Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2065
Title: Comparative study of itraconazole-loaded nanoparticles using polyisobutylcyanoacrylate and poly (DL-lactide-co-glycolide) as drug carriers
Other Titles: การศึกษาเปรียบเทียบนาโนพาร์ทิเคิลที่บรรจุไอทราโคนาโซลโดยใช้พอลิไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลตและพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) เป็นตัวพายา
Authors: Mukdavan Prakobvaitayakit
Advisors: Ubonthip Nimmannit
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Ubonthip.N@Chula.ac.th
Subjects: Nanoparticles
Issue Date: 2003
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research was designed to optimize itraconazole-loaded polyisobutyl- cyanoacrylate (PIBCA) nanoparticles and itraconazole-loaded poly (lactide-co-glycolide) (PLGA) using factorial designs and response surface methodology. In this study the stability and cytotoxicity of both nanoparticles were also investigated. A validated statistical model having significant coefficient figures (P < 0.05) for the particle size, particle size distribution, amount of itraconazole entrapped in the nanoparticles, and encapsulation efficiency as function of the polymer or monomer, benzyl benzoate, and itraconazole were developed. Multiple response optimizations by using the overlay contour plot for the responses and the desirability approach allowed the selection of the optimum formulation ingredients for nanoparticles containing itraconazole of 500 microgram/mL. The composition of itraconazole-loaded PLGA nanoparticles contained 10 mg/mL of PLGA, 16.94 microgram/mL of benzyl benzoate and 1001.01 microgram/mL of itraconazole whereas the composition of itraconazole-loaded PIBCA nanoparticles contained 8.09 microlitre/mL of IBCA, 10.19 microgram/mL of benzyl benzoate and 1200.77 microgram/mL of itraconazole. Factorial designs and response surface methodology have been successfully used to construct a statistical model for the particle size, polydispersity index and encapsulation efficiency as a function of the formulation variables. The optimized formula of itraconazole-loaded PIBCA nanoparticles was more stable than the optimized formula of itraconazole-loaded PLGA nanoparticles. On the contrary, the cytotoxicity of plain and itraconazole-loaded PLGA nanoparticles was less prominent than that of plain and itraconazole-loaded PIBCA nanoparticles. The estimated IC[subscript 50] values of PLGA nanoparticles and PIBCA nanoparticles were 79.2 mg/mL and 114 microgram/mL, respectively
Other Abstract: งานวิจัยนี้ได้ถูกออกแบบเพื่อหาความเหมาะสมของนาโนพาร์ทิเคิลที่บรรจุยาไอทราโคนาโซลที่เตรียมจากพอลิไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลต (PIBCA) และพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) (PLGA) โดยใช้ การออกแบบแบบแฟคทอเรียล (factorial design) และ ระเบียบวิธีเรสพอนซ์ เซอรเฟส (response surface methodology) ในงานวิจัยนี้ยังได้ตรวจสอบความคงตัวและความเป็นพิษต่อเซลล์ของนาโนพาร์ทิเคิลทั้งสองชนิดด้วย โมเดลที่ได้ทดสอบถูกต้องทางสถิติที่มีตัวเลขนัยสำคัญ (P<0.05) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยเป็นฟังก์ชั่น ระหว่างขนาดของอนุภาค, การกระจายของขนาดอนุภาค, จำนวนไอทราโคนาโซลที่ถูกจับในนาโนพาร์ทิเคิล และประสิทธิภาพในการหุ้มรอบตัวยากับพอลิเมอร์หรือโมโนเมอร์, เบนซิล เบนโซเอต และ ไอทราโคนาโซล ออพติไมเซชันแบบใช้ตัวตอบสนองหลายตัว (Multiple response optimizations) ทำโดยใช้รูปกราฟคอนทัวร์(contour plots) ของตัวตอบสนองหลายๆตัวมาทับกัน และ วิธีการให้เข้าถึงวัตถุประสงค์ (desirability approach) ทำให้ได้สูตรที่เหมาะสมของนาโนพาร์ทิเคิลที่มีไอทราโคนาโซล 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนประกอบของนาโนพาร์ทิเคิล ที่บรรจุไอทราโคนาโซลที่เตรียมจากพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) ประกอบด้วย PLGA 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร, เบนซิล เบนโซเอต 16.94 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ ไอทราโค-นาโซล 1001.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ นาโนพาร์ทิเคิลที่บรรจุไอทราโคนาโซลที่เตรียมจากพอลิไอ-โซบิวทิลไซยาโนอไครเลต ประกอบด้วย ไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลต 8.09 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร, เบนซิล เบนโซเอต 10.19 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และไอทราโคนาโซล 1200.77 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร การนำการออกแบบแบบแฟคทอเรียลและระเบียบวิธีเรสพอนซ์ เซอรเฟสมาใช้นั้นประสบผลสำเร็จในการสร้างโมเดลทางสถิติของขนาดของอนุภาค, การกระจายของขนาดอนุภาค, จำนวนไอทราโคนาโซลที่ถูกจับในนาโนพาร์ทิเคิล และประสิทธิภาพในการหุ้มรอบตัวยาที่เป็นฟังก์ชั่นของตัวแปรที่ใช้ในสูตรตำรับ สูตรตำรับที่เหมาะสมของนาโนพาร์ทิเคิลที่บรรจุไอทราโคนาโซลที่เตรียมจากพอลิไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลตมีความคงตัวมากกว่านาโนพาร์ทิเคิลที่บรรจุไอทราโคนาโซลที่เตรียมจากพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) ทางกลับกัน ความเป็นพิษต่อเซลล์ของนาโนพาร์ทิเคิลเปล่าที่เตรียมจากพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) และ นาโน-พาร์ทิเคิลที่บรรจุไอทราโคนาโซลที่เตรียมจากพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) มีน้อยกว่านาโนพาร์ทิเคิลเปล่าที่เตรียมจากพอลิไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลต และนาโนพาร์ทิเคิลที่บรรจุไอทราโคนาโซลที่เตรีนมจากพอลิไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลตอย่างเด่นชัด ค่า IC [subscript 50] โดยประมาณของนาโนพาร์ทิเคิลที่เตรียมจากพอลิ (ดีแอล-แลคไทด์-โค-ไกลโคไลด์) และนาโนพาร์ทิเคิลที่เตรียมจากพอลิไอโซบิวทิลไซยาโนอไครเลตเท่ากับ 79.2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 114 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Pharmaceutics
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2065
ISBN: 9741750684
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mukdavan.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.