Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1935
Title: ประสบการณ์ความเศร้าโศกของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสภายหลังการเสียชีวิิของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อม
Other Titles: Grief experiences of spouse caregiveres after the death of older people with dementia
Authors: จริยา ชำรัมย์, 2518-
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Subjects: ความเศร้า
ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ
ภาวะสมองเสื่อม
ความตาย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหมายและประสบการณ์ความเศร้าโศกของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสภายหลังการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl ผู้ให้ข้อมูลหลักในกาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสภายหลังการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมที่อาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกบันทึกเทปและนำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการตาม Colaizzi ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลได้ให้ความหมายของความเศร้าโศกของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสภายหลังการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 นัยยะ ด้วยกันคือ 1) ความเศร้าโศกมีผลต่อจิตใจ 2) ความเศร้าโศกที่มีผลต่อร่างกาย และพบประสบการณ์ความเศร้าโศกแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับตัว ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ ระยะก่อนการสูญเสีย ระยะแรกเมื่อมีการสูญเสียและ ระยะหลังผ่านความเศร้าโศก และ 2) การสูญเสียรายได้ ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้มองเห็นและเข้าใจประสบการณ์ความเศร้าโศกของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสภายหลังการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น สามารถใช้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม เกิดความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ภายหลังการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมได้อย่างแท้จริง ตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการบริหารพยาบาล ด้านการปฏิบัติการพยาบาล และด้านการวิจัยทางการพยาบาล
Other Abstract: The purpose of the study was to explore the meaning of grief and grief experiences of the spouse caregivers after the death of older people with dementia. A qualitative research method of Husserl phenomenology was applied in this study. The key informants were 10 Thai spouse caregivers who live in Bangkok and Metropolis. Data were collected by indepth-interview with tape recorded and then verbatim transcription. The Colaizzi method were used for data analysis. The findings revealed that the meaning of grief could e divided in to two major themes; 1) grief was psychological changed and 2) grief was physiological changed. The major theme of grief experiences could be divided into two major themes; 1) adaptation: before than loss, frist period of lose and after the loss and 2) lose of income. The study findings provided the understanding of meaning of grief and grief experience of spouse caregivers after the death of older people with dementia. These would be useful in improving holistic nursing care and responding to the need of spouse caregivers within the Thai social and culture context in addition, this study would be also useful for application for nursing adminstration, nursing practice, and nursing research.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1935
ISBN: 9741763581
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jariya.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.