Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19655
Title: บทบาทของห่วงคุมกำเนิดต่อองค์ประกอบของโปรตีนในมดลูกและการฝังตัวของพลาส โตซีสต์ในหนูทดลอง
Other Titles: The role of intra-uterine device on proteins composition in the rat uterus and blastooyst implantation
Authors: กัลยาณี จันทรนิยม
Advisors: พีรดา สิริจินตกานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คุมกำเนิด
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบโปรตีนของของเหลวจากโพรงมดลูกหนูเนื่องจากใส่ไหมห่วงคุมกำเนิด และหาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพของห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้ จากผลการศึกษาพบว่า pH ของของเหลวจากโพรงมดลูกด้านที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดไม่มีความแตกต่างจากของเหลวจากโพรงมดลูกด้านที่ไม่ในห่วงคุมกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญปริมาณโปตีน RNA และ DNA ในของเหลวจากโพรงมดลูกด้านที่ไม่ใส่ห่วงคุมกำเนิดจะสูงกว่าด้านที่ไม่ใส่ห่วงคุมกำเนิดเสมอ นอกจากนี้ปริมาณโปรตีนที่สูงขึ้นจะแปรตามระยะเวลาของการใส่ห่วงคุมกำเนิด ขณะที่ปริมาณการเพิ่ม RNA และ DNA ยังคงเป็น 1.84 ± 0.41 และ 4.03 ± 0.59 เท่าโดยไม่ขึ้นกับระยะเวลาเมื่อเปรียบเทียบชนิดของโปรตีนใน polyacrylamide gel หรือ 6% cyanogum gel ปรากฏว่าโปรตีนในของเหลวจากโพรงมดลูกด้านที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด มีความแตกต่างจากของเหลวที่ไม่ใส่ห่วงคุมกำเนิดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ของเหลวจากโพรงมดลูกด้านที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งหายไป แต่กลับมีโปรตีนซึ่งไม่พบในโพรงมดลูกปกติเพิ่มขึ้นหนึ่งชนิด โปรตีนชนิดที่ขาดหายไปนี้จะเคลื่อนที่ใน SDS-polyacrylamide gel ได้เร็วกว่าโปรตีนชนิดที่เพิ่มขึ้นและมีประจุสุทธิเป็นลบมากว่า ภายหลังการถอดห่วงคุมกำเนิดประมาณ 2 สัปดาห์จะมีโปรตีนชนิดที่หายไปปรากฏขึ้น แต่โปรตีนชนิดใหม่มีปริมาณลดลงเล็กน้อยและไม่แตกต่างจากของเหลวที่ได้จากโพรงมดลูกที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด และเมือเวลาหลังจากการถอดห่วงคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นเป็น 45 วัน รูปแบบของโปรตีนจากของเหลวด้านที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดใน 6% cyanogum gel จะเหมือนกับของเหลวปกติ จากการทดลองพบว่า ความสามารถในการผสมพันธ์และการตั้งครรภ์ของหนูทดลองภายหลังการถอดห่วงคุมกำเนิด 2 สัปดาห์จะเหมือนกับหนูปกติ autoradiograph ของโปรตีนจากของเหลวในโพรงมดลูกหนูที่ติดฉลากด้วย 3_H-leucine หรือ 〖14〗_c-leucine ภายหลังการแยกด้วย 6% cyanogum gel จะไม่ปรากฏแถบรังสี จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าโปรตีนชนิดที่พบใหม่นี้เป็นโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นใหม่หรือไม่เมื่อศึกษาประสิทธิภาพการคุมกำเนิดของของเหลวชนิดต่าง ๆ โดยใช้วิธีฉีดสารที่ต้องการทดสอบปริมาณ 0.2 มิลลิลิตร เข้าไปในหนูทดลองที่ตั้งครรภ์ 4 วัน พบว่าถ้าฉีด cycloheximide 200 ไมโครกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนังตัวเข้าไปในหนูทดลอง ของเหลงที่ได้จากโพรงมดลูกหนูทดลองนั้นจะไม่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดแต่ปรากฏว่า เมื่อฉีด cycloheximide ปริมาณเดียวกันเข้าทางช่องท้องของหนูทดลองที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดจะไม่พบการฝังตัวของบลาสโตซีสต์ ผลการทดลองนี้ชี้แนะว่า ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดอาจเนื่องมาจากอิทธิพลของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นใหม่และ/หรืออิทธิพลของสารประกอบอื่นๆ หลักฐานที่สนับสนุนข้อคิดนี้ได้จากผลการทดลองที่ว่าประสิทธิภาพการคุมกำเนิดปรากฏอยู่ในส่วนน้ำใสที่ได้จากการ dialyse ของเหลวจากโพรงมดลูกหนูที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด และประสิทธิภาพนี้จะยังคงเหลืออยู่ถึงแม้จะต้มน้ำใสนั้นที่ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 10 นาทีผลจากการติดตามการสร้างโปรตีนในปีกมดลูกและในของเหลวโดยวิธีติดฉลากตะกอนที่ตกด้วยกรดไตรคลอโรอะซีคิค พบว่ารูปแบบการสร้างโปรตีนในระยะต่าง ๆ ของวงจรสืบพันธ์และระยะตั้งครรภ์ของหนูปกติแตกต่างจากรูปแบบในหนูที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า เม็ดเลือดขาวไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการคุมกำเนิด เนื่องจากการฉีดเม็ดเลือด (75 มิลลิกรับโปรตีน) ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อาจสรุปผลจากรายงานนี้ได้ว่า การคุมกำเนิดในหนูทดลองมีกลไกที่สลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลายชนิด ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดอาจเนื่องมาจากโปรตีนที่สร้างขึ้นใหม่ นอกจากนี้สารโมเลกุลเล็กที่ทนต่อความร้อนอาจมีส่วนในการยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน ห่วงคุมกำเนิดอาจเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของโปรตีนในมดลูกหนูทดลองและขัดขวางการฝังตัวของบลาสโตซีสต์ อย่างไรก็ดีผู้รายงานไม่สามารถนำผลจากการวิจัยนี้ มาขจัดข้อคิดเห็นที่ว่าประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดเกิดเนื่องจากการขาดแคลนองค์ประกอบบางประการ
