Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19411
Title: การศึกษาคำเรียกสัมผัสและคำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับสัมผัสในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
Other Titles: An ethnosemantic study of haptic terms and terms expressing attitudes to touch in Thai
Authors: กัณฑิมา รักวงษ์วาน
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Amara.Pr@Chula.ac.th
Subjects: อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
ภาษาไทย -- หน่วยคำ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สัมผัสเป็นการรับรู้พื้นฐาน สัมผัสแต่ละชนิดต้องมีคำเรียก แต่จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าผลงานเกี่ยวกับสัมผัสส่วนใหญ่เป็นด้านวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีงานวิจัยใดเลยที่วิเคราะห์คำเรียกสัมผัสอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในภาษาไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกคำเกี่ยวกับสัมผัสในภาษาไทย และวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายของคำเรียกสัมผัสพื้นฐาน กลวิธีการสร้างคำเรียกสัมผัสไม่พื้นฐาน และคำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับสัมผัส ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการรวบรวมคำเกี่ยวกับสัมผัสจากพจนานุกรมและนวนิยาย จากการให้ผู้บอกภาษา 50 คน เขียนคำเกี่ยวกับสัมผัส และจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาอีกกลุ่ม จำนวน 20 คน โดยให้สัมผัสสิ่งของแล้วให้ระบุคำที่บรรยายการรับรู้และทัศนคติ ผลการวิเคราะห์พบว่าคำเรียกสัมผัสพื้นฐานในภาษาไทยมีทั้งสิ้น 25 คำ ได้แก่ ขรุขระ ตะปุ่มตะป่ำ หรือ ปุ่มป่ำ เรียบ สาก ลื่น ฝืด หยาบ ละเอียด แข็ง นิ่ม นุ่ม กรอบ เปราะ หยุ่น เหลว เละ เหนียว เย็น อุ่น ร้อน เปียก หมาด ชื้น และ แห้ง และคำเหล่านี้เป็นตัวแทนของประเภทสัมผัสพื้นฐานในภาษาไทย 24 ประเภท ซึ่งจากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าคำเหล่านี้แตกต่างกันใน 4 มิติหลัก ได้แก่ 1) เนื้อสาร ซึ่งแบ่งเป็น10 มิติย่อย คือการเป็นของแข็ง การยุบตัว การคืนตัว การคืนตัวเร็ว ความแน่น ความเหนอะ การแตกง่าย การแตกเป็นหลายชิ้น การมีชิ้นเนื้อ การเป็นเนื้อสารขนาดใหญ่ 2) พื้นผิว ซึ่งแบ่งเป็นความเสมอของพื้นผิว ความเป็นปุ่มนูน และความเสียดทาน 3) ความเปียก และ 4) อุณหภูมิ จากการวิเคราะห์โครงสร้างของคำเรียกสัมผัสไม่พื้นฐานในภาษาไทยพบว่า ผู้พูดภาษาไทยมีกลวิธีในการสร้างคำเรียกสัมผัสไม่พื้นฐานทั้งหมด 7 กลวิธีใหญ่ ได้แก่ 1) กลวิธีการซ้ำคำ เช่น นิ่มๆ ลื้นลื่น 2) กลวิธีการประสมคำเรียกสัมผัส 2 คำเข้าด้วยกัน เช่น นุ่มนิ่ม เรียบเนียน เนียนลื่นชุ่มโชก 3) กลวิธีการประสมคำเรียกสัมผัสกับคำขยาย เช่น นิ่มป๋อย ร้อนวูบ เรียบเกลี้ยง 4) กลวิธีการใช้คำเรียกวัตถุเฉพาะ เช่น เหมือนกำมะหยี่ คล้ายวุ้น 5) กลวิธีการใช้ศัพท์เดี่ยว เช่น แฉะ 6) กลวิธีการใช้คำว่า ค่อนข้าง กับคำเรียกสัมผัสพื้นฐาน เช่น ค่อนข้างสาก และ 7) กลวิธีการใช้คำว่า ออก กับคำเรียกสัมผัสพื้นฐาน เช่น ออกสาก ผลการวิเคราะห์คำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับสัมผัสในภาษาไทยพบว่าผู้พูดภาษาไทยใช้คำแสดงทัศนคติทางบวก เช่น สบาย สนุกดี แข็งแรง ไม่อันตราย และ สะอาด คำแสดงทัศนคติทางลบ เช่น ไม่สบาย ขยะแขยง ไม่ดี ไม่แข็งแรง สกปรก รำคาญ และ อันตราย และ คำแสดงทัศนคติที่มีความหมายเป็นกลาง เช่น เฉยๆ และ ธรรมดา ส่วนประเภทสัมผัสที่คนชอบมากที่สุด คือ นุ่ม และประเภทสัมผัสที่คนไม่ชอบมากที่สุด คือ เละ ผลการศึกษาคำเรียกสัมผัสในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ทำให้เห็นว่าการวิเคราะห์แนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการแสดงให้เห็นระบบความคิดของคนไทยในการจัดประเภทการรับรู้พื้นฐาน คือ ทำให้เห็นระบบการรับรู้ทางสัมผัสของคนไทยที่สะท้อนในภาษาไทย ซึ่งอาจต่างจากระบบการรับรู้ทางสัมผัสของคนที่พูดภาษาอื่น
