Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19570
Title: Antimutagenicity of some natural red colors introduced to steamed starchy dessert by somatic mutation and recombination test
Other Titles: ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารให้สีแดงจากธรรมชาติบางชนิดเมื่อผสมในขนมแป้งนึ่ง ทดสอบโดยวิธีโซมาติกมิวเตชันและรีคอมบิเนชัน
Authors: Nawanwat Sinseubpol
Advisors: Linna Tongyonk
Kaew Kangsadalampai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Linna.T@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Coloring matter in food
Mutation (Biology)
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Four natural red colors from roselle calyx (Hibiscus sabdariffa L.), beetroot (Beta vulgaris L.), sappan heartwood (Caesalpinia sappan L.), and annatto seed (Bixa orellana L.) were introduced to their respective natural colored steamed starchy desserts. All of them, including each natural color extract, were determined for their antimutagenicity on urethane induced somatic mutation and recombination in Drosophila melanogaster. Three-day old, trans-heterozygous (mwh flr⁺/mwh TM3) larvae obtained by mating virgin ORR flare hair females and mwh/mwh males, were transferred to an experimental medium (containing natural color extract or natural colored dessert) to determine the effect of each sample on the survival of adult files and its mutagenicity. Furthermore, the antimutagenicity of each sample was determined by transferring three-day old larvae to an experimental medium that had urethane as a co-administration study. In addition, pre-feeding studies were performed by mating the parent flies on the experimental medium containing each sample to obtain 3-day old larvae that were subsequently raised on the standard medium containing urethane as the type 1 study or the experimental medium containing urethane as the type 2 study. The wings of the surviving flies wer analyzed for the occurrence of mutant spots. Antioxidant activity of methanolic extract from each sample was assessed by using two methods: 2,2'-Diphenyl-1-Picrylhydrazyl (DPPH) Assay and Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) Assay. The content of phenolic compound in the extracts was also determined using Folin-Ciocalteu reagent. The results showed that none of the samples was mutagenic at the concentration tested. In the co-administration study, all color extracts could reduce mutagenicity of urethane. However, when introduced these colors to the dessert, there were only roselle and beetroot dessert that showed the antimutagenicity. Moreover, while all colors could counteract the mutagenicity of urethane in pre-feeding type 2 study, there were only the desserts containing roselle and beetroot color that expressed antimutagenicity in this study. The protective effects of these natural colors may be due to the presence of antimutagenic components. In addition, the study showed that natural colors had phenolic compounds and antioxidant activity. It is proposed taht these colors might scavenge urethane and/or free radicals that occur during mutagenesis, induce the enzymatic system to detoxify urethane (phase II) and/or inhibit the activity of cytochrome P-450 enzymes (phase I)
Other Abstract: สีแดงจากธรรมชาติสี่ชนิด ซึ่งสกัดได้จากดอกกระเจี๊ยบ หัวบีท แก่นฝาง และเมล็ดคำแสด และขนมแป้งนึ่งที่ผสมสีแดงกล่าว ถูกนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ต่อยูรีเทนในแมลงหวี่สายพันธุ์ Drosophila melanogaster ด้วยวิธีโซมาติกมิวเตชันและรีคอมบิเนชัน การศึกษาผลต่อการอยู่รอดของแมลงหวี่และฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของตัวอย่าง ทำโดยนำหนอนแมลงหวี่ trans-heterozygous อายุ 3 วันที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างแมลงหวี่ตัวเมียสายพันธุ์ ORR flare hair กับแมลงหวี่ตัวผู้สายพันธุ์ mwh/mwh ไปเลี้ยงในอาหารทดลอง (อาหารที่มีการเติมสีหรือขนมผสมสี) นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ โดยศึกษาผลของหนอนที่ได้รับอาหารทดลองร่วมกับสารก่อสายพันธุ์ (co-administration) ทำได้โดยนำหนอนแมลงหวี่อายุ 3 วัน ไปเลี้ยงในอาหารทดลองที่ผสมกับยูรีเทน ในขณะที่การศึกษาผลของหนอนแมลงหวี่ที่ได้รับอาหารทดลองตั้งแต่แรกเกิด (pre-feeding) ทำโดยนำแมลงหวี่ตัวเมียและตัวผู้ผสมพันธุ์กันในอาหารทดลองจนได้หนอนอายุ 3 วัน จึงย้ายไปเลี้ยงในอาหารปกติที่ผสมกับยูรีเทน (การทดสอบแบบที่ 1) หรืออาหารทดลองที่ผสมกับยูรีเทน (การทดสอบแบบที่ 2) จนกระทั่งกลายเป็นตัวเต็มวัย จึงนำปีกของแมลงหวี่ (เฉพาะปีกมน) ที่รอดชีวิตมาวิเคราะห์ความผิดปกติของขนการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสีและขนมที่ผสมสีต่างๆ ด้วยเมทานอลทำโดย 2 วิธี คือ วิธี FRAP และวิธี DPPH ส่วนปริมาณของสารประกอบฟีนอลิกนั้นได้ทำการศึกษาโดยใช้ Folin-Ciocalteu เป็นตัวทำปฏิกิริยา ผลการศึกษาพบว่าทุกตัวอย่างไม่แสดงฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ การศึกษาใน co-administration พบว่าทุกตัวอย่างที่นำมาทดสอบสามารถลดฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของยูรีเทนลงได้ในระดับที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำสีไปผสมในขนมแป้งนึ่ง พบว่ามีเพียงขนมที่ผสมสีจากกระเจี๊ยบและหัวบีทเท่านั้นที่สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของยูรีเทนได้ ส่วนการศึกษาจาก pre-feeding พบว่าสีที่สกัดได้จากทุกตัวอย่างสามารถลดฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของยูรีเทนลงได้ในการทดสอบแบบที่ 2 แต่เมื่อผสมสีดังกล่าวลงในขนมแป้งนึ่ง พบว่า มีเพียงขนมที่ผสมสีจากดอกกระเจี๊ยบและหัวบีทเท่านั้นที่ยังคงมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยูรีเทนได้ ผลดังกล่าวอาจมาจากองค์ประกอบที่มีฤทธิ์ด้านการก่อกลายพันธุ์ในสีธรรมชาติเหล่านี้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดตัวอย่างด้วยเมทานอลมีส่ารประกอบฟีนอลิกและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบในสีธรรมชาติเหล่านี้จึงอาจไปจับกับสารก่อกลายพันธุ์และ/หรืออนุมูลอิสระที่เกิดระหว่างการก่อกลายพันธุ์หรืออาจจะกระตุ้นระบบเอนไซม์ทำลายสารพิษ (phase II) และ/หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในระบบไซโตโครมพี-450 (phase I)
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Food Chemistry and Medical Nutrition
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19570
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1503
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1503
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nawanwat_si.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.