Other Abstract: This these attempts to investigate the changes of intraluminal uterine portions due to insertion of silk-thread intra-uterine device (IUD) into rat and to relate these changes with the contraceptive ability of the device It has been shown that the pH of the IUD-bearing uterine fluid (IUD-fluid) was not significantly different from the control fluid. The concentration of total protein, RNA and IUD-fluid were always greater than that of the control. Whereas the increased amount of protein was more intense with longer period of IUD insertion, the increased in RNA and DNA content (1.84 ± 0.41 and 4.03 ± 0.59 fold respectively) remained constant throughout the period tested. Comparision of the protein patterns in polyaerylamide or 6% cyanogum gels of the IUD and control fluids showed that they were different both qualitatively and quantitatively. The IUD-fluid contained a specific protein characteristic to the fluid but lack a major protein normally found in the control fluid. The latter migrate more quickly in the SDS-polyacrylamide gel and was more negatively charged. Removal of the IUD for 2 weeks resulted in the appearance of the latter protein but the IUD specific protein showed only a little berceuse and was not different from that of the IUD-fluid, After removal of the IUD for 45 days, the protein patterns in 6% cyanogum gels was the same as control. Rats whose IUD was removed for only 2 weeks can support normal embryo growth when tested. Autoradiography of 3_H – or 〖14〗_c-labelled uterine proteins in 6% cyanogum gels failed to show any radioactive band. This experiment, therefore cannot demonstrate whether or not the observed IUD specific protein was a newly synthesized one. Bioassay of contraceptive action was performed by injection of 0.2 ml of the tested fluid into 4-day pregnant, receipientrats . It was demonstrated that the IUD-fluid lost its contraceptive ability when the rat was treated with cycleheximde 200 ug/kg rat. However, when the same dose of cyclohesimide was injected intraperitoneally int IUD rats, no implantation of blast cyst was observed. These results suggested that a newly synthesized protein may be involved in the contraceptive action and it is likely that more than one components could confer such contraceptive action. This was further confirmed when separation of IUD-fluid by dialysis showed that the contraceptive ability resided in the dilacerate fraction. The ability was not destroyed when heating the dilacerate at 100oC for 10n minutes. The uterine horn and uterine fluid of the IUD and control rats showed different protein synthesis pattern during the estrous cycle and pregnancy as observed from the incorporation of 3H-leucine into TCA perceptible materials . It was evidenced that leucocytes was not responsible for the contraceptive activity of IUD as generally believed because normal embryonic growth was not prevented by injection of viable leucocytes (75 mg protein). It is indicated by the results obtained in this study that the contraceptive action of the IUD in rat is a complex mechanism involving several components, one of the is a newly synthesized protein. Some small, heat stable molecules may be responsible for the anti-implant ion activity of IUD. Norecver, incorporation of 3H-leucine into uterine protein was altered in the presence of IUD. This may render the uterus to be irresponsive to blast cyst implantation. The possibility that contraceptive action caused by the lack of some components is not excluded by this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19655
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kalayanee_Ja_front.pdf691.19 kBAdobe PDFView/Open
Kalayanee_Ja_ch1.pdf644.58 kBAdobe PDFView/Open
Kalayanee_Ja_ch2.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Kalayanee_Ja_ch3.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Kalayanee_Ja_ch4.pdf657.63 kBAdobe PDFView/Open
Kalayanee_Ja_back.pdf440.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.