Other Abstract: Touch is a basic sense of perception. A review of literature shows that most studies on touch or haptic perception are in physical science or psychology. There has been no study of haptic terms used by lay persons, especially in Thai. The objectives of this study are twofold: 1) to classify terms concerning touch in Thai. 2) to analyze the semantic components of basic haptic terms, linguistic strategies in forming non basic haptic terms, and the meanings of terms expressing attitude toward touch in Thai. The data used in this study was taken from two dictionaries, and ten purposively selected novels in Thai, from a group of fifty Thai informants by having them write as many as possible terms concerning touch, and from another group of twenty informants by letting them identify and describe various kinds of objects they were asked to touch. The results of the study show that in Thai there are twenty-five basic haptic terms representing twenty-four basic haptic categories: khrukhra ‘rugged’, tapumtapam or pumpam ‘knobby’, riap ‘smooth’, sa:k ‘rough’, li:n ‘slippery’, phi:t ‘not smooth’, ya:p ‘not fine’, la?iat ‘fine’, kh[epsilon]:[eta] ‘hard’, nim ‘soft’, num ‘very soft’, krc:p ‘crisp’, prc‘fragile’, yun ‘elastic’, le:w ‘liquid’, le ‘mushy’, niaw ‘sticky’, yen ‘cool’, ?un ‘lukewarm’, rc:n ‘hot’, piak ‘wet’, ma:t ‘almost dry’, chi:n ‘moist’, and h[epsilon]:[eta] ‘dry’. The meanings of all these basic haptic terms are differentiated by four major dimensions of contrast: 1) substance, which is identified by solidness, softness, bouncing, springing back quickly, density, stickiness, breakability, breaking into small pieces, consisting of pieces, and largeness 2) surface divided into smoothness, knobbiness, and frictionness. 3) wetness and 4) temperature. The analysis of non-basic haptic terms reveals that seven main strategies are used in the formation of these words: 1) reduplication of haptic terms with or without tone modification, 2) combining two haptic terms, 3) combining one haptic term with a modifier, 4) using the names of specific objects as haptic terms, 5) using monolexemic words, 6) using khc:nkha:[eta] ‘rather’ with haptic term, and 7) using ?c:k ‘out’ with haptic term. The analysis of terms expressing attitude toward touch indicates that they are classified into three groups according to the meanings: positive, negative and neutral terms. The positive category signifies the sense of comfortable, enjoyable, good, strong, safe, and clean. The negative category signifies uncomfortable, disgusted, not good, weak, dirty, unpleasant, and dangerous, and the neutral category has the sense of indifferent, and simple. Regarding desirable and undesirable haptic categories, the most favorite haptic category is num ‘very soft’ while the least favorite haptic category is le ‘mushy’. The findings of this study show that the ethnosemantic approach used in the analysis was very effective in revealing the distinctive system of perception of touch reflected in Thai, which may be different from that reflected in other languages.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19411
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.443
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.443
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantima.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.