Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20476
Title: การพัฒนาระบบโครงสร้างบ้านกึ่งสำเร็จรูปน้ำหนักเบาเพื่อการอนุรักษ์พลังงานแบบยั่งยืน
Other Titles: A development of light weight home construction component for sustainable energy
Authors: ณรงค์ฤทธิ์ จินต์จันทรวงศ์
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Soontorn.B@Chula.ac.th
Vorasun.b@chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
บ้านกึ่งสำเร็จรูป
บ้านสำเร็จรูป
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การก่อสร้างบ้านพักอาศัยปัจจุบันมีวิธีการและขั้นตอนมากมาย การใช้วัสดุหลากหลาย เช่น อิฐ คอนกรีต เหล็ก กระจก ไม้ พลาสติก เป็นต้น และความต้องการแรงงานที่มีความชำนาญแตกต่างกัน ได้แก่ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเหล็ก เป็นต้น ระยะเวลาการก่อสร้างยาวนานและมีความผิดพลาดของรายละเอียดต่างๆ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนาระบบโครงสร้างบ้านกึ่งสำเร็จรูปน้ำหนักเบา มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนของการก่อสร้างระบบเดิม แนวความคิดการใช้วัสดุประเภทเดียวที่สามารถใช้เป็นโครงสร้างวัสดุตกแต่ง ฉนวน ช่องท่อ จึงเป็นความต้องการของผู้ออกแบบและผู้ก่อสร้างเสมอมา การศึกษาวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์วิจัยกระบวนการและเทคนิคการก่อสร้างตลอดจนวัสดุต่างๆ ของบ้านพักอาศัยทั่วไป รวมถึงอาคารบ้านมั่นคง ผลการวิจัยพบว่าการประสานแนวความคิดในการออกแบบโดยสัดส่วนของเปลือกอาคารต่อพื้นที่ใช้สอยน้อยที่สุด สามารถก่อสร้างได้รวดเร็วขึ้น ถึงร้อยละ 14 และลดพลังงานได้ถึง 7 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการก่อสร้างแบบเดิม ในพื้นที่ใช้สอยที่เท่ากัน ตัวอย่างบ้านสู่โลกร้อน ที่ออกแบบโดยใช้วัสดุที่มีค่าความเป็นฉนวนสูง (โฟมซีเมนต์บล็อก) เป็นวัสดุประเภทเดียวและมีขั้นตอนการประกอบน้อย พบว่าสามารถลดค่าก่อสร้างได้ถึงร้อยละ 36 กรณีการปรับปรุงอาคารที่ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบเดิมให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้นจะเพิ่มค่าก่อสร้างประมาณร้อยละ 20 ทำให้งบประมาณการก่อสร้างสูงขึ้น ตัวอย่างบ้านสู่โลกร้อน ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 9,837 บาทต่อตารางเมตร ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 30 วัน ส่วนบ้านทั่วไปใช้งบประมาณการก่อสร้าง 15,448 บาทต่อตารางเมตร ใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 90 วัน ดังนั้นการผสมผสานตัวแปรที่มีอิทธิพลสำหรับการออกแบบก่อสร้างบ้างกึ่งสำเร็จรูปน้ำหนักเบาประกอบด้วย 1) พื้นที่เปลือกอาคารต่อพื้นที่ใช้สอยต่ำ ค่าความเป็นฉนวนของวัสดุเปลือกอาคารสูง วัสดุก่อสร้างประเภทเดียวกันทั้งอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีก่อฉาบ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของช่างทุกประเภทในปัจจุบันและการประกอบวัสดุล่วงหน้าก่อนถึงพื้นที่ก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายด้านการออกแบบของบ้านทั่วไปประมาณ 302 บาทต่อตารางเมตรเมื่อเปรียบเทียบกับบ้านสู่โลกร้อนตัวอย่างค่าออกแบบประมาณ 894 บาทต่อตารางเมตร ผลการวิจัยสรุปว่า การเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุบ้างส่วนและลดค่าแรงงานโดยเพิ่มองค์ความรู้และเทคนิคในการออกแบบก่อสร้างสามารถลดการใช้พลังงานในอาคารและก่อสร้างได้รวดเร็ว ดังนั้น การออกแบบและก่อสร้างโดยคำนึงถึงองค์รวมพร้อมกับความเข้าใจทางเทคโนโลยีต่างๆสามารถสร้างอาคารที่มีราคาต่ำกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่า อย่างน้อย 7 เท่า
Other Abstract: Housing construction, today, has many steps and processes including skilled labors, such as carpenter, and materials such as concrete, timber, glass. Home construction is a huge investment and takes a long time to complete the work. The development of light weight home construction is objected to provide solution to solve those problems. Single material was introduced to designers and contractors to be used as structure, insulation, utility duct, etc. Construction processes and techniques were analyzed as well as building materials including government low income house. It is found that ratio of building surface to usable area (S/A) is one key factor. Less S/A means less material use, 7 times less energy consumption compared to conventional house, and 14 % faster in construction. Eco-house, for example, was designed to use single material of foam cement block for wall, structure, and duct pipe. It reduce construction budget 36 %. In the case of renovating the conventional house for energy conservation, it would increase 20 % of construction budget. Eco-house has 9,837 baht per sq.m. with 30 days construction while conventional house has 15,448 baht per sq.m. with 90 days construction. Therefore, the integrated of factors, as S/A, insulated and single material, and prefabricated component, needs to be masonry technique since skilled labor get used to it. Design fee of eco-house is 894 baht per sq.m. while the fee of conventional house is 302 baht per sq.m. By increasing material costs and reducing labor cost as more detail design and appropriate construction technique from designer can reduce energy consumption and construction time. It can be said that holistic design integration approach with understanding energy and construction technology can produce less construction budget and less energy consumption at least 7 times.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20476
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2035
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2035
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongrit_ji.pdf19.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.