Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20337
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดิเรก ศรีสุโข
dc.contributor.authorอุทัย ตั้งคำ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-06-13T11:51:50Z
dc.date.available2012-06-13T11:51:50Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745644331
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20337
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพส่วนตัวนักเรียน (เชาว์ปัญญา ความรู้พื้นฐาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบการเรียนอิสระ แบบการเรียนหลีกเลี่ยง แบบการเรียนร่วมมือ แบบการเรียนพึ่งพา แบบการเรียนแบบแข่งขัน แบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนพิเศษ การควบคุมตนเอง) สภาพแวดล้อมทางบ้าน (ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพที่อยู่อาศัย) และสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน (คุณภาพของการสอน ความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้อำนวยการ และบรรยากาศในชั้นเรียน) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 601 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบแมทริซีสก้าวหน้าขั้นสูง แบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ ค.011, 012 แบบสอบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบสอบถามรูปแบบการเรียน แบบสอบถามการควบคุมตนเอง แบบสอบถามคุณภาพของการสอนและการเรียนพิเศษ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้านแบบสำรวจพฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้อำนวยการ แบบสอบภามบรรยากาศภายในชั้นเรียน และแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ ค.015 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวทำนายและตัวเกณฑ์ข้อค้นพบที่สำคัญของการวิจัย คือ 1. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างสภาพส่วนตัวนักเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ .6045 และตัวทำนายที่มีนัยสำคัญมี 3 ตัว คือ ความรู้พื้นฐาน เชาว์ปัญญา และแบบการเรียนแบบร่วมมือ 2. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างสภาพแวดล้อมทางบ้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ .1419 และตัวทำนายที่มีนัยสำคัญคือ ฐานะทางเศรษฐกิจ 3. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ .1722 และตัวทำนายที่มีนียสำคัญคือ ความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้อำนวยการ 4. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างเชาว์ปัญญา ความรู้พื้นฐาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์รูปแบบการเรียน 6 แบบ การเรียนพิเศษ การควบคุมตนเอง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพที่อยู่อาศัย คุณภาพการสอน ความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้อำนวยการ และบรรยากาศในชั้นเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ .6216 และตัวทำนายที่มีนียสำคัญมีเพียง 4 ตัว คือ ความรู้พื้นฐาน เชาว์ปัญญา ความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้อำนวยการและการเรียนแบบร่วมมือ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the relationships between students’ characteristics, home environment, school environment and the Achievement in Learning Mathematics of Mathayom suksa Six Students in Bangkok Metropolis. The samples were 601 students of mathayom suksa six in Bangkok Metropolis. The instruments used for collecting data were Advanced Progressive Matrices, Mathematics (Math.011,012) test, achievement motive questionnaires, student learning styles questionnaires, self – control questionnaires, quality of instruction and cramming questionnaires, home environment questionnaires, academic leadership of the principal questionnaires, classroom climate questionnaires, and Mathematics (Math.015) test. Pearson’s coefficient of correlation and multiple Correlation were used to analyses the obtained data. The major findings of this research were: 1. The multiple correlation between students’ characteristics and achievement in learning mathematics was .6045 and the three important predictors found in this research were entry knowledge intelligence, and collaborative learning style. 2. The multiple correlation between home environment and achievement in learning mathematics was .1419 and the one important predictor found in this research was economical status. 3. The multiple correlation between school environment and achievement in learning mathematics was .1722 and the one important predictor found in this research was academic of school principal. 4. The multiple correlation between intelligence, entry knowledge, achievement motivation, six learning styles, cramming, self-control, family relationship, economical status, home areas, quality of instruction percieved by students, academic leadership’of school principal, classroom climate and achievement in learning mathematics was .6216 and the four important predictors found in this research were entry knowledge, intelligence, academic leadership of school principal, and collaborative learning style.
dc.format.extent501846 bytes
dc.format.extent498252 bytes
dc.format.extent905906 bytes
dc.format.extent717222 bytes
dc.format.extent614604 bytes
dc.format.extent613131 bytes
dc.format.extent1297715 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างสภาพส่วนตัวนักเรียน สภาพแวดล้อมทางบ้านและโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeRelationships between students' characteristics, home environment, shcool environment, and achievement in learning mathematics of mathayom suksa six students in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uthai_Tu_front.pdf490.08 kBAdobe PDFView/Open
Uthai_Tu_ch1.pdf486.57 kBAdobe PDFView/Open
Uthai_Tu_ch2.pdf884.67 kBAdobe PDFView/Open
Uthai_Tu_ch3.pdf700.41 kBAdobe PDFView/Open
Uthai_Tu_ch4.pdf600.2 kBAdobe PDFView/Open
Uthai_Tu_ch5.pdf598.76 kBAdobe PDFView/Open
Uthai_Tu_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.