Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19364
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorใจทิพย์ ณ สงขลา-
dc.contributor.advisorปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ-
dc.contributor.authorสรญา สาระสุภาพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-01T13:35:23Z-
dc.date.available2012-05-01T13:35:23Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19364-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อสร้างเสริมความตระหนักระหว่างวัฒนธรรมของผู้เรียนภาษาต่างประเทศ เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนาโดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างต้นแบบรูปแบบและสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับต้นแบบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้งานรูปแบบกับผู้เรียนภาษาต่างประเทศจำนวน 36 คนในรายวิชาการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจเป็นระยะเวลา16 สัปดาห์ และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ เว็บไซต์การเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์และแบบวัดความตระหนักระหว่างวัฒนธรรมของผู้เรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) ระบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) เครื่องมือสื่อสารและทำงานร่วมกัน 3) บริบทการเรียนตามสภาพจริง 4) กิจกรรมการเรียน 5) เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งการเรียนรู้ 6) บทบาทผู้เรียนและผู้ดำเนินการเรียน 7) การสนับสนุนผู้เรียน และ 8) การประเมินตามสภาพจริง และ 2 เงื่อนไขของรูปแบบ คือ 1) การจูงใจ และ 2) การปฏิสัมพันธ์ 2. รูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) เชื่อมโยงเชื่อมใจ 2) เปิดใจเปิดมุมมอง 3) มีส่วนร่วม สืบเสาะซักถาม 4) เปรียบเทียบเจรจา แก้ไขปัญหา และ 5) สะท้อนและแบ่งปัน 3. รูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ประกอบด้วย 4 กระบวนการเรียนย่อย คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) แสวงหาข้อมูลและระดมความคิด 3) ร่วมมือสร้างสรรค์ผลงาน และ 4) ติชมแก้ไขปรับปรุง 4.กลุ่มตัวอย่างที่เรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนความตระหนักระหว่างวัฒนธรรมหลังเรียนสูงกว่าการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to develop an online social network learning model utilizing situated learning theory for enhancing intercultural awareness of foreign language learners. The research and development (R&D) process was divided into 4 phrases: 1) study, analyze, and synthesize related researches and documents, and develop the prototype of social network leaning model. Subsequently, interview the experts’ opinions concerning the prototype model; 2) develop an online social network learning model and research instruments; 3) study the effects of the model on 36 foreign language learners in business writing subject for 16 weeks; and 4) propose the online social network learning model. The instruments used in this research consisted of Social network leaning website and Intercultural awareness evaluation form. Quantitative statistics used in this study were frequency distributions, percentage, mean, standard deviation, and t-test Dependent. The research findings indicated that: 1. The online social network learning model consisted of 8 components: 1) social network learning system; 2) collaborations and communication tools; 3) authentic learning context; 4) learning activities; 5) learning content, media and resources; 6) roles of learners and mentors; 7) learners support; and 8) authentic assessment. And 2 conditions of the model are 1) motivation; and 2) socialization. 2. The online social network learning model consisted of 5 steps: 1) connecting and associating; 2) exploring and sharing; 3) participating and questioning; 4) comparing and negotiating; and 5) contributing. 3. The online social network learning model consisted of 4 sub-leaning processes: 1) study situation; 2) brainstorming and gathering information; 3) producing artifacts; and 4) commenting and adjusting. 4. There were significant differences between learners’ posttest and posttest intercultural awareness scores at .05 level.en
dc.format.extent5861560 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถานการณ์จำลอง (การสอน)-
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบเครือข่ายสังคมผ่านระบบออนไลน์ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพือเสริมสร้างความตระหนักระหว่างวัฒนธรรมของผู้เรียนภาษาต่างประเทศen
dc.title.alternativeDevelopment of an online social network learning model utilizing situated learning theory to enhance intercultual awareness of foreign language learnersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJaitip.N@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPraweenya.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soraya_sa.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.