Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21316
Title: การใช้สื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2542-2553
Other Titles: Media use in anti-corruption campaign of office of the national anti-corruption commission during the year 1999-2010
Authors: พิชิต ธิอิ่น
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Phnom.K@Chula.ac.th
Subjects: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ -- การประชาสัมพันธ์
แผ่นโฆษณา
การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- แผ่นโฆษณา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการใช้สื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตของ สำนักงาน ป.ป.ช. และเพื่อศึกษาความสอดคล้องของสื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. กับนโยบายด้านการป้องกันการทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยใช้การวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตที่ผลิตและเผยแพร่โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2553 และสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญชำนาญการในวิชาชีพการผลิตสื่อ จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการสื่อสารณรงค์ต่อต้านการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. แบ่งได้ 4 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ 1 (2) ช่วงการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ 2 (3) ช่วงไม่มีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในตำแหน่ง (4) ช่วงการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ 3 ในด้านรูปแบบการบริหารการสื่อสารรณรงค์ต่อต้านการทุจริตพบว่า มีคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้กำหนดนโยบาย มีคณะอนุกรรมการเป็นคณะที่ปรึกษาและกรั่นกรองงาน และมีสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นฝ่ายปฏิบัติการ สำหรับแนวทางการสื่อสารรณรงค์ต่อต้านการทุจริตพบว่า เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมทุกภารกิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. นอกจากนี้พบว่า สถานภาพการใช้สื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตที่ปรากฎ มีแนวทางการสื่อสารหลัก 9 แนวทาง ได้แก่ (1) มือสะอาด ชาติไม่ล่ม (2) ตรงเวลา รักษาวินัย ต้านภัยคอร์รัปชัน (3) รวมพลังไทยทั้งชาติ ประกาศล้างคอร์รัปชัน (4) ล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน (5) คอร์รัปชันกัดกินอนาคต เราไม่ขอมีส่วนร่วม (6) ยอมไหม ถ้าใครจะโกง (7) ช่อสะอาด (8) เป็นหู เป็นตา (9) คุณธรรม นำธุรกิจ การใช้สื่อตามแนวทางการสื่อสารหลักดังกล่าวพบว่า มีการกำหนดเป้าหมายเชิงโครงสร้าง มุ่งวัตถุประสงค์ในการปรับทัศนคติค่านิยมและจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายกว้าง ปรากฎแก่นหลักที่หลากหลาย มีการใช้ถ้อยคำที่สละสลวย ความหมายลึกซึ้ง เน้นการใช้จุดจูงใจเชิงอารมณ์ อีกทั้งใช้ช่องทาง การสื่อสารที่หลากหลาย โดยมีการใช้สื่อกิจกรรมมากกว่าสื่อมวลชน และยังพบว่ามีการใช้การวิจัยในขั้นตอนก่อนการดำเนินงาน สำหรับผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของสื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตกับนโยบายด้านการป้องกันการทุจริตมีความสอดคล้องกัน
Other Abstract: The objectives of this qualitative research are : to describe media use in anti-corruption campaign of Office of National Anti-Corruption Commission (Office of NACC) and to compare anti-corruption media campaign of Office of NACC with anti-corruption policy of National Anti-Corruption Commission (NACC). Research methodology are documentary analysis of anti-corruption medias during the year 1999-2010, also in-depth interview with group of policy maker, NACC officer, academician and media profession. The result indicates that anti-corruption media campaign administration is categorized into 4 periods (1) The fist commission period (2) The second commission period (3) The period that is non-commission (4) The third commission period. The campaign media is administrated by NACC as policy maker, sub-commission as consultancy board and office of NACC as operation unit. The campaign focuses on 9 key messages such as (1) Integrity Action and Mind (2) Punctuality and Integrity for Anti-corruption (3) Empower Thais for Anti-corruption (4) Clean Corruption; Deserves of His Majesty the King (5) Corruption Eats Away Your Future One Piece at a Time. Don't be a Part of It (6) No Accept All Kind of Corruption (7) Integrity Bouquet (8) Be Nation Protector (9) Good Governance. The campaign goal aims at attitude and value change, leads to anti-corruption behavior. The campaign consists of various theme, rhetorical key message and connotation, emotional appeal. The various media is use in the campaign, focusing on special event and mass media respectively. In addition, the research is use in pre-production stage. Comparing of anti-corruption media campaