Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21258
Title: การเตรียมมอนต์มอริลโลไนต์ชนิดแยกชั้นแผ่นและประยุกต์เป็นนาโนฟิลเลอร์ในเส้นใยพอลิโพรพิลีน
Other Titles: Preparation of delminated montmorillonite and its application as nanofiller in polypropylene fiber
Authors: สาริศ ถนอมชาติ
Advisors: กาวี ศรีกูลกิจ
สรินทร ลิ่มปนาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kawee.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: มอนต์มอริลโลไนต์
นาโนฟิลเลอร์
พอลิโพรพิลีน
มอนต์มอริลโลไนต์
เส้นใยโพลิโพรพิลีน
โพลิโพรพิลีน
สารตัวเติม
Montmorillonite
Polypropylene fibers
Polypropylene
Fillers (Materials)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการเตรียมอนุภาคมอนต์มอริลโลไนต์ชนิดแยกชั้นแผ่น โดยดัดแปรสารโดเดซิลลามีนที่แทรกสอดอยู่ภายในช่องแกลลอรีของออร์กาโนเคลย์ด้วยปฏิกิริยา Mannich เพื่อให้ได้เป็นโดเดซิลฟอสฟอนิกแอซิดซึ่งทำให้เกิดแรงผลักระหว่างชั้นแผ่นเคลย์แล้วแยกออกจากกัน จากการศึกษาโครงสร้างหมู่ฟังก์ชันและสัณฐานวิทยาของมอนต์มอริลโลไนต์ด้วยเทคนิค XRD, FT-IR, SEM และ TEM สามารถยืนยันได้ว่าโดเดซิลฟอสฟอนิกแอซิด ภายในช่องแกลลอรีของเคลย์จะทำให้ระยะห่างระหว่างช่องว่างขยายมากขึ้น ได้เป็นอนุภาคมอนต์มอริลโลไนต์ชนิดแยกชั้นแผ่นที่มีความหนาของชั้นซิลิเกตที่น้อยกว่า 500 นาโนเมตรและมีการเรียงตัวซ้อนกันของชั้นซิลิเกตที่น้อยกว่า 10 ชั้น ทำการเตรียมพอลิโพรพิลีนนาโนคอมพอสิตที่มีปริมาณร้อยละของมอนต์มอริลโลไนต์ชนิดแยกชั้นแผ่นเท่ากับ 2, 4, 6, 8 และ 10 โดยน้ำหนักสารทั้งหมดด้วยกระบวนการอัดรีดแบบหลอมเหลว ทำการขึ้นรูปเส้นใยด้วยกระบวนการปั่นแบบหลอมเหลวจากนั้นศึกษาสมบัติของเส้นใยด้วยเทคนิค XRD, TGA และ DSC พบว่าการเติมอนุภาค มอนต์มอริลโลไนต์ชนิดแยกชั้นแผ่นสามารถเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนและทำหน้าที่เป็นสารก่อผลึกชนิดบีตาให้กับเส้นใยพอลิโพรพิ- ลีนได้ จากการศึกษาสมบัติเชิงกลของเส้นใยพอลิโพรพิลีนนาโนคอมพอสิตโดยการทดสอบสมบัติด้านแรงดึงและค่าอีลาสติกมอดุลัส พบว่าอนุภาคมอนต์มอริลโลไนต์ชนิดแยกชั้นแผ่นสามารถเพิ่มค่าความต้านแรงดึงและค่าอีลาสติกมอดุลัสให้กับเส้นใยพอลิโพรพิลีนได้
Other Abstract: The aim of this research was to prepare delaminated montmorillonite particles via the modification of dodecylamine intercalant inside the clay gallery using Mannich reaction. As a result, dodecylamine was converted into dodecylphosphonic acid, creating repulsive force to achieve exfoliated clay platelets. The clay structure, functional groups and morphology were characterized by XRD, FT-IR, SEM and TEM techniques to confirm the presence of dodecylphosphonic acid inside clay gallery causing the expansion of interlayer spacing. Silicate layers with thickness of less than 500 nm and the stacks containing less than 10 layers were achieved. Then, polypropylene nanocomposites with delaminated montmorillonite contents as 2, 4, 6, 8, and 10 wt% were prepared by melt extrusion. The obtained compound were spun into monofilament fiber using melt spinning process.The properties of spun composite fibers were characterized by XRD, DSC and TGA. The results indicate adding delaminated montmorillonite particles can raise the thermal stability and act as beta form nucleating agent for polypropylene fibers.The mechanical properties of polypropylene nanocomposite fibers were investigated by tensile testing and dynamic modulus testing. From the results, delaminated montmorillonite particle can increase tensile strength and elastic modulus of polypropylene fibers
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21258
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.692
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.692
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarit_th.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.