Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19134
Title: คาร์ล ปอปเปอร์ กับการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจตจำนงเสรี กับลัทธิเหตุวิสัย
Other Titles: Karl Popper and the solution of the problem of imcompatibility between free will and determinism
Authors: สุนัย ครองยุทธ
Advisors: วิทย์ วิศทเวทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปอปเปอร์, คาร์ล
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาว่าในทัศนะของ คาร์ล ปอปเปอร์ ความคิดเรื่องเจตจำนงเสรีขัดแย้งกับลัทธิเหตุวิสัยอย่างไร ปอปเปอร์ เสนอวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้อย่างไร จากข้อเสนอของเขานั้นเขาสามารถแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ ผลของการวิจัยทำให้ทราบว่าในทัศนะของปอปเปอร์ ลัทธิเหตุวิสัยที่ขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีหรือเสรีภาพของมนุษย์นั้น คือ ลัทธิเหตุวิสัยทางกายภาพเท่านั้น ลัทธินี้มีคำสอนที่แสดงถึงความแน่นอน เป็นระบบตายตัว สามารถทดสอบความผิดของมันได้ แต่ลัทธิเหตุวิสัยที่นักปรัชญา หรือนักจิตวิทยาส่วนใหญ่ นำมาถกเถียงกันนั้น ปอปเปอร์ถือเป็นคำสอนที่คลุมเครือมากจนไม่สามารถจะทดสอบความผิดของมันได้ และยังเข้ากันได้กับลัทธิอเหตุวิสัยทางกายภาพ ที่ถือว่าขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงกับลัทธิเหตุวิสัยทางกายภาพอีกด้วย ปอปเปอร์ เรียกลัทธิเหตุวิสัยแบบนี้ว่า ลัทธิเหตุวิสัยทางปรัชญา หรือ ทางจิตวิทยา และเสนอว่าไม่ความนำมากถกเถียงกัน เมื่อพูดถึงความขัดแย้งระหว่างลัทธิเหตุวิสัยกับเจตจำนงเสรี หรือเสรีภาพของมนุษย์ ปัญหาที่ต้องนำมาพิจารณาก็คือปัญหาของลัทธิเหตุวิสัยทางกายภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปอปเปอร์ กล่าวว่า ลัทธิเหตุวิสัยทางกายภาพองก็อธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ได้ในบางระดับเท่านั้น เหตุการณ์บางอย่างลัทธิเหตุวิสัยทางกายภาพไม่อาจจะอธิบายให้เป็นที่น่าพอใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจด้วยการพิจารณาไตร่ตรอง หรือการกระทำที่มีเหตุผลของมนุษย์ การอธิบายพฤติกรรมเหล่านี้ของมนุษย์ ปอปเปอร์ อาศัยทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นหลัก โดนเน้นว่า มนุษย์พัฒนาวิธีแก้ปัญหาของตนมาเรื่อยๆ จนทำให้การแก้ปัญหาของมนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ สิ่งสำคัญที่ทำให้การแก้ปัญหาของมนุษย์ต่างจากสัตว์ คือ ความสามารถในการใช้ภาษาในเชิงบรรยายและภาษาเชิงอ้างเหตุผล ซึ่งทำให้มนุษย์ก้าวหน้าไปกว่าสัตว์อย่างรวดเร็ว มนุษย์สามารถจะพิจารณาไตรตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจกระทำพฤติกรรมใดๆลงไป การกระทำที่เกิดจากการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ถือว่า เป็นการกระทำที่มีเหตุผลและการใช้เหตุผลเช่นนี้ ก็คือการใช้เสรีภาพในการเลือกกระทำพฤติกรรมต่างๆ นั่นเอง เสรีภาพในแง่นี้จึงเป็นเสรีภาพที่มีขอบเขต คืออยู่ในขอบเขตของความสมเหตุสมผล และความเป็นจริง จากการวิจัยนี้พอสรุปได้ว่า ปอปเปอร์ แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างลัทธิเหตุวิสัยกับเจตจำนงเสรี โดยชี้ให้เห็นว่า ลัทธิเหตุวิสัยทางกายภาพใช้อธิบายเรื่องเสรีภาพของมนุษย์ไม่ได้ การกระทำที่เป็นไปตามเสรีภาพของมนุษย์นั้นต้องอธิบายโดยอาศัยทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่ลัทธิเหตุวิสัยก็ยังเป็นสิ่งที่ใช้ได้ในบางระดับ ฉะนั้นเสรีภาพของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง มนุษย์สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆ ได้ด้วยเหตุผลของตนเอง จากการอธิบายแบบนี้เราอาจจะกล่าวได้ว่า ปอปเปอร์ สามารถแก้ปัญหาได้จริง ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อจากนี้คือ อาจจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฏีความรู้ กับทฤษฎีวิวัฒนาการของปอปเปอร์ ถ้าเราเข้าใจทฤษฎีทั้งสองนี้ของเขาอย่างดีแล้ว จะทำให้เราเข้าใจทัศนะของเขาเกี่ยวกับโลก ชีวิต และมนุษย์ ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ก็คือความเข้าใจในระบบปรัชญาของเขาทั้งระบบนั่นเอง
