Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/213
Title: | การกระจายของ คาลบินดิน-ดี 28เค และ พารวาลบูมิน ในเซลล์ประสาท โดยวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมี ในสมองของกระแต (Tupaia glis) : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Distribution of calbindin - D28K and parvalbumin in neurons by immunohistochemistry in brain of the Tupaia glis |
Authors: | วิไล ชินธเนศ บังอร ฉางทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ |
Email: | Vilai.Ch@Chula.ac.th |
Other author: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เซลล์ประสาท Calcium-binding proteins |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้ทำการศึกษาการกระจายของ calcium binding protein ทั้งสองชิดคือ คาลบินดิน - ดี 28 เค และพารวาลบูมิน ในสมองกระแต (Tupaia glis) โดยวิธี peroxidase-antiperoxidase antidoby ที่ใช้ได้แก่ monoclonal antobody ซึ่งมีความเฉพาะกับ คาลบินดิน - ดี 28 เค และพารวาลบูมิน โดยใช้กระแตไม่จำกัด เพศ น้ำหนัก 130-200 กรัม จำนวน 8 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 2 ตัว ได้แก่กลุ่มซึ่งย้อม คาลบินดินดี 28 เค และตัดตามแนวขวาง กลุ่มซึ่งย้อมคาลบินดิน - ดี 28 เค และตัดตามแนวยาว กลุ่มซึ่งย้อมพารวาลบูมิน และตัดตามแนวขวาง และกลุ่มซึ่งย้อมพารวาลบูมิน และตัดตามแนวยาวจากการทดลองพบว่ามี immunoreactivity ของโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ กระจายทั่วไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งสมอง โดยพบในกลุ่มเซลล์ประสาทเกือบทั้งหมด และอยู่ใน perikarya dendrites และ axons ซึ่งโปรตีนสองชนิดนี้ให้ผลบวกในเซลล์ซึ่งต่างชนิดกัน ออกไปและมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งพบในเซลล์เดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในเซลล์ Purkinje ของสมอง สมองเล็ก และเซลล์ประสาทของ trapezoid nucleus เป็นต้น จากการศึกษานี้พบว่า เซลล์ประสาทซึ่งให้ผลบวกต่อ การย้อมคาลบินดิน - ดี 28 เค เด่นชัดได้แก่ เซลล์ประสาทใน thalamus, hypothalamus, limbic system, sensory system, superior olive, olfactory system, trapezoid nucleus, medial geniculate nucleus, visual system, cerebral cortex, cerebellar cortex และใน extrapyramidal system ส่วนเซลล์ประสาทซึ่งให้ผลบวกต่อการย้อม พารวาลบูมิน ได้แก่ เซลล์ประสาทใน pyramidal system, reticular formation, cerebellar nuclei, cerebellar cortex, cerebral cortex, vestibular system, hippocampal formation และ extrapyramidal system โดยโปรตีนสองชนิดนี้พบได้จำกัดเฉพาะในเซลล์ประสาทและในบางบริเวณของ ependymal cells แต่จะไม่พบในพวก glial cells เลย จากการศึกษาพอจะสรุปได้ว่าโปรตีนทั้งสองชนิดนี้มีการกระจายในกลุ่มเซลล์ประสาท ที่แตกต่างกันเป็นส่วนใหญ่ |
Other Abstract: | The cellular distribution of two calcium binding proteins were investigated by peroxidase - antiperoxidase method with the aid of monoclonal antibody specific for calbindin-D28K (CaLB) and parvalbumin (PV) in the brain of the treeshrews, Tipaia glis. Eight adult treeshrews weighing 130-200 gm were divided into 4 groups : CaLB - cross section, CaLB - sagittal section, PV - cross section and PV - sagittal section. The result found that immunoreactive CaLB and PV have a widespread distribution throughout the brain and were present in most of the neuronal cell groups. The immunoreactivity was observed within the perikarya, dendrites and axons. The two proteins are generally expressed in different neurons with some neurons containing both proteins such as Purkinje cell of cerebellum and neurons in neurons in trapezoid nucleus. In this study, CaLB neurons are prominent in thalamus, hypothalamus, limbic system, sensory system, superior olive, olfactory system, trapezoid nucleus, medial geniculate nucleus, visual system. PV neurons are prominent in pyramidal system, reticular formation, cerebellar nuclei, cerebellar cortex, cerebral cortex, vesibular system, hippocampal formation and extrapyramidal system. These two proteins were limited primarily to neuronal element and some ependymal cells, and were absent in glial cells. It can be concludes from this study that these two proteins are distributed almost in differrent neuronal cell groups. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/213 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vilai(di).pdf | 25.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.