Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18218
Title: ผลกระทบของนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินต่อผลิตภาพการผลิตโดยรวมในประเทศไทย
Other Titles: The effect of financial liberalization policy on total factor productivity in Thailand
Authors: สายทิพย์ คงเกียรติณรงค์
Advisors: โสตถิธร มัลลิกะมาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Sothitorn.M@chula.ac.th
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลกระทบของนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินต่อผลิตภาพการผลิตโดยรวมในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2525-2550 ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรีด้านอัตราดอกเบี้ย การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ การเปิดเสรีด้านการผ่อนคลายการควบคุมธนาคารและสถาบันการเงิน และการเปิดเสรีภาคบริการทางการเงินด้วยวิธี Cointegration และ Error correction model ผลการศึกษาในระยะยาวพบว่า การเปิดเสรีทางการเงินทั้ง 4 ด้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตโดยรวม มีเพียงทุนมนุษย์และสัดส่วนทุนต่อแรงงานเท่านั้น ที่ส่งผลทางบวกและทางลบต่อการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตโดยรวมตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากการเปิดเสรีทางการเงินในประเทศไทยนั้น นำมาซึ่งความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ประกอบกับประเทศไทยเพิ่งเริ่มดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงินในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์ ทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการควบคุมด้านการเงินอีกครั้ง จึงไม่พบความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน กับผลิตภาพการผลิตโดยรวมในช่วงที่ศึกษา ระยะสั้นพบว่า ปริมาณเงินลงทุนทางตรงและปริมารณเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและทุนมนุษย์มีความสัมพันธ์ทางบวก ขณะที่ระดับการแปรรูปภาคธนาคารเป็นของเอกชน มีความสัมพันธ์ทางลบต่อการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการเข้าแทรกแซงระบบการเงินของภาครัฐในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ช่วยบรรเทาความอ่อนแอของระบบการเงินและฟื้นฟูสถาบันการเงิน ซึ่งส่งผลดีต่อผลิตภาพการผลิตโดยรวมในประเทศไทย
Other Abstract: To analyze the effect of financial liberalization policy on total factor productivity in Thailand during 1982-2007, the periods which included conducting financial liberalization policy and financial crisis in 1997. Financial liberalization policy is divided into four major groups included interest rate deregulation, capital control deregulation, bank deregulation and financial service liberalization. The long run relationship between financial liberalization policy and total factor productivity growth (TFPG) is estimated by cointegration and the short run by error correction model. The long run results find that neither financial liberalization policy nor has significant impact on TFPG, While human capital is positively and capital-labor ratio is negatively related on TFPG. Possible reasons for this finding is financial liberalization leaded to unstable economy and become to financial crisis, moreover Thailand had conducted financial liberalization policy for short period before depressed financial system again in 1997. In contrast, the short run results find that the foreign direct investment and equity investment per GDP has significant positive impact and the level of privatization has significant negative impact on TFPG. This finding due to nationalizing failure financial institutions for stabilize financial system in crisis period benefited to recovery economic and financial system stability which had positive impact to TFPG.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18218
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saithip_ko.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.