Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2067
Title: การให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
Other Titles: Educational intervention by pharmacist on adherence to antiretrovial therapy at Vachiraphuket Hospital
Authors: ศุทธินี ตันพงศ์เจริญ
Advisors: พรอนงค์ อร่ามวิทย์
ยุคลธร จิรพงศ์ทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: annablee@hotmail.com
Subjects: โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
สารต้านไวรัส
โรคเอดส์--การรักษาด้วยยา
เภสัชกร
โรคเอดส์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ความรู้ที่มีต่อความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ และผลของการให้ความรู้ที่มีต่อระดับความรู้ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ระหว่างเดือนธันวาคม 2546 ถึงเดือนมีนาคม 2547 จำนวน 50 ราย ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 35.08+-6.72 ปี สัดส่วนเพศชายใกล้เคียงกับเพศหญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ ระดับความรุนแรงของโรคก่อนเริ่มต้นรักษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ C3 และ B3 ค่าซีดีโฟร์เซลล์เฉลี่ย 83.86+-63.69 เซลล์/มคล. ผู้ป่วยร้อยละ 72 มีประวัติเคยเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส โดยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ เชื้อราในช่องปาก, ปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumocystis carinii และวัณโรคปอด ขณะที่เริ่มต้นการวิจัยผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้นจากเริ่มต้น โดยมีค่าซีดีโฟร์เซลล์เฉลี่ย จากการตรวจครั้งหลักสุดเมื่อเริ่มการวิจัย เท่ากับ 318.87+-219.95 เซลล์/มคล. และมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่ยังคงมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ผู้ป่วยทุกคนได้รับ คือ GPO-Vir(R) ซึ่งเป็นยาสูตร HAART ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยยา 3 ชนิด คือ Stavudine (d4T), Lamivudine (3TC) และ Nevirapine ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยเริ่มได้รับยาครั้งแรก จนถึงวันแรกที่เริ่มเก็บข้อมูลเท่ากับ 9.34+-6.64 เดือน นอกจากยาต้านไวรัสเอดส์แล้วผู้ป่วยยังได้รับยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส และยาบำรุงร่วมด้วย โดยผู้ป่วยได้รับยาทั้งสิ้นเฉลี่ย 3.93+-1.68 ขนาน จำนวนเม็ดยาเฉลี่ย 5.34+-1.84 เม็ดต่อวัน และมีความถี่ในการรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่ผู้ป่วยได้รับ คือ Cotrimoxazole และ Fluconazole หลังจากผู้ป่วยได้เข้าโปรแกรมการให้ความรู้ และคำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกรเป็นจำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันเฉลี่ยประมาณ 29 วัน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะโรคและยาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามคะแนนคุณภาพชีวิตทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตในช่วง 3 เดือนไม่แตกต่างกัน สำหรับสัดส่วนของผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังให้ความรู้ครบ 2 ครั้ง (p<0.05) และแม้ในช่วงให้ความรู้ครั้งแรกสัดส่วนของผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือและไม่ให้ความร่วมมือจะไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยก็มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความร่วมมือไปในทางบวก และปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาตามสั่ง คือ คะแนนคุณภาพด้านสุขภาพจิต (OR = 1.1) ...
Other Abstract: A prospective one-group repeated-measures study was conducted in HIV-infected adult patients at Vachiraphuket hospital to evaluate the effect of an educational and counselling intervention on the adherence to antiretroviral therapy, patients' knowledge and quality of life. Fifty patients were enrolled in this study between December 2003 and March 2004. There were estimately equal number of female and male subjects with an average age of 35.08+-6.72 years and most of them have acquired HIV through sexual contact. Before treatment, ninety percent were classified as group C3 and B3 according to US Centers of Disease Control and Prevention (CDC) and the mean baseline CD[subscript 4] cell count was 83.86+-63.69 cells/microlitre. Seventy percent of the subjects had opportunistic infections. The most common one were candidiasis, pneumocystis carinii pneumonia and tuberculosis, resectively. During this study, the mean CD[subscript 4] cell count increased from baseline to 318.87+-219.95 cells/microlitre and only 8% of participants still had opportunistic infections. All subjects received GPO-Vir(R), HARRT regiment, which included stavudine (d4T), lamivudine (3TC) and nevirapine. The average length of treatment was 9.34+-6.64 months. Besides antiretroviral agents, patients also received vitamin and other medications such as cotrimoxazole or fluconazole for preventing opportunistic infections. Most subjects recieved 5.34+-1.84 tablets per day from 3.93+-1.68 drug regimens and the frequency for taking these medications was twice a day. After completing two educational interventions, each intervention was about 29 days apart, the knowledge score regarding the disease and medications tended to increase significantly at the first time (E1) and the second time (E2) of educational intervention compared to the baseline (p<0.05). However, no significant effect on quality of life was observed over three-month period. A statistically significant increase in adherence was observed between baseline-E2 (p<0.05). Even though the increase in adherence between baseline- E1 and E1-E2 was not statistically significant, however, most of subjects changed their adherence to positive aspect. Using multivariate logistic regression analysis, there was a significant correlation of adherence included the mental quality of life score (OR = 1.1) and previous adherence status (OR = 27). The result showed that major reasons for nonadherence were forgetfulness or busy and being away from home. Adherence and clinical outcome were significantly associate (OR = 8.3, p = 0.001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2067
ISBN: 9741750374
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suttineeT.pdf20.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.