Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18918
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กับความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หก
Other Titles: The relationship between scientific creativity and an ability in problem solving of prathom suksa six students
Authors: วินัย ดำสุวรรณ
Advisors: รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดและการคิด
การแก้ปัญหา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กับความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูง ซึ่งเรียนในโรงเรียนต่างสังกัด ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ชุดแรกเป็นแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สร้างโดย สุมาลี กาญจนชาตรี มีค่าความเที่ยง 0.559 และชุดที่สองเป็นแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้แล้ว มีค่าความเที่ยง 0.89 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ 1.99 ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2528 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในความควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร สังกัดละ 3 โรง รวม 12 โรง จำนวนนักเรียนสังกัดละ 105 คน รวม 420 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จากผลคูณของคะแนนแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการทดสอบทางสถิติแบบไม่ใช่พารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics) ตามวิธีการทดสอบของครัสคาล-วอลลิส (The Kruskal-Wallis one-way analysis of Variance by ranks) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กับความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูง ที่เรียนในโรงเรียนต่างสังกัดไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the relationship between the scientific creativity and the problem-solving ability of prathom suksa six students, and to compare scientific creativity of high problem solving ability students from schools attached to different educational organizations in the Bangkok metropolis. The instruments used in this study were of 2 sets: 1. The scientific creativity test constructed by Miss Sumales Kanjanachatree, with the reliability of 0.559. 2. The problem-solving test made by the study conductor. The test was improved by highly-qualified persons and was also tried out. It carried the reliability of 0.89 and the standard error of measurement of 1.99. The subjects participating in this study were 420 prathom suksa six students from schools attached to the Bangkok metropolitan, the office of the Bangkok primary education, the Ministry of University affairs and to the office of the private education commission, 3 schools from each educational organization, making the total of 12 schools-105 students from each organization. The Pearson’s product moment correlation coefficient and the nonparametric statistics which follow the Kruskal-Wallis one-way analysis of variance by ranks were used to analyze the data. The findings of this study were 1) there was a significant relationship between scientific creativity and the problem-solving ability at the .01 level. 2) there was no significant differences between high problem-solving ability students from schools attached to different educational organizations in terms of the scientific creativity at the .001 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18918
ISBN: 9745663174
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winai_Da_front.pdf467.88 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Da_ch1.pdf479.55 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Da_ch2.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Da_ch3.pdf545.05 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Da_ch4.pdf368.76 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Da_ch5.pdf497.13 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Da_back.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.