Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19686
Title: การอ้างถึงในนิราศสมัยใหม่ : กลวิธีการสื่อสารและการสร้างอารมณ์สะเทือนใจ
Other Titles: Allusion in modern Thai Nirat : a literary technique in conveying message and emotion
Authors: พรเทพ โตชยางกูร
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Suchitra.C@Chula.ac.th
Subjects: นิราศ -- แนวการเขียน
อารมณ์ในวรรณคดี
การสื่อสารในวรรณกรรม
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการอ้างถึงในนิราศสมัยใหม่จำนวน ๗ เรื่อง คือ ลำนำภูกระดึงและบางกอกแก้วกำสรวล ของอังคาร กัลยาณพงศ์ หมายเหตุร่วมสมัย ของไพบูลย์ วงษ์เทศ เขียนแผ่นดิน ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ม้าก้านกล้วยและกลอนกล่อมโลก ของไพวรินทร์ ขาวงาม และโคลงนิราศแม่เมาะ ของก้องภพ รื่นศิริ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาลักษณะการอ้างถึงที่หลากหลาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการอ้างถึงกับการสื่อสารสำคัญและการสร้างอารมณ์สะเทือนใจ ในนิราศสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่า นิราศสมัยใหม่ปรากฏลักษณะการอ้างถึงที่หลากหลาย ได้แก่ การอ้างถึงวรรณกรรมอื่น รวมถึงนิทาน ตำนาน และเพลง การอ้างถึงบุคคล และการอ้างถึงเหตุการณ์ กวีใช้กลวิธี ทางวรรณศิลป์ชนิดนี้ในการสื่อสารและสร้างอารมณ์สะเทือนใจด้วยการเชื่อมโยงหรือถ่ายโยงความหมาย ขยายขอบเขตข้อมูล ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์ และอารมณ์ความรู้สึกจากเรื่องหนึ่งสู่อีกเรื่องหนึ่ง เพื่อนำเสนอสารและทัศนะให้ลึกซึ้งชัดเจนและมีพลังกระทบใจผู้อ่าน กวีใช้กลวิธีการอ้างถึงเพื่อสื่อสารสำคัญและสร้างอารมณ์สะเทือนใจอย่างหลากหลาย ได้แก่ การคร่ำครวญถึงนาง โดยอ้างถึงความเปรียบและสำนวนโวหารเกี่ยวกับความทุกข์จากวรรณกรรมโบราณ เพื่อเน้นย้ำและเพิ่มความโศกเศร้าของตน สารสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การแสดงความรักและความหวงแหนมรดกของแผ่นดิน ที่กวีใช้การอ้างถึงเพื่อขยายขอบเขตข้อมูลและแบ่งปันความรู้สึกภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติที่สืบทอดมาอย่างยาวนานเพื่อปลุกเร้าให้ผู้อ่านตระหนักในคุณค่าและ หวงแหนอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ สารสำคัญประการสุดท้ายที่กวีสื่อผ่าน การอ้างถึงคือ การวิพากษ์วิจารณ์สังคม ในประเด็นนี้กวีอ้างถึงทั้งแบบอย่างที่ดีงามเพื่อแสดง ความคารวะชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่สังคม และปัญหาสังคมเพื่อแสดงความไม่พึงปรารถนาในค่านิยมและพฤติกรรมนั้นๆ กวีจะบริภาษ เสียดสี และประชดประชัน อย่างรุนแรงมีผล ในการสร้างพลังกระทบใจให้ผู้อ่านตระหนักในปัญหาและใส่ใจหาทางแก้ไข
Other Abstract: This thesis aims to explore the notion of allusion in seven contemporary Thai Nirat. The texts selected are Lam Nam Phu Kra Dung and Bangkok Keaw Kam Suan by Ankarn Kanlayanapong, Mai Het Ruam Samai by Paiboon Wongtes, Khean Phan Din by Nawarat Pongpaiboon, Ma Kan Klouy and Klon Klom Lok by Paiwarin Khao-ngam and Khlong Nirat Mae Moh by Kongpob Ruensiri. The purpose of this thesis is to study various types of allusion, and to analyze the relation between the allusion and the message and emotion conveyed by the poets. The study reveals that various types of allusion appear in contemporary Thai Nirat such as the allusion from Thai literary texts, both modern and classical texts, including folktales and songs. There are also the allusion from people and other significant events. The poets use allusion to convey message and create emotions by converting, implying or referring to another texts, events or persons in order to convey the message and the poet’s point of view more powerfully. The poets use various types of allusion to convey various messages and emotions in the texts. For example, several poets lament for their beloved by referring to expression of sorrow in the classical texts in order to emphasize their sorrow. Another significant message is patriotism to their country. The poets use allusion to persuade the readers to value and cherish the country’s heritage. Finally, the poets use allusion as a means to criticize society. The poets refer to good examples and offer salutations. On the other hand, the poets refer to social problems by means of satire and condemnation. This is to create strong impact on the readers to make the readers more aware and more willing to amend our society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19686
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.319
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.319
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntep_to.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.