Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19153
Title: การแสดงโขนชักรอกของคณะโขนหลวงราชพงษ์
Other Titles: The Thai classical masked drama on string of the troupe of Luang Ratchaphong
Authors: ประพัฒน์พงศ์ ภูวธน
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta.V@Chula.ac.th
Subjects: ราชพงศ์ภักดี (ม.ร.ว. ราชวงศ์เลี่ยม วัชรีวงศ์), หลวง, 2431-2490
คณะโขนหลวงราชพงศ์
โขน
โขนชักรอก
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะการแสดงโขนชักรอกของคณะโขนหลวงราชพงศ์ โดย หลวงราชพงศ์ภักดี (หม่อมราชวงศ์เลี่ยม วัชรีวงศ์) และเพื่อวิเคราะห์การสืบทอดและลักษณะการแสดงโขนชักรอกของคณะโขนหลวงราชพงศ์ในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า การแสดงโขนชักรอกของคณะโขนหลวงราชพงศ์ ก่อตั้งโดย หลวงราชพงศ์ภักดี (หม่อมราชวงศ์เลี่ยม วัชรีวงศ์) เมื่อ พุทธศักราช 2470 เพื่อดำเนินรอยตามบรรพบุรุษแห่งราชสกุลวัชรีวงศ์ ด้วยการรวบรวมนักเรียนโรงเรียนพรานหลวง กรมมหรสพ และผู้แสดงคณะเจ้าขาวของบิดา คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ มาร่วมกันจัดการแสดงโขน จนต่อมามีชื่อเสียงในการจัดการแสดงโขนชักรอกเป็นอย่างมาก คณะโขนหลวงราชพงศ์จัดการแสดงโขนในรูปแบบของโขนหน้าจอ โขนชักรอก และโขนหน้าไฟ ผู้แสดงในระยะแรกมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนโรงเรียนพรานหลวง กับกลุ่มคณะเจ้าขาว ระยะหลังมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มราชการซึ่งดำเนินการโดยกรมศิลปากร และกลุ่มเอกชน การฝึกซ้อม เป็นฝึกหัดการแสดงโขนตามหลักสูตรของโรงเรียนนาฏศิลป และการฝึกหัดตามบ้านของครูแต่ละท่าน วิธีการแสดง ผู้แสดงจะทราบบทบาทของตัวละครในการแสดงตอนต่างๆ ที่จะต้องแสดง เมื่อไปถึงสถานที่แสดงหรือก่อนจะแต่งตัวเท่านั้น การจัดการแสดงโขนเป็นไปตามแบบแผนของการแสดงโขนที่มีมาแต่โบราณทุกประการ เครื่องแต่งกายและหัวโขน ได้รับเครื่องแต่งกายและหัวโขนมาจากคณะละครเจ้าขาว อีกทั้งมีการสร้างเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้นด้วย ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์ที่ร่วมแสดง ได้แก่ คณะกาหลง คณะจงกล คณะคลองบางใหญ่ เป็นต้น โอกาสและสถานที่แสดง จัดการแสดงโขนเนื่องในงานมงคลและงานอวมงคล สถานที่แสดงส่วนใหญ่จะเป็นวัดหรือลานกว้าง โขนคณะนี้เดินทางไปแสดงตามจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศไทย การสืบทอดและลักษณะการแสดงในปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2490 หลังจากที่หลวงราชพงศ์ภักดีถึงแก่กรรม หม่อมราชวงศ์แส วัชรีวงศ์ ผู้เป็นน้องสาวได้ดำเนินกิจการคณะโขนหลวงราชพงศ์ต่อมา จนกระทั่งท่านชราภาพจึงได้เลิกล้มไป เมื่อ พุทธศักราช 2515 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับคณะโขนหลวงราชพงศ์หลายท่านได้เข้ารับราชการในกรมศิลปากร บางส่วนตั้งเป็นคณะโขนศิษย์ครูหยัด (เหลา) จัดการแสดงโขนโดยครูวีระ มีเหมือน งานวิจัยฉบับนี้เป็นแนวทางในการศึกษา การจัดการแสดงนาฏยศิลป์ไทยของคณะโขนและละครรำในอดีต จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการการรวบรวมองค์ความรู้ทางนาฏยศิลป์ไทยประเภทหนึ่ง
Other Abstract: To study the history and performance of the Thai classical masked drama on string of the troupe of Luang Ratchaphongphakdi (M.R. Liam Watchariwang) and to analyze the teaching and performing techniques of the present masked dance by this troupe. The study found that the Thai classical masked drama on string of the troupe was initiated by Ratchaphongphakdi (M.R. Liam Watchariwang) in 1927 (B.E. 2470) to follow his ancestor’s wish. At frist, performers were selected from Rong Rien Pren Lung (Pran Lung School), the Department of Performing Arts (or Krom Mahorasop), and a former “Chao Khao” dance troupe which belonged to his father, His Royal Highness Prince Watchariwang. Khon Ratchaphong Troupe had been a well-known dance troupe nationwide for the techniques used during the masked dancing which was to perform some parts of the dance on string. Lung Ratchaphong Troupe had performed varieties of the Khon (masked dance) including Khon Nah Jor (masked drama on stage of the shadow play), Khon Chak Rok (masked drama on string), and Khon Nah Fai (masked drama at the cremation). At the beginning, there were 2 groups of dancers from Rong Rien Pran Luang and Chao Khao Troupe. Later, there were only dancers from the Fine Art Department (or Kromsilpakorn, the present name) and individuals. The training was as some as the training at theCollege of Dramatic Arts. Some dancers also had extra-hours at their dance teachers’ places. The performance was very astonishing because the dancers would be informed which role and scripts to play on the date of performance. The details of dance preparation were in accordance with the formal masked dance drama at the court. The masks and costumes were handed down from Chao Khao Troupe, though some new ones were provided. The Thai classical ensemble or ‘Pipat’ was used during the performance. Many Pipat troupes that had performed for Khon Luang Ratchaphong were namely Ka-Long, Jong-Kol, Bang-Yai, etc. Themasked drama of Lung Ratchaphong performed nationwide for many auspicious ceremonies and misfortunes mainly at temple ground. After the death of Lung Ratchaphong in 1947 (B.E. 2490), M.R.Sae Watchariwang, his younger sister, inherited the dance troupe until her destination. In 1973 (B.E. 2515), many former dancers of Lung Ratchaphong Troupe had been in service for the Royal Thai Government by working at the Fine Arts Departmant. Some who wished to have their own dance troupes were also found. The Sit Kru Yaad (Lao) Masked Drama Troupe led by Kru Wira Mimuean is one of them. This study, thus, provides an insight into the study, preparation, and performance of masked drama in the past which would be benefit for those who are in the knowledge of Thai classical dance
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19153
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1994
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1994
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praphatphong_ph.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.