Other Abstract: The purpose of this research is to study hoe is the problem of incompatibility between free will and determinism in Karl Popper’s view-point together with his proposal in solving this problem and whether can popper satisfactorily solve the problem by his proposal or not . The result of the research exposed that for Popper, the determinism which is incompatible with free will or freedom of man is the so called physical determinism. The thesis of physical determinism is so consistent that it can be predictable to be false. But the thesis of determinism which is discussed by most philosophers or psychologists is so very vague that it is not falsifiable and perfectly compatible with is discussed by most philosophers or psychologists is so very vague that it is not falsifiable and perfectly compatible with physical indeterminism which is held to be diametrically opposite to physical determinism. Popper calls this kind of determinism a philosophical or psychological determinism. And he proposed that this should not be taken into consideration while discussing about the problem of incompatibility between determinism and free will or freedom of man. What has to be considered is the problem of physical determinism. However, Popper said that physical determinism can be used to explain the events to a certain degree. The thesis of determinism cannot be used to satisfactorily explain some events, especially the deliberate decisions or the rational actions of man. To explain these human actions, Popper proposed to exert the new evolution theory. He stressed on the point that man has developed the method of problem-solving continually, so that it is perfectly different from the animal’s. The main point in solving problem which makes man very different from animal is ability to use language as the descriptive and argumentative language. With this ability, man is more quickly progressive than animal. Man can consider carefully and deliberately before making decision. The deliberate action of man is the so called the rational action and to act upon rationality is to act upon freedom. So, in this sense, the freedom is limited in some aspect-the aspect of validity and truth. According it this research, we may conclude that Popper solved the problem by pointing out that physical determinism cannot explain the freedom of man. For the free action of man, we have to explain by the new theory of evolution. Physical determinism can be used to a certain degree. It is said that the freedom of man really exists. A man can act freely upon his reason or deliberation. With this explanation, we may say that popper really succeeds in solving the problem. The suggestion for further research given here is that the relationship between Popper’s theory of knowledge and his theory of evolution should be earnestly studied. If we clearly understand his theory of knowledge and theory of evolution, we also understand his view-point about the world, life, and human-beings, that is to say, we understand his philosophical system thoroughly.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19134
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunai_Kr_front.pdf440.19 kBAdobe PDFView/Open
Sunai_Kr_ch1.pdf266.56 kBAdobe PDFView/Open
Sunai_Kr_ch2.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sunai_Kr_ch3.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sunai_Kr_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Sunai_Kr_ch5.pdf473.04 kBAdobe PDFView/Open
Sunai_Kr_back.pdf277.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.