Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18940
Title: Etude des portraits dans Les memoires d'outre-tombe de Chateaubriand
Other Titles: การศึกษาลักษณะบุคคลในเรื่อง "เลเมมัวร์ดูทโตม ของ ชาโตบริยองด์
Authors: Somjai Limprapeutkul
Advisors: Reverend Pere Bonningue, A
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Chateaubriand, Francois-Rene, Vicomte de, 1768-1848. Les memoires d'outre-tombe -- Criticism and interpretation
Chateaubriand, Francois-Rene, Vicomte de, 1768-1848. Les memoires d'outre-tombe -- Characters
Issue Date: 1978
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Parmi les grands ecrivains francais, Chateaubriand se situe au premier rang. Il a compose de nombreux ouvrages litteraires; La plupart sont des creations originals, celebres aujourd’hui encore; ses lecteurs sont nombreux. Ses livres ont exerce une influence profonde sur I’ opinion francaise et sur les ecrivains qui I’ ont suivi, Les Romantiques d’ abord, et parmi eux Victor Hugo, qui, en 1816, declare: “Je veux etre Chateaubriand ou rien.” Lorsqu ‘ un grand ecrivain come Chateaubriand rassemble toutes ses experiences acquises au cours d’une vie longue et mouvementee pour les etaler dans une autobiographie brillamment ecrite comme “Les Memoires d’Outre-Tombe”, il me parait interessant d’y regarder de pres, cela m’ attire. Ce livre est-il une simple autobiographie ? Surement pas. Il depasse les limites de ce genre. Sans doute, I’ ouvrage nous permet de connaitre le portrait de Chateaubriand ecrit par lui-meme et les sentiments qu’il eprouve dans une époque tourmentee. Mais surtout il annonce déjà le mouvement romantique et nous presente les portraits de personnages importants rencontres au fil des annees. “Les Memoires d’Outre-Tombe” sont consideres par les critiques comme le chef-d’ oeuvre de Chateaubriand et le pur produit de son genie. Il y trace I’ histoire de sa vie depuis sa jeunesse jusqu’en 1841. Aux portraits de nombreux personages, s’ ajoutent des fresques consacrees a de grando evenements. Nous nous interesserons a ces freaques comme Chateaubriand lui-meme s’arretait devant ells pour y voir evoluer ses contemporains. Enfin, cette thses se borne a I’etude des portraits, de ces nombreux paragraphes ou Chateaubriand repete inlassablement “JE” etale son “moi”. En de multiples allusions a luimeme, il nous trace peut-etre de sa personnalite profonde, une ebauche plus juste et plus riche, que celle que nous livrent les etudes litteraires, biographiques ou historiques, parfois rapides et superficielles. Avec Chateaubriand, d’ autres personages interssants par leur role dans sa vie, et peints par lui ont aussi retenu notre attention, par exemple: Bonaparte, Talleyrand…Des remarques sur le style et les techniques du portrait s’y ajouteront. Original comme il est, ce sujet-I’ Etude des Portraits dans les Memoires D’Outre-Tombe – permet de connaitre plus profondement Chateaubriand. Les portraits des autres personages possedent en eux-meme leur proper interet. I1 nous apparaissent sous un nouval aspect, universel, comme Bonaparte, intimeavec I’ auteur, comme Madame Recamier.
Other Abstract: ชาโตบริยองด์เป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของวรรณคดี ฝรั่งเศส ซึ่งได้สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง และเป็นงานที่มีลักษณะความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และได้รับความนิยมมาตราบเท่าทุกงันนี้ งานเขียนของเขามีอิทธิพลต่ออนุชนรุ่นหลังตลอดจนนักประพันธ์รุ่นต่อ ๆ มาตั้งแต่พวก Romantisme รวมทั้งนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ คือ วิคตอร์ ฮูโก (Victor Hugo) ถึงกับตั้งความปรารถนาไว้เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๑๖ ว่า “ข้าพเจ้าขอเป็นชาโตบริยองด์ หริอถ้าไม่ได้ก็จะไม่ขอเป็นอะไรเลย ฉะนั้น