Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1843
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของอาการ การจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนกับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
Other Titles: Relationships between nausea/vomiting severities, symptom management, and functional status in cancer patients undergoing chemotherapy
Authors: อรนุช ประดับทอง, 2516-
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: มะเร็ง -- การรักษา
มะเร็ง -- ผู้ป่วย
คลื่นไส้
อาเจียน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของอาการ การจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนกับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็ง ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และยินยอมให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 80 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบวัดความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียน แบบสอบถามการจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียน และแบบสอบถามภาวะการทำหน้าที่ เครื่องมือทั้ง 3 ชุด ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.79, 0.70, 0.90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง (X=13.64) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โดยการใช้ยาอยู่ในระดับปานกลาง (X= 1.66) สำหรับการจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยการไม่ใช้ยาอยู่ในระดับมาก (X= 2.65 ) 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.3) โดยด้านการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านการนอนหลับและด้านความสามารถในการรับประทานอาหารอยู่ในระดับมาก (X=3.81, 3.61 และ 3.75) สำหรับด้านการทำงานอยู่ในระดับน้อย (X=2.18) 4. ความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.375) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้าน พบว่า ความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะการทำหน้าที่ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านการนอนหลับ ด้านความสามารถในการรับประทานอาหาร และด้านการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r=-.356, -.330, -.237, และ -.255) การจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยการใช้ยาไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้าน พบว่า การจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยการใช้ยาไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านการนอนหลับ ด้านความสามารถในการรับประทานอาหารและด้านการทำงาน การจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยการไม่ใช้ยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.255) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้าน พบว่า การจัดการอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยการไม่ใช้ยา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะการทำหน้าที่ด้านการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.351) และไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ด้านการทำหน้าที่ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านความสามารถในการรับประทานอาหารและด้านการทำงาน
Other Abstract: The purpose of this research was to examine the relationships between nausea/vomiting severities, symptom management, and functional status in cancer patients undergoing chemotherapy. Subjects were 80 patients admitted at King Chulalongkorn Memorial Hospital. These patients were 18 years old and over, and all voluntarily participated in the study. Data were collected by using 4 instruments: demographic data form, Index of Nausea, Vomiting, and Retching, Symptom Management Scale, and Functional Status Scale. The reliability of three instruments were 0.79, 0.70, and 0.90, respectively. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. Major findings were as follows: 1. Nausea/vomiting severities mean scores of cancer patients undergoing chemotherapy were at the medium level. (X=13.64) 2. Pharmacological management mean scores of cancer patients undergoing chemotherapy were at the medium level (X=1.66) and nonpharmacological management mean scores were at the high level. (X=2.65) 3. Functional status scores of cancer patients undergoing chemotherapy were at the medium level. (X=3.3). Daily activities scores, sleep pattern scores, and ability to enjoy food scores were at the high level while working scores was at the low level. (X= 3.81,3.61,3.75 and 2.18 respectively). 4. There was a negatively statistical correlation between nausea/vomiting severities and functional status at the level of .05 (r= -.375). There was a negatively statistical correlation between nausea/vomiting severities and functional status in the aspect of daily activities, sleep pattern, ability to enjoy food, and working at the level of .05 (r= -.356,-.330,-.237 and -.225 respectively). There was no correlation between pharmacological management and functional status. There was no correlation between pharmacological management and functional status in the aspect of daily activities, sleep pattern, ability to enjoy food, and working. There was a positively statisticalcorrelation between nonpharmacological management and functional status at the level of .05 (r= .255). There was a positively statistical correlation between nonpharmacological management and functional status in the aspect of sleep pattern at the level of .05 (r=.351). There was no correlation between nonpharmacological management and functional status in the aspect of daily activities, ability to enjoy food, and working.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1843
ISBN: 9741709544
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranute.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.