Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2059
Title: | ประสิทธิผลของโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ |
Other Titles: | Effectiveness of diabetes management program at Somdejpranangchaosirikit Hospital |
Authors: | พรรณงาม ประสารชัยมนตรี |
Advisors: | ภูรี อนันตโชติ เรวดี ธรรมอุปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Puree.A@Chula.ac.th Rawadee.D@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เบาหวาน--ผู้ป่วย การบริบาลทางเภสัชกรรม |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายสำคัญในการรักษา จะเน้นที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อผลการรักษา เป็นที่น่าสนใจว่าการให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ป่วย จะส่งผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความร่วมมือในการใช้ยา ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร การให้ความรู้ครั้งเดียวกับการให้ความรู้ต่อเนื่องต่างกันหรือไม่ และปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาและระดับน้ำตาลในเลือด ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึงมีนาคม 2547 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 ได้รับความรู้และคำแนะนำแบบต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่ม 2 ได้รับความรู้และคำแนะนำเพียงครั้งเดียวในวันแรก และกลุ่ม 3 เป็นควบคุมที่ไม่ได้รับความรู้และคำแนะนำ ผลการวิจัยพบว่าการให้ความรู้และคำแนะนำ ทำให้ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = -6.53, p<0.01) แต่การให้ความรู้และคำแนะนำแบบต่อเนื่องให้ผลไม่แตกต่าง กับการให้ความรู้และคำแนะนำเพียงครั้งเดียว พบว่าระดับความรู้ของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่การรับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติตน และจำนวนเม็ดของยาเบาหวานที่รับประทานต่อมื้อเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนายว่า ผู้ป่วยจะมีความร่วมมือในการใช้ยาและมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีหรือไม่ โดยที่การรับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติตนและจำนวนเม็ดของยาเบาหวาน ที่รับประทานต่อมื้อสามารถอธิบายความร่วมมือในการใช้ยาได้ 12.3% และพบว่าความร่วมมือในการใช้ยา ใช้ทำนายระดับน้ำตาลสะสมได้อย่างมีนัยสำคัญ (beta = -0.163) การวิจัยนี้สรุปได้ว่าการให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น แต่ระดับความรู้ไม่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การค้นหาอุปสรรคของความร่วมมือในการใช้ยาจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของเภสัชกร ซึ่งการให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรเน้นให้ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะ เพื่อลดอุปสรรคที่ทำให้เกิดความไม่ร่วมมือในการใช้ยาลง สำหรับการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน อาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่มากกว่า |
Other Abstract: | Diabetes Mellitus, one of the major disease found in Thailand, is a chronic disease which cannot be cured. The treatment goal of this disease is to keep blood glucose between 90-130 mg/dL. Medical adherence is a key to success, and the patients' knowledge might influences adherence and clinical outcome. The purpose of this study was to investigate the effects of education intervention on patients' knowledge, medical adherence, health belief and glycemic control. Also it is interesting to know what factors influence medical adherence and glycemic control. Type 2 diabetic patients from diabetic clinic, Somdejpranangchaosirikit hospital were recruited to participate the study. The patients were then classified into three groups; continuous interventions group, single intervention group, and control group. It was found that patients who received health education have significant higher knowledge score than those who did not receive (U= -6.53, p<0.01), however those in continuous interventions group did not better off their counterpart. Perceived barriers and number of oral hypoglycemic agents were found to be main predictors for medical adherence (R-square = 0.123). As expected, medical adherence was a predictor of A1C (beta = -0.163, p=0.05). The result from this study suggested that, it is important for pharmacist to identify patient's barrier to adhere with medical regimen. Health education should be focus on patient's skills to reduce barrier to adhere with medical regimen. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2059 |
ISBN: | 9741750277 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panngam.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.