เมื่อนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่อย่างชาโตบริยองด์ได้เขียนหนังสือที่ประมวลเอาอดีตและประสบการณ์ในชีวิตจริงของตนเองมาตีแผ่เป็นทำนองอัตชีวประวัติในหนังสือที่ชื่อว่า “เลเมมัวร์ดูทเทรอโตม” (Les Memoires d’Outre-Tombe) จึงเป็นที่น่าสนใจ และน่าศึกษาอย่างยิ่ง หนังสือดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงอัตชีวประวัติธรรมดา แต่มีคุณค่ามากกว่านั้น ผู้อ่านจะได้รู้จักตัวผู้เขียนจากลักษณะที่ชาโตบริยองด์เขียนถึงตัวเองจากหนังสือเล่มนี้ การใส่อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งบางแง่เป็นแนวอิทธิพลแก่นักประพันธ์ด้าน Romantisme(ความรู้สึกที่แสดงออกถึงอารมณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะความเปล่าเปลี่ยว ฯลฯ) การบรรยายสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรยายลักษณะบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวชาโตบริยองด์เองซึ่งเขาแสดงความคิดในการวิจารณ์ได้อย่างน่าทึ่งและน่าศึกษา หนังสือเรื่อง “เลเมมัวร์ดูทเทรอโตม” (Les Memoires d’Outre-Tombe) ได้รับการวิจารณ์ว่า เป็นงานประพันธ์ชิ้นเอกของชาโตบริยองด์ที่แสดงถึงคสามสามารถทางการเขียนอย่างแท้จริงของผู้ประพันธ์ ชาโตบริยองด์เขียนอัตชีวประวัติเล่มนี้ได้สมบูรณ์ที่สุดโดยเรียบเรียงเรื่องไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึง ค.ศ. ๑๘๔๑ ในหนังสือเรื่องนี้ นอกจากจะกล่าวถึงตัวเองแล้วยังได้กล่าวถึงบุคคลต่าง ๆ ซึ่งน่าสนใจและเหตุการณ์ด้านประวัติศาสตร์บางตอน แต่เราจะไม่ศึกษาหรือวิจารณ์ความถูกต้องแม่นยำทางด้านประวัติศาสตร์ นอกจากจะอ้างอิงถึงบ้างเมื่อเหตุการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับการศึกษาลักษณะบุคคลเท่านั้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จะมุ่งศึกษาลักษณะบุคคลที่น่าสนใจและควรแก่การศึกษาซึ่งเป็นจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ โดยจะเน้นความสำคัญไปที่ตัว “JE” (ข้าพเจ้า) ซึ่งเป็นผู้เดินเรื่องคือตัวชาโตบริยองด์ผู้เขียนเอง โดยจะรวบรวมเอาลักษณะต่าง ๆ ที่ประมวลได้จากเรื่องนี้ทำให้เราได้รู้จักภาพตัวชาโตบริยองด์ ซึ่งเขียนโดยชาโตบริยองด์เอง (portrait de Chateaubriand per lui-meme) ซึ่งแตกต่างไปจากชาโตบริยองด์ที่เรารู้จักในงานเขียนของนักประพันธ์อื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติวรรณคดีต่าง ๆ ในขณะเดียวกันเราจะเลือกศึกษาลักษณะภาพบุคคลที่สำคัญอื่น ๆ ในเรื่องที่น่าสนใจ และเข้ามาเกี่ยวข้องในแวดวงชีวิตของเขา หรือบุคคลร่วมสมัยซึ่งชาโตบริยองด์ได้กล่าวพาดพิงถึงและบรรยายไว้เช่น จักรพรรดิ์นโปเลียนมหาราช นอกจากนี้เราก็จะวิเคราะห์ลักษณะการเขียนลักษณะบุคคลของชาโตบริยองด์ในเรื่องนี้ด้วย การศึกษาลักษณะบุคคลในเรื่อง เลเมมัวร์ดูทเทรอโตม” (Les Memoires d’Outre-Tombe) ของชาโตบริยองด์นี้ เป็นเรื่องใหม่และจะเป็นประโยชน์ เนื่องจากจะเป็นแนวทางแนะนำให้รู้จักตัวของชาโตบริยองด์ได้อย่างดีอันจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์อิทธิพลของชีวิตของเขาที่มีต่อผลงานชิ้นอื่น ๆ ได้ ในส่วนที่วิทยานิพนธ์เรื่องนี้กล่าวถึงบุคคลอื่น ๆ ที่สำคัญ ๆ น่าสนใจซึ่งอยู่รอบตัวของชาโตบริยองด์และเขากล่าวพาดพิงถึง ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ให้เราจะได้ภาพบุคคลเหล่านั้นในอีกแง่หนึ่ง ต่างจากที่เรารู้จักจากหนังสือเรื่องอื่น ๆ เช่น จักรพรรดิ์นโปเลียนมหาราช ซึ่งมีนามกระเดื่องรู้จักดีทั่วโลก หรือมิตรสนิทของผู้เขียน เช่น มาดามเรดามีเยร์ (Madame Recamier) เป็นต้น กล่าวโดยสรุปแล้ว วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จะนำมาซึ่งประโยชน์ไม่น้อยทีเดียวแก่การศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศสต่อไป
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University,1978
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: French
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18940
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somjai_Li_front.pdf752.25 kBAdobe PDFView/Open
Somjai_Li_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Somjai_Li_ch2.pdf686.42 kBAdobe PDFView/Open
Somjai_Li_ch3.pdf563.9 kBAdobe PDFView/Open
Somjai_Li_ch4.pdf934.23 kBAdobe PDFView/Open
Somjai_Li_back.pdf313.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.