Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19977
Title: ทฤษฎีการเรียนรู้กับพฤติกรรมการปาหิน : การศึกษาแนวทางการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
Other Titles: Social learning theory and stone-throwing behavior : the measure of crime prevention, crime control and crime solving
Authors: รุจิรัชช์ญานันท์ ชัยแก้ว
Advisors: อุนิษา เลิศโตมรสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Unisa.L@Chula.ac.th
Subjects: การเลียนแบบในวัยรุ่น
การเลียนแบบในเด็ก
การป้องกันอาชญากรรม
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะของพฤติกรรมการปาหิน การอธิบายพฤติกรรมการปาหินด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ และนำผลการศึกษาเสนอเป็นแนวทางป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการปาหิน โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ต้องขังหรือเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดีที่มีพฤติการณ์ปาหิน จำนวน 8 กรณีศึกษาผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่กระทำผิดในคดีที่มีพฤติการณ์ปาหิน มีทั้งแบบเดี่ยวและเป็นกลุ่มแก๊ง มีทั้งการใช้ยานพาหนะร่วมในการทำผิดและไม่ใช้ ยานพาหนะที่ถูกปาหินส่วนใหญ่จะเป็นรถบรรทุก เหตุเกิดบนถนนทั้งเลนเดี่ยวและหลายเลน มักจะเกิดเหตุในช่วงกลางคืน กระทำผิดโดยประสงค์ต่อทรัพย์และเลียนแบบตามข่าว มีการจัดเตรียมหินไว้ล่วงหน้าก่อนกระทำผิดและจัดหาในที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่มีการดื่มสุราก่อนกระทำผิด ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการปาหินสามารถอธิบายด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ คือ ผู้กระทำผิดในคดีที่มีพฤติการณ์ปาหินมีการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน ทำให้มีการยอมรับและเปิดโอกาสให้บุคคลได้มีการเลียนแบบและสนับสนุนพฤติกรรมอาชญากรรม และจากการที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าวสารเกี่ยวกับคดีที่มีพฤติการณ์ปาหินจนเป็นที่โด่งดัง ในขณะเดียวกันข่าวสารเกี่ยวกับการถูกจับกุมตัวของผู้กระทำผิดและข่าวสารเกี่ยวกับอัตราโทษที่ผู้กระทำผิดจะได้รับไม่เป็นกล่าวถึงหรือเป็นที่รับรู้รับทราบโดยทั่วไปนักก่อให้เกิดการสนับสนุนที่แตกต่างกันในทางลบ อีกทั้งคุณลักษณะและรูปแบบของพฤติกรรมการปาหินที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนจึงก่อให้เกิดการเลียนแบบได้ง่าย ในขณะที่คำนิยามนั้น ผู้กระทำผิดโดยส่วนใหญ่มักจะมีทัศนคติที่เชื่อว่าการกระทำผิดด้วยการปาหินนั้นเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้จากผลการวิจัยพบว่า แนวทางการแก้ไขพฤติกรรมการปาหินนั้น สื่อมวลชนควรมีการเสนอข่าว โดยมุ่งประเด็นไปในเรื่องของการลงโทษผู้กระทำผิด และรัฐบาลควรมีการเข้มงวดในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการขายสุรา
Other Abstract: The purpose of this research are to study the nature of stone-throwing behavior; utilize social learning theory explaining stone-throwing behavior; and apply the findings to propose the measure of crime prevention, crime control and crime solving. This study is a documentary and qualitative research, which used in-depth interview techniques in collection data from 8 case studies of inmates and youth offenders charged with stones-throwing offense. The results showed that the samples of this study committed the act of stone-throwing solo and/or with group gang which used and not used the vehicles to commit the offense. The vehicles of the victims are mostly trucks. Most of the crime scenes are on the single lane streets and multiple lanes street and the time that the offense occurs is mainly at night time. The reasons of committing crime are the taking the property of the victims and imitation stone-throwing behavior perceived from the news. Some offenders prepared the stone in advance and some get the stones at the scene. Most of them drink alcohol before offense. The results showed that the stone-throwing can be explained by the social learning theory. The offenses against the act stone-throwing case are differential association which resulted in the acceptance and opportunity for individuals to be imitated and support criminal behavior. From the fact that the news media about the circumstances of the stone-throwing case are so popular and get attention from the general public whereas the news media about the arrest and the punishment are not discussed or being recognized. This causes the negative differential reinforcement. In addition, since feature and pattern of the stone-throwing behavior are not complex, thus it can be imitated so easily. And in term of definition in most cases, offenders often have the attitude to believe that stone-throwing action is can be done.Based on the results of this study, the proposed recommendations to tackle the stone-throwing offense are to urge the media to present the news by focusing on the penalty and punishment of the offense and the government should strictly enforce the law on alcohol sale.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19977
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1822
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1822
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ruchirachyanan_ch.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.