Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20223
Title: ผลของการบำบัดทางการพยาบาลโดยใช้ดนตรีร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
Other Titles: The effect of nursing intervention by using music and environmental adjustment on agitated behaviors of dementia elderly
Authors: ชุติมา ทองวชิระ
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: wwattanaj@ yahoo.com
Subjects: ดนตรีบำบัด
ภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุ
การพยาบาล
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดทางการพยาบาลโดยใช้ดนตรีร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้ แนวคิด 2 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดในการใช้ดนตรีบำบัดของ Gerdner (1997) และแนวคิดในการจัด สิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของ Hall (1988) ศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา (One- Group Time Series Design) ทำการวัดซ้ำทั้งหมด 6 ครั้ง โดยทำการวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้ง ระหว่างการทดลอง 4 ครั้งและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่พักอาศัยในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค จำนวน 25 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด ดำเนินกิจกรรมด้านดนตรีควบคู่กับกิจกรรม ด้านการจัดสิ่งแวดล้อม สัปดาห์ละ 3 ครั้ง (ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์) เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 15 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการดำเนินกิจกรรมการบำบัดทางการพยาบาลโดยใช้ดนตรี ร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยขออนุญาตแปลจากแบบประเมิน CMAI (The Cohen-Mansfield Agitation Inventory) ของ Cohen-Mansfield (1989) เป็นภาษาไทย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของแบบประเมิน จากการ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำและการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมกระวนกระวายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการพยาบาลเชิงบำบัดลดลงกว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการพยาบาลเชิงบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมกระวนกระวายเริ่มลดลงตั้งแต่เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to investigate the effect of nursing intervention by using music and environmental adjustment on agitated behaviors of the dementia elderly. The conceptual framework for the intervention in this study was based on “Music Therapy” (Gerdner, 1997) and “Environmental Adjustment” (Hall, 1988). The study was conducted in one sample group with a one-group time series design and evaluated a total of 6 times as follows: 1 pre-experimental evaluation, 4 evaluations during the experiment and 1 post-experimental evaluation with one-week intervals between each evaluation. The sample comprised 25 male and female elderly persons living in the Development Center, Social Welfare of the elderly home in Bangkae who were selected in line with inclusion criteria. Musical and environmental activities were held three times a week over a period of 5 weeks for a total of 15 sessions. The instruments used in the experiment included the nursing intervention guide by using music and environmental adjustment for the elderly participants with dementia. The data collection instrument for this study was the Cohen-Mansfield Agitation Inventory (CMAI) by Cohen-Mansfield (1989). The researcher requested permission to translate the CMAl into Thai. The translated CMAI was then tested for content validity by qualified experts whereby reliability was equal to .89. The data was analyzed by using variance with repeated measures (ANOVA) and pair-wise comparison. The research findings can be summarized as follows : The average scores for agitated behaviors following the nursing intervention were reduced to less than before the participation in nursing intervention with statistical significance at the level of .01 and the mean score for agitated behaviors began to decrease from participation in the third week onward
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20223
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1852
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1852
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutima_th.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.