A total of 340 isolates were purified and categorized into fast- and slow-growers based on their visible growth on yeast extract mannitol with 0.25 μg.ml-1 Congo red agar plates. The results indicated there were 138 and 202 isolates of fast- and slow-growers, respectively. Identical RAPDPCR fingerprints revealed the 202 slow-growing isolates consisted of 121 strains. Authentication tests employing 5 soybean cultivars showed all the 138 fast-growing isolates did not nodulate soybean roots. Thus, they were not fast-growing soybean rhizobia. On the contrary, all the 202 slowgrowing isolates were found to nodulate soybean roots. Therefore, they were slow-growing soybean rhizobia. Bromthymol blue (BTB) reactions on BTB agar plates showed there were two types of slowgrowing soybean rhizobia. Type 1 secreted alkali product(s) after 5-day incubation then secreted acidic product(s) upon prolonged incubation for another 5 days. Type 2 secreted only alkali product(s) after 10-day incubation. Results from nucleotide sequences of 16S rDNA of randomlyselected 20 slow-growing strains revealed 12 strains (STB8, STB119, STB120, STB147, STB173, STB176, STB179, STB185, STB220, STB238, STB245 and STB327) were related to B. ellkanii. 6 strains (STB30, STB54, STB67, STB96, STB250 and STB310) were closely related to Bradyrhizobium japonicum, and 2 strains (STB169 and STB264) were related to B. yuanmingense. The results indicated that nodY sequences and results on utilization/non-utilization of 95 carbon and nitrogen sources could not be used to identify soybean rhizobium strains. In addition, dendrograms constructed from DNA fingerprints of the 121 soybean rhizobium strains revealed genetic diversity. This research is the first report on the findings of B. yuanmingenseas as well as natural variants of soybean rhizobia in Thailand.
Other Abstract: ไรโซเบียมถั่วเหลืองเป็นแบคทีเรียย้อมติดสีแกรมลบที่ตรึงไนโตรเจนในปมรากถั่วเหลือง ปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่มากด้านอนุกรมวิธานแบบพอลิฟาสิก ของไรโซเบียมถั่วเหลืองในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อแยกและใช้อนุกรมวิธานแบบพอลิฟาสิกจำแนกชนิดสายพันธุ์ไรโซบียมถั่วเหลืองที่แยกจากดิน 16 ตำบลของ จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ถั่วเหลืองจำนวน 5 พันธุ์เป็นกับดักล่อให้ไรโซเบียมถั่วเหลืองเข้าสร้างปม (Host trapping method) และนำปมมาแยกแบคทีเรียได้ทั้งหมดจำนวน 340 ไอโซเลต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือประเภทเพิ่มจำนวนเร็วและประเภทเพิ่มจำนวนช้า ตามลักษณะการปรากฏของโคโลนีบนอาหารวุ้นสูตร YM ที่มีคองโกเรด 0.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ผลการทดลองพบว่ามี 138 ไอโซเลต และ 202 ไอโซเลต ที่จัดเป็นประเภทเพิ่มจำนวนเร็ว และประเภทเพิ่มจำนวนช้า ตามลำดับ เปรียบเทียบความเหมือนของลายพิมพ์ดีเอ็นเอจาก RAPD-PCR พบว่า แบคทีเรียประเภทเพิ่มจำนวนช้า 202 ไอโซเลตประกอบด้วย 121 สายพันธุ์ การพิสูจน์ว่าแบคทีเรียที่แยกได้เป็นไรโซเบียมถั่วเหลืองหรือไม่โดยใช้ถั่วเหลือง 5 พันธุ์ พบว่าแบคทีเรียประเภทเพิ่มจำนวนเร็วทั้ง 138 ไอโซเลตไม่สร้างปมที่รากถั่วเหลือง ดังนั้น จึงไม่จัดว่าเป็นไรโซเบียมถั่วเหลืองประเภทเพิ่มจำนวนเร็ว ในทางตรงกันข้าม แบคทีเรียประเภทเพิ่มจำนวนช้าทั้ง 121 สายพันธุ์ สร้างปมที่รากถั่วเหลือง แสดงว่าเป็นไรโซเบียมถั่วเหลืองประเภทเพิ่มจำนวนช้า ปฏิกิริยาบรอมไทมัลบลูบนอาหารวุ้นบรอมไทมัลบลูแสดงให้เห็นว่ามีไรโซเบียมถั่วเหลือง 2 แบบ แบบที่ 1 ขับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างหลังจากบ่มที่ 30°C เป็นเวลา 5 วัน จากนั้นจะขับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดหลังจากบ่มต่อที่ 30°C เป็นเวลาอีก 5 วัน แบบที่ 2 ขับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างตลอดระยะเวลาการบ่มที่ 30°C เป็นเวลา 10 วัน ผลการจำแนกชนิดโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA ของไรโซเบียมถั่วเหลืองประเภทเพิ่มจำนวนช้า 20 สายพันธุ์ที่เลือกแบบสุ่ม พบว่า ไรโซเบียมถั่วเหลืองจำนวน 12 สายพันธุ์ (STB8, STB119, STB120, STB147, STB173, STB176, STB179, STB185, STB220, STB238, STB245 และ STB327) มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการใกล้ชิดกับ B. ellkanii ไรโซเบียมถั่วเหลืองจำนวน 6 สายพันธุ์ (STB30, STB54, STB67, STB96, STB250 และ STB310) มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการใกล้ชิดกับ Bradyrhizobium japonicum ไรโซเบียมถั่วเหลืองจำนวน 2 สายพันธุ์ (STB169 และ STB264) มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการใกล้ชิดกับ B. yuanmingense และผลการทดลองพบว่า ไม่สามารถใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน nodY และผลการใช้/ไม่ใช้แหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนจำนวน 95 แหล่ง ในการจำแนกชนิดไรโซเบียมถั่วเหลือง นอกจากนี้ผลการสร้างเดนโดรแกรมจากลายพิมพ์ดีเอ็นเอของไรโซเบียมถั่วเหลือง จำนวน 121 สายพันธุ์ พบความหลากหลายด้านดีเอ็นเอ งานวิจัยนี้เป็นรายงานแรกที่พบ B. yuanmingense ในประเทศไทยและเป็นรายงานแรกที่พบว่าไรโซเบียมถั่วเหลืองในประเทศไทยประกอบด้วย natural variants
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Microbiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18049
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.29
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.29
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujidkanlaya_ma.pdf14.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.