Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20428
Title: ประสิทธิผลของรูปแบบการจำแนกทางการพยาบาลต่อความพึงพอใจของพยาบาลและจำนวนวันนอนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยหนัก
Other Titles: The effectiveness of nursing classification model on nurse satisfaction and length of stay for patients with coronary artery bypass graft in intensive care unit
Authors: แพรวพรรณ อึ้งภาภรณ์
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: yupin.a@chula.ac.th
Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: ความพอใจในการทำงาน
ผู้ป่วย -- การดูแล
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และความพึงพอใจของพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจำแนกทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในหอผู้ป่วยศูนย์โรคหัวใจฯ ชั้น 5 โรงพยาบาลศิริราช ที่ให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 13 คน และกลุ่มผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยศูนย์โรคหัวใจฯ ชั้น 5 จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน คัดเลือกโดยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีภูมิหลังที่คล้ายคลึงกันในโรค เพศ อายุ และประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการจำแนกทางการพยาบาล ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลด้านข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กิจกรรมทางการพยาบาล และผลลัพธ์ทางการพยาบาล ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่มีระบบแบบแผนในแนวทางเดียวกัน แบบบันทึกจำนวนวันนอนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยหนัก และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของพยาบาลในโครงสร้างของรูปแบบการจำแนกทางการพยาบาลหลังการทดลอง (Mean=4.22, SD=.58) สูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean=3.08, SD=.50) ความพึงพอใจของพยาบาลในการนำรูปแบบการจำแนกทางการพยาบาลไปใช้หลังการทดลอง (Mean=4.21, SD=.66) สูงกว่าก่อนการทดลอง(Mean=3.14, SD=.66) และความพึงพอใจในงานของพยาบาลหลังการทดลอง (Mean=4.34, SD=.56) สูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean=3.14, SD=.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยหนักของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกลุ่มที่มีการใช้รูปแบบการจำแนกทางการพยาบาล (Mean=1.67, SD=.80) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีการใช้รูปแบบการจำแนกทางการพยาบาล (Mean=2.73, SD=1.57) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to compare nurses’ satisfaction and length of stay before and after using nursing classification model. The research subjects composed of 13 nurses in Her Magesty Cardiac Center Intensive Care Unit, Siriraj Hospital, and 60 patients with undergo coronary artery bypass graft divided into 2 groups: 30 in control group and 30 in experimental group. The subjects were selected using purposive sampling with diagnosis, gender, age, and left ventricle’s percentage of ejection fraction. The research instruments were nursing classification model for patients with undergo coronary artery bypass graft in intensive care unit, nurses’satisfaction questionnaire, and length of stay report. The content validity and reliability were established. The Cronbach’s alpha coefficients of nurses’ satisfaction were .95. Statistical techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. Major findings of this study were as follows: 1. Nurses’ satisfaction in structures of nursing classification model after experimental (Mean=4.22, SD=.58) was significantly higher than before (Mean=3.08, SD=.50), nurses’ satisfaction in using of nursing classification model after experimental (Mean=4.21, SD=.66) was significantly higher than before (Mean=3.14, SD=.66), and nurses’ satisfaction after using nursing classification model (Mean=4.34, SD=.56) was significantly higher than before (Mean=3.14, SD=.46) at the .05 level. 2. Length of stay after using nursing classification model (Mean=1.67, SD=.80) was significantly less than before (Mean=2.73, SD=1.57) at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20428
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.555
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.555
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preawpun_On.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.