Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2036
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้ป่วยในซึ่งเป็นโรคเบาหวานโรงพยาบาลราชวิถี
Other Titles: Factors affecting drug related problems in diabetic inpatients at Rapavithi Hospital
Authors: ชุติธนา วีระวัธนชัย, 2516-
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
ทองคำ สุนทรเทพวรากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sutathip.P@Chula.ac.th
Subjects: เบาหวาน -- ผู้ป่วย
การใช้ยา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้ป่วยในโรคเบาหวาน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำการศึกษาในผู้ป่วยในโรคเบาหวานที่เข้ารักษาตัวที่ตึกอายุรกรรมชาย หญิง โรงพยาบาลราชวิถี ในช่วงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2544 - 30 เมษายน 2545 จำนวน 100 ราย มีปัจจัยที่ศึกษา 9 ปัจจัย คือ จำนวนและประเภทโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดแรกเข้าโรงพยาบาล การมีภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันของเบาหวาน ผู้ป่วยสูงอายุ ได้รับอาหารทางสายยาง ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล ศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 6 ประเภทคือ ผู้ป่วยต้องการยาในการรักษาทั้งยาใหม่และยาที่เพิ่มเติม ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่สมควรได้รับ ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดต่ำกว่าขนาดในการรักษา ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดสูงกว่าขนาดในการรักษา ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทั้งหมด 93 ปัญหาในผู้ป่วย 58 ราย เป็นปัญหาผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 47.31 ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดสูงกว่าขนาดในการรักษา ร้อยละ 37.63 ผู้ป่วยต้องการยาในการรักษาทั้งยาใหม่และยาที่เพิ่มเติม ร้อยละ 6.45 ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่สมควรได้รับ ร้อยละ 4.30 ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดต่ำกว่าขนาดในการรักษา ร้อยละ 3.23 และผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ร้อยละ 1.08 นอกจากนี้พบการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำในโรงพยาบาลจำนวน 30 ครั้งในผู้ป่วย 21 ราย และพบการเกิดน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลันจำนวน 3 ครั้ง ไม่พบว่าปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา (p>0.05) อย่างไรก็ตามพบว่าการมีโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบร่วมมีร้อยละของผู้ป่วยที่พบปัญหาและร้อยละของจำนวนปัญหาสูงสุด คือ 79.31 และ 79.57 ตามลำดับ จึงอาจสรุปได้ว่าผู้ป่วยในเบาหวานที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบร่วม จะมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยามาก ควรให้การดูแลผู้ป่วยดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อลดและป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Other Abstract: The objective of this study was to identify factors that affected drug related problems (DRPs) in diabetic inpatients. The results may be used as a guideline in preventing and reducing problems in the future. The study was done in one hundred diabetic inpatients from medical wards at Rajavithi Hospital during November 16, 2001 to April 30, 2002. Nine factors were studied. They were number and type of complications, duration of diabetes diagnosed, blood glucose level upon admission, acute diabetic complications, old age, tube feeding, renal insufficiency and length of hospital stay. Six drug related problems studied were the need for additional drug therapy, taken unnecessary drug therapy, taken the wrong drug, too little of the correct drug was being taken, experiencing an adverse drug reaction, and too much of the correct drug was being taken. Ninety three drug related problems in 58 patients were identified. There were experiencing an adverse drug reaction 47.31%, too much of the correct drug was being taken 37.63%, need for additional drug therapy 6.45%, taken the wrong drug 4.30%, too little of the correct drug was being taken 3.23%, taken unnecessary drug therapy 1.08%. In addition to the problems mentioned above, there were 30 hypoglycemic episodes in 21 patients and 3 episodes of refractory hyperosmolar coma occurred during their hospital stays. None of the factors had significantly statistically association with drug related problems (p>0.05). However, in the category of type of complications, the highest percentage of number of patients who found DRPs (79.31%) and highest percentage of number of DRPs (79.57%) were found in the cardiovascular disease. We then can conclude that diabetic inpatients have tendency to have many drug related problems. We should pay more attention care of these patients in order to decrease and prevent the drug therapy problems in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2036
ISBN: 9741711662
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutithana.pdf590.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.