Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19486
Title: Effect of acanthus ebracteatus vahl. extract in combination with collagen scaffold on angiogenesis and wound closure in mice skin model
Other Titles: ผลของสารสกัดเหงือกปลาหมอดอกขาวร่วมกับคอลลาเจนสแคฟโฟลด์ต่อการเกิดหลอดเลือดใหม่และการปิดของแผลในโมเดลผิวหนังของหนูไมซ์
Authors: Jutamard Somchaichana
Advisors: Suthiluk Patumraj
Niimi, Hideyuki
Tanom Bunaprasert
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Suthiluk.P@Chula.ac.th
Hideyuki.N@Chula.ac.th
Tanom.B@Chula.ac.th
Subjects: Wounds and injuries
Wound healing
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research was to study the effects of Acanthus ebracteatus Vahl. (AE) extract on the efficacy of collagen scaffold for wound healing. Balb/c mice (22-25 g) were used for this study. Animals were anesthetized with sodium thiopental (20µg/ml, intraperitoneally). The dorsal skin was cut with 1.5×1.5 cm2 size, in order to develop a full-thickness wound. Wounded animals were divided into 8 groups: wound treated with normal saline (W+NSS), wound treated with AE, 0.03, 0.3 and 3 g/kg bw, (W+AE0.03, W+AE0.3, and W+AE3), wound implanted with bovine collagen scaffold (W+Coll), and W+Coll treated with AE at 3 doses (W+Coll+AE0.03, W+Coll+AE0.3, and W+ Coll+AE3). On day 3, 7 and 14 post-wound-operation, the wound area was measured using Digital Image analysis (Image Pro-Plus, Media Cybernetics, Inc). On day 3, the number of neutrophil infiltration was counted using H&E staining. On day 7 and 14, the angiogenesis in the wound area of each group was examined using intravital fluorescence microscopy and represented by percentage of capillary vascularity (%CV). The re-epithelialization and the level of VEGF were analyzed from wound tissue samples using H&E staining and ELISA, respectively. The results showed that: 1) number of neutrophil infiltration in W+Coll group increased significantly as compared to W+NSS (p=0.03), but in W+Coll+AE0.3, it decreased significantly as compared to W+Coll (p=0.02). 2) On day 14, the wound closure of all groups increased significantly as compared to W+NSS. 3) Re-epithelialization in W+AE0.03 and W+Coll+AE0.3 increased significantly as compared to W+NSS (p=0.05). 4) In W+AE0.03 and W+Coll+AE0.3, the % CV increased significantly as compared to W+NSS (p=0.001, p=0.03). 5) On day 7, VEGF level increased in W+Coll+AE0.3, significantly as compared to W+Coll (p=0.01). The combined treatment of Acanthus ebracteatus Vahl. extract (0.3 g/kg bw) with bovine collagen scaffold has shown the most benefit effects on wound management, which were attributed through the reduction of neutrophil infiltration, enhanced re-epithelialization and neocapillarization, and finally lead to rapid wound closure.
Other Abstract: ศึกษาผลของสารสกัดเหงือกปลาหมอที่ใช้ร่วมกับคอลลาเจนสแคฟโฟด์ในการหายของแผล โดยนำหนูไมซ์ชนิด Balb/c mice (น้ำหนัก: 22-25 กรัม) ทำการสลบด้วย sodium thiopental และทำให้เกิดบาดแผลชนิด full thickness wound ด้วยการใช้กรรไกรตัดผิวหนังบริเวณด้านหลังเป็นขนาด 1.5×1.5 ตารางเซนติเมตร จากนั้นทำการปลูกถ่าย collagen sheet ที่บริเวณแผล สัตว์ทดลองจะถูกแยกออกเป็น 9 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ทำให้เกิดแผลและกลุ่มที่มีแผลซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยคือกลุ่มที่ให้น้ำเกลือ กลุ่มที่ได้รับการทาสารสกัดเหงือกปลาหมอในที่แผลปริมาณ 0.03, 0.3 และ 3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว กลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์เพียงอย่างเดียว และกลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ร่วมกับสารสกัดเหงือกปลาหมอปริมาณ 0.03, 0.3 และ 3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ในวันที่ 3, 7 และ 14 หลังการเกิดแผลทำการวัดพื้นที่แผลด้วยโปรแกรม Image Pro-Plus วันที่ 3 จะทำการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อย้อม H&E ดูการบุกรุกของนิวโทรฟิวล์ทำการตรวจหาการเกิดหลอดเลือดใหม่ด้วย intravital fluorescence microscopy และวัดปริมาณหลอดเลือดฝอยในวันที่ 7 และ 14 นำชิ้นเนื้อตัวอย่างไปย้อม H&E ดูการเกิดของ re-epithelialization และตรวจหาปริมาณของVEGF โดยการทำ ELISA ผลการทดลองพบว่า 1) กลุ่มที่ทำการปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์นั้น มีการบุกรุกของนิวโทรฟิวล์ที่มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้น้ำเกลือ (p=0.03) แต่ในกลุ่มที่รับการปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ร่วมกับการให้สารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว พบว่ามีการลดลงของปริมาณนิวโทรฟิวล์ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทำการปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ (p=0.02) 2) ในวันที่ 14 แผลของกลุ่มที่ทำการให้การรักษาทุกกลุ่มมีมีการเพิ่มขึ้นของการปิดของแผลเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้น้ำเกลืออย่างมีนัยสำคัญ 3) การเกิด re-epithelialization ในกลุ่มที่ทาสารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.03 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว และกลุ่มที่ปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ร่วมกับการทาสารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว มีการเพิ่มขึ้นของการเกิด re-epithelialization อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้น้ำเกลือ (p=0.05, p=0.05, ตามลำดับ) 4) กลุ่มที่ทาสารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.03 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวและปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ร่วมกับการทาสารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของการเกิดหลอดเลือดใหม่อย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มที่ให้น้ำเกลือในวันที่ 7 5) การวัดปริมาณของ VEGF พบว่ากลุ่มที่ ปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ร่วมกับการทาสารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว มีปริมาณ VEGF ที่เพิ่มขึ้น จากผลการทดลองจึงสามารถสรุปได้ว่า การปลูกถ่ายคอลลาเจนสแคฟโฟด์ร่วมกับการให้สารสกัดเหงือกปลาหมอ 0.3 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว นั้นมีผลต่อการลดการอักเสบเมื่อทำการปลูกถ่ายคอลลาเจน กระตุ้นการเกิดกระบวนการ re-epithelialization และการเกิดหลอดเลือดใหม่ที่ผิวหนังซึ่งส่งผลต่อการปิดของแผลที่เร็วขึ้น
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19486
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1850
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1850
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutamard_so.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.