Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2019
Title: ผลของการใช้วิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านที่มีต่อความรู้ทัศนคติ และการปฎิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนในชุมชนลุมพินี: รายงานการวิจัย
Other Titles: Effects of teaching by neighbours toward knowledge, attitude and practice in prevention of HIV infection of people in Lumphinee community
Authors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
ภาวนา จงทักษิณาวัตร
พรนิภา ลีละธนาฤกษ์
ภวพร ไพศาลวัชรกิจ
ปรารถนา หมี้แสน
ประดับ แก้วแดง
นารีรัตน์ รูปงาม
ภัสรา จารุสุสินธิ์
วิภาสิริ นราพงษ์
ศิรินภา ชี้ทางให้
บุบผา พวงมาลี
น้ำค้าง แสงสว่าง
นัยนา เตโชฬาร
Email: Paungphen.C@Chula.ac.th
Boonjai.S@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรคเอดส์--การป้องกันและควบคุม
ทัศนคติ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนในชุมชนลุมพินี และเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนก่อนและหลังการสอน แบบของการทดลอง คือ แบบ 1 กลุ่ม มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยผู้ใหญ่ อายุ 13-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในแฟลตแห่งหนึ่ง (ลุมพินี) สุ่มโดยวิธีชั้นภูมิโดยถือเอาชั้นของอาคารเป็นชั้นภูมิที่จัดแบ่ง ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 37 คน หญิง 50 คน รวมทั้งหมด 87 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้นำซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน 12 คน และประชาชนทั่วไป 75 คน วิธีดำเนินการวิจัยโดยการทดสอบความรู้ สอบถามทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นผู้วิจัยทำการสอนผู้นำซึ่งเป็นเพื่อนบ้านเป็นรายบุคคลโดยใช้สื่อภาพพลิกและแผ่นพับเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แล้วให้ผู้นำไปสอนประชาชนในแฟลตชั้นเดียวกับตนตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อครบ 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบความรู้ สอบถามทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มตัวอย่างอีกครั้งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แบบสอบถามทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แผนการสอนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัตในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ภาพพลิกและแผ่นพับเกี่ยวกับความรู้และการป้องกันโรคเอดส์ เครื่องมือสร้างโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .89 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t test) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของผู้นำชุมชนหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความรู้ และทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนหลังการสอนโดยวิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านสูงกว่าการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: This quasi-experimental designed aimed to study the effects of teaching ny neighnours on knowledge, attitude and practice in prevention of HIV infection. And to compare of knowkedge, attitude and practice in prevention of HIV infection before and after being taught by neighbours. Sample were 87 adults which were 12 leaders (in the neighbourhood) and 75 adults. Pretest of knowledge, attitude and practice in prevention of HIV infected was done. After that, the neighbour leaders were taught individually about knowledge, attitude and practice in prevention of HIV using flip charts ana pamphlets. Then the leaders taught their neighbours within 4 weeks, posttest was done after that. Research instruments were knowledge test, attitide and practice in prevention of HIV questionnaires which had been tested for the content validity and reliability. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test. The major finding were as follows: 1. Mean score of knowledge, attitude and practice in prevention of HIV infected of the leaders after being taught by media were higher than before and significant at .05 level. 2. Mean score of knowledge and attitide in prevention of HIV infected of adults in Lumphinee community after being taught by using media were higher than before and significant at .05 level but the practice score was not different.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2019
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paungpen(AID).pdf9.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.