Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20079
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัชชัย โกมารทัต | - |
dc.contributor.author | ณรงค์ ศรีสกุลแพทย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-06T14:08:09Z | - |
dc.date.available | 2012-06-06T14:08:09Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20079 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบแบบแผนและปัจจัยในการทำประตูบาสเกตบอลของทีมชาติสหรัฐอเมริกากับทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 29 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ทีมชาติสหรัฐอเมริกากับทีมคู่แข่งขัน จำนวน 7 ทีม ได้แก่ ทีมชาติจีน ทีมชาติแองโกลา ทีมชาติกรีซ ทีมชาติสเปน ทีมชาติเยอรมนี ทีมชาติออสเตรเลีย และทีมชาติอาร์เจนตินา รวม 8 เกมการแข่งขัน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแผ่นดีวีดีบันทึกการแข่งขันมาแปลงเป็นไฟล์เอวีไอและใช้โปรแกรม Focus X2 Version 1.5 ทำการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงในคอมพิวเตอร์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ (LSD) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบแผนการทำประตูบาสเกตบอลที่นิยมใช้มากที่สุดในการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 29 ในภาพรวมของทีมชาติสหรัฐอเมริกาและทีมคู่แข่งขันคือ แบบแผนเลี้ยงแล้วยิง (20.87%) ตำแหน่งผู้เล่นที่ใช้ในการทำประตูมากที่สุดคือ ชู้ตติงการ์ด (30.51%) แทคติคการทำประตูที่ใช้มากที่สุดคือ ชู้ตไรท์อเวย์ (79.63%) เทคนิคการทำประตูที่ใช้มากที่สุดคือ จัมพ์ ช็อต (59.60%) พื้นที่ที่ใช้ในการทำประตูมากที่สุดคือ พื้นที่บริเวณเขต 3 วินาที ระหว่างเส้นโทษกับห่วงประตู (17.52%) และ 2 วินาที เป็นช่วงของระยะเวลาที่ใช้ในแบบแผนการทำประตูมากที่สุด (20.70%) และยังพบแบบแผนการทำประตูบาสเกตบอลที่ค้นพบใหม่นอกเหนือจากที่เคยใช้คือ แบบแผนเพื่อนสกรีนให้เลี้ยงแล้วส่งให้เพื่อนอีกคนยิง มีการใช้ในการแข่งขันสูงถึง 72 ครั้ง (6.04%) 2. เมื่อทำการเปรียบเทียบแบบแผนการทำประตูบาสเกตบอลพบว่า แบบแผนที่ทีมชาติสหรัฐอเมริกาทำคะแนนได้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เลี้ยงแล้วส่งให้เพื่อนยิง (95 คะแนน) รองลงมาคือ ส่งให้เพื่อนยิง (87 คะแนน) และแบบแผนเลี้ยงแล้วยิง (79 คะแนน) ส่วนแบบแผนที่ทีมคู่แข่งขันทำคะแนนได้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เลี้ยงแล้วยิง (112 คะแนน) รองลงมาคือ เลี้ยงแล้วส่งให้เพื่อนยิง (65 คะแนน) และแบบแผนเพื่อนสกรีนให้เลี้ยงแล้วยิง (60 คะแนน) และแบบแผนเลี้ยงแล้วยิงมีค่าเฉลี่ยผลสำเร็จในการทำประตูมากกว่าทุกแบบแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำประตูบาสเกตบอลพบว่า ทีมชาติสหรัฐอเมริกาได้ประตูมากที่สุดมาจาก ตำแหน่งชู้ตติงการ์ด (105 ประตู) ในขณะที่ทีมคู่แข่งขันทำประตูได้มากที่สุดจาก ตำแหน่งเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (55 ประตู) โดยแทคติคการทำประตูที่ทีมชาติสหรัฐอเมริกาทำประตูได้มากที่สุดคือ แทคติคชู้ตไรท์อเวย์ (265 ประตู) เช่นเดียวกันกับทีมคู่แข่งขันทำประตูได้ (172 ประตู) ซึ่งเทคนิคการทำประตูที่ทีมชาติสหรัฐอเมริกาทำประตูได้มากที่สุด คือ เทคนิคจัมพ์ ช็อต (128 ประตู) เช่นเดียวกันกับทีมคู่แข่งขันทำประตูได้ (116 ประตู) ส่วนพื้นที่การทำประตูที่ทีมชาติสหรัฐอเมริกาทำประตูได้มากที่สุดมาจากพื้นที่บริเวณเขต 3 วินาที ระหว่างเส้นโทษกับห่วงประตู (66 ประตู) เช่นเดียวกันกับทีมคู่แข่งขันทำประตูได้ (52 ประตู) และ 3 วินาที เป็นช่วงของระยะเวลาที่ทีมชาติสหรัฐอเมริกาใช้ในแบบแผนแล้วได้ประตูมากที่สุด (64 ประตู) ซึ่งแตกต่างกับทีมคู่แข่งขันคือ 2 วินาที (53 ประตู) | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study, analyze and compare the basketball offensive scoring patterns and scoring-related factors among Team USA and the opposing teams in the 29th Olympic Games. The samples were Team USA and seven opposing teams in the 29th Olympic Games, which