Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20043
Title: ชนิดของนิ่ว ปัจจัยเสี่ยงทางเมแทบอลิกของการเกิดนิ่ว และโปรไฟล์ของกรดอะมิโนในผู้ป่วยโรคนิ่วไตเด็ก
Other Titles: Stone composition, metabolic stone risk factors and amino acid profile in pediatric nephrolithiasis
Authors: ศศิภา หมื่นศรี
Advisors: ชาญชัย บุญหล้า
ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chanchai.B@Chula.ac.th
Piyarat.T@Chula.ac.th
Subjects: นิ่วไตเด็ก -- ผู้ป่วย -- ไทย
นิ่ว -- ไทย
กรดอะมิโน -- ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่มีโอกาสการเกิดเป็นซ้ำได้สูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไตล้มเหลว ภาวะมีตะกอนแคลเซี่ยมในเนื้อไต มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่อย่างไรก็ตามเด็กที่เกิดภาวะมีตะกอนแคลเซี่ยมในเนื้อไต ไม่จำเป็นต้องเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ตามมาเสมอไป ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และการเกิดภาวะมีตะกอนแคลเซี่ยมในเนื้อไต เกิดจากความไม่สมดุลย์กันระหว่างสารก่อนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และสารยับยั้งการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงทางเมแทบอลิกของการเกิดนิ่วในผู้ป่วยเด็กโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (n = 7) ผู้ป่วยเด็กที่เกิดภาวะมีตะกอนแคลเซี่ยมในเนื้อไต (n = 7) เปรียบเทียบกับเด็กปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (n = 29) วัดระดับกรดอะมิโนในพลาสมาและในปัสสาวะ ของทั้ง 3 กลุ่ม และประเมินค่าอัตราการกรองของเลือดผ่านโกเมอรูลัสซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานของไต เก็บสารตัวอย่างปัสสาวะ และเลือด จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าค่าการกรองของเลือดผ่านโกเมอรูลัสของกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ต่ำกว่าเด็กปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ระดับของซิเตรท โพแทสเซี่ยม และแมกนีเซี่ยม ในกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ต่ำกว่าเด็กกลุ่มปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ อย่างมีนัยสำคัญ พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างปริมาณซิเตรทและแมกนีเซี่ยมในปัสสาวะกับค่าการกรองของเลือดผ่านโกเมอรูลัส ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เกิดภาวะมีตะกอนแคลเซี่ยมในเนื้อไตมีระดับของแคลเซี่ยม และกรดยูริกในปัสสาวะ สูงกว่าเด็กปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ระดับของออกซาเลตในกลุ่มเด็กปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ระดับของกรดอะมิโนในพลาสมาของกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างจากเด็กกลุ่มปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ระดับกรดอะมิโนโพลีนในพลาสมา ของกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับสูงกว่าเด็กกลุ่มปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และมีระดับการขับออกของกรดอะมิโนในปัสสาวะ ต่ำกว่ากลุ่มเด็กปกติที่ไม่มีประวัติเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ งานวิจัยนี้สรุปได้ว่า การทำงานของไตของกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีการทำงานต่ำลง การเกิดภาวะซิเตรทต่ำในปัสสาวะ และแมกนีเซี่ยมต่ำในปัสสาวะ เป็นปัจจัยเสี่ยงทางเมแทบอลิกที่สำคัญต่อการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของเด็กไทย โปรไฟล์ของกรดอะมิโนโพลีนในพลาสมาและปัสสาวะของกลุ่มผู้ป่วยแตกต่างจากกลุ่มเด็กปกติ
Other Abstract: Urolithiasis (UL), a condition of calculi formation in urinary tract, is relatively uncommon in pediatric population. However, it may portend significant long term consequences, including the morbidity of recurrent stone as well as the development and progression of renal dysfunction. Nephrocalcinosis (NC) is a condition that calcium is rising and calcified in the kidney tissues. NC is closely associated with kidney calculi formation, but all NC cases do not develop nephrolithiasis. The common etiology of NC and UL is an imbalance between stone promoters and stone inhibitors in the urine, called metabolic stone risk factors. We investigated the metabolic stone risk factors in childhood UL (n = 7) and NC (n = 7) compared to non-stone forming (NSF, n = 29) children. Plasma and urine amino acid profiles were determined. Estimated glomerular filtration rate (eGFR) as indicator of renal function was calculated based on plasma creatinine. Spot urine and blood samples were collected from all subjects. The eGFR of UL and NC patients were significantly decreased compared to NSF controls. Urinary levels of citrate, potassium and magnesium in UL and NC patients were significantly lower than that of NSF controls. Urinary calcium and uric acid in NC patients were significantly greater, while urinary oxalate was lower, than in the NSF controls. Hypocitraturia and Hypomagnesaemia were remarkably prevalent in the UL and NC groups. Overall, plasma amino acid profiles in UL and NC patients were different from the NSF controls. Plasma proline in both UL and NC groups was significantly higher than that in the controls. Urinary excretion of almost all of amino acids in UL and NC patients were significantly greater than in the controls. Excretion of urinary citrate and urinary magnesium was correlated to plasma creatinine and eGFR. In Conclusion, renal function of patients with UL and NC was decreased. Hypocitrauria and hypomagnesiuria were considered as important metabolic risk factors for renal calcification and urinary stone formation in Thai children. Altered plasma and urine amino acid profiles in UL and NC patients were demonstrated.We found amino acid profile of childhood urolithiaisis and childhood nephrocalcinosis were different from NSF group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20043
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasipa_mu.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.