Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18752
Title: Simultaneous analysis of antibiotic residues in food matrices using hydeophilic interaction coupled with tandem mass spectrometry
Other Titles: การวิเคราะห์แบบพร้อมกันของสารปฏิชีวนะตกค้างในเมทริกซ์อาหารด้วยอันตรกิริยาชอบน้ำควบคู่กับแทนเดมแมสสเปกโทรเมตรี
Authors: Chayada Chiaochan
Advisors: Natchanun Leepipatpiboon
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: natchanun.leepipatpiboon@ars.usda.gov
Subjects: Mass Spectrometry
Issue Date: 2009
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: In this study, simple and sensitive method for simultaneous analysis of twenty four antibiotics belong to eight important classes : four sulfonamides, four quinolones, four macrolides, three tetracyclines, three aminoglycosides, three penicillins, two lincosamides, and amprolium in food was developed. The method involved a liquid extraction with the mixture of acetonitrile and 2% trichloroacetic acid in equal ratio, and removed fat with hexane before dilution of an extract with 10% formic acid : acetonitrile (9:1), and followed by hydrophilic interaction liquid chromatography (HILIC)-electrospray ionization tandem mass spectrometry in positive ion mode. The combination of effective extraction procedure and HILIC separation technique allowed quantification and confirmation of compounds with different polarity in a single chromatographic analysis. Several parameters affecting on the extraction efficiency, separation and sensitivity were optimized. The validation method has been performed in chicken matrix according to European Union Decision 2002/657/EC. Good performance data were obtained for recovery, precision, calibration curve, specificity and limit of detection. The average recoveries for all targeted analytes at MRLs concentration level were obtained in the range of 57 to 99 % with satisfactory %RSD of 2-14 (n=10) and also lower than acceptable value calculated from Horwitz equation. The limits of detection were 0.1-20 µg/kg for all compounds. Good linearity covered the concentration range of 0.25 MRL-2 MRL (sulfonamides ranged from 0.05 MRL-MRL, enrofloxacin and ciprofloxacin ranged from 0.1 MRL-MRL) with coefficient of determination higher than 0.99. The optimized method has been successfully applied to real chicken samples which can be detected enrofloxacin at 6.5 µg/kg. The method can also be employed for shrimp and egg samples analysis in routine laboratory for a different class of antibiotic residues from various matrices
Other Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์สารปฏิชีวนะตกค้างหลายชนิดพร้อมกันใน 8 กลุ่มได้แก่ กลุ่มซัลโฟนาไมด์ 4 ชนิด, ควิโนโลน 4 ชนิด, แมคโครไลด์ 4 ชนิด, เททราซัยคลิน 3 ชนิด, อะมิโนไกลโคไซด์ 3 ชนิด, เพนนิซิลิน 3 ชนิด, ลินโคซาไมด์ 2 ชนิด และสารแอมโพเลียม รวมทั้งสิ้น 24 ชนิด ในเมทริกซ์อาหาร โดยวิธีการเตรียมตัวอย่างประกอบด้วย การสกัดด้วยสารสารละลายผสมของ 2% กรดไตรคลอโรอะซิติกกับ อะซิโตไนไตรล์ ในอัตราส่วนเท่ากัน กำจัดไขมันจากสารตัวอย่างด้วยเฮกเซน จากนั้นเจือจางสารละลายตัวอย่าง และทำการแยกสารและตรวจวัดด้วยเทคนิคการแยกแบบอันตรกิริยาชอบน้ำลิควิดโครมาโทกราฟี- แทนเดมแมสสเปกโทรเมตรี แบบ electrospray ionization โดยตรวจวัดในรูปของประจุบวก เทคนิคอันตรกิริยาชอบน้ำเป็นเทคนิคที่สามารถเหนี่ยวรั้งสารที่มีสภาพขั้วสูงและช่วยเพิ่มสภาพไวการวิเคราะห์ได้สูงกว่าเทคนิคการแยกแบบ รีเวิร์สเฟส และ ไอออนแพร์ การรวมกันของวิธีการสกัดและเทคนิคการแยกที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถตรวจวัดทั้งชนิดและปริมาณของสารปฏิชีวนะที่มีสภาพขั้วต่างกันอย่างมากได้ในครั้งเดียว นอกจากนี้ได้ศึกษาถึงตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการสกัด, การแยก และสภาพไวการวิเคราะห์ งานวิจัยที่นำเสนอนี้ได้ทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป ค่าร้อยละการคืนกลับของสารปฏิชีวนะทุกชนิดในตัวอย่างเนื้อไก่ที่ระดับความเข้มข้น MRL อยู่ในช่วง 57 ถึง 99 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (n = 10) อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (2-14%) เมื่อเทียบกับค่าที่คำนวณได้จาก Horwitz equation และมีขีดจำกัดต่ำสุดของการวัดเท่ากับ 0.1 ถึง 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสารทุกชนิดในช่วงความเข้มข้น 0.25 MRL- 2 MRL (กลุ่มซัลโฟนาไมด์ 0.05 MRL-MRL, เอ็นโรฟลอกซาซิน และ ไซโปรฟลอกซาซิน 0.1 MRL-MRL) มากกว่า 0.99 และได้นำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างจริง ได้แก่ ไก่, กุ้ง และไข่ไก่ ซึ่งตรวจพบสารเอ็นโรฟลอกซาซินในเนื้อไก่ที่ความเข้มข้น 6.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แสดงถึงความเหมาะสมของการนำงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานวิเคราะห์ประจำในห้องปฏิบัติการที่ต้องการตรวจวิเคราะห์สารปฏิชีวนะต่างกลุ่มกันจากเมทริกซ์อาหารหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2009
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18752
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1864
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1864
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayada_ch.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.