were China, Angola, Greece, Spain, Germany, Australia and Argentina. Eight games were analyzed, using sport analysis software Focus X2 Version 1.5. The data were collected by reviewing AVI files of each game. The obtained data were analyzed in terms of frequency, percentage, one-way analysis of variance (ANOVA) with multiple comparison, using the Least Significant Difference (LSD) at .05 level. The results were as follows: 1. The offensive scoring pattern which was most frequently used by Team USA and the opposing teams in the 29th Olympic Games was Dribble and Score (20.87%). The player position was most likely to shoot was Shooting Guard (30.51%). The shooting tactic which was used the most was Shoot Right Away (79.63%). The shooting technique which was used the most was Jump Shot (59.60%). The shooting area was most often used was the restricted area between the free-throw line and the basket (17.52%). The period of time most commonly used was 2 seconds (20.70%). The analysis also found a new offensive scoring pattern that was not commonly used in the past, which was Screen-Dribble and Pass. This offensive scoring pattern was used for 72 shots (6.04%) in the competitions. 2. The comparison of the offensive scoring patterns that scored the most points showed that the top three offensive scoring patterns that Team USA used were Dribble and Pass (95 points), Pass and Score (87 points) and Dribble and Score (79 points), in order. The top three offensive scoring patterns that the opposing teams used were Dribble and Score (112 points), Dribble and Pass (65 points) and Screen and Dribble (60 points) in order. Dribble and Score had a higher mean of scoring success than every other offensive scoring patterns at the .05 level. 3. The comparison of the scoring-related factors showed that the player position for Team USA which made the most baskets was Shooting Guard (105 baskets), and the opposing teams’ was Power Forward (55 baskets). The shooting tactic that Team USA made the most baskets was Shoot Right Away (265 baskets), The opposing teams also made the most baskets using Shoot Right Away (172 baskets). The shooting technique that Team USA used to make the most baskets was Jump Shot (128 baskets), the same as the opposing teams’ (116 baskets). The shooting area that Team USA made the most baskets from was the restricted area between the free-throw line and the basket (66 baskets). The opposing teams also most often scored from the restricted area between the free-throw line and the basket (52 baskets). The period of time that Team USA most often used to make a basket was 3 seconds (64 baskets), while opposing teams used 2 seconds (53 baskets). | en |
dc.format.extent | 2342564 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.354 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | บาสเกตบอล | en |
dc.subject | บาสเกตบอล -- การยิงประตู | en |
dc.subject | บาสเกตบอล -- การแข่งขัน | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบแบบแผนการทำประตูบาสเกตบอลของทีมชาติสหรัฐอเมริกากับทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 29 | en |
dc.title.alternative | A comparative study of basketabll offensive scoring patterns among team USA and the opposing teams in the 29th Olympic games | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chuchchai.G@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.354 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narong_sr.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.