Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20124
Title: | การศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทตัวแทนผู้รับการจัดส่งสินค้าทางเรือ |
Other Titles: | Comparative adventage in sea freight for forwarder business |
Authors: | อรรฆย์ วิริยะกิจจานุรักษ์ |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kamonchanok.s@chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารงานโลจิสติกส์ การขนส่งทางน้ำ ตัวแทนทางการค้า |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการศึกษาข้อได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เปรียบเทียบกลุ่มธุรกิจตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้าทางเรือ จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทกลุ่มเรือคอนเทนเนอร์(Sub Agent Provider Logistics) กลุ่มที่เป็นบริษัทที่มีบริการให้เช่าตู้สินค้า (Shipper Own Container : SOC) กลุ่มที่เป็นบริษัทตัวแทนรับจัดการการส่งออกโดยจะทำการศึกษาถึงตัวปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเนื่องจากสภาพปัจจุบันธุรกิจด้านการบริการขนส่งสินค้าเผชิญกับสภาวะการแข่งขันสูง ทั้งด้านราคาและด้านการให้บริการเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเข้ามาร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติ โดยการคำนวนหาค่า Revealed Comparative Advantage Index (RCA) หรือค่าที่แสดงความได้เปรียบในการแข่งขัน กรณีค่า RCA>1 กล่าวคือกลุ่มนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และ กรณีค่าRCA<1 กล่าวคือกลุ่มนั้นไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขันเข้ามาช่วยวัดความได้เปรียบของกิจการตัวแทนการขนส่งสินค้าว่ากลุ่มใดจะเกิดความได้เปรียบ ด้วยเพราะปัจจัยที่เกิดจาก ปัจจัยด้านใด โดยผลการสำรวจได้ถูกนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรม SPSS ควบคู่กับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้มองความสำคัญของปัจจัยด้านราคาเป็นเรื่องรอง แต่กับให้ความสำคัญกับด้านการบริการและความร่วมมือการทำงานเป็นหลัก ทำให้ทราบว่าตัวแทนรับจัดการส่งสินค้าของคนไทย ต้องมีการปรับตัวและพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ทัดเทียมกับกระแสโลจิสติกส์ของโลก เนื่องจากบริษัทของคนไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร และความเข้าใจในธุรกิจของผู้ใช้บริการหรือลูกค้า และเจ้าของกิจการตัวแทนรับการจัดการขนส่งสินค้าควรปรับปรุงแก้ไขในด้านใด จะได้ปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสภาพของตลาด เพื่อก้าวสู่ทางรอดของกิจการ |
Other Abstract: | This research aims to explore ways to develop and compare advantages between factor and advantages in sea freight forwarder business. The knowledge gained from the findings can help to prepare Thai forwarder business by fight against the aggressors of the forwarder business is multinational Revealed Comparative Advantage Index (RCA) among three competitive groups of the forwarder business was examined and used as a tool to divide those into two categories--the group whose RCA is greater than 1 exhibited comparative advantages while the group whose RCA is less than 1 illustrate no comparative advantage. The comparison on those threes business groups was then categorized into, according to the size of forwarder business, small, medium, and large as well as income index. To this end, the findings gained from the process of questionnaire can be employed as a direction guideline for solutions to improve any influence -as well as suggest Thai forwarder business to build logistics that are integrated into strategic plan in the near future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20124 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.541 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ark_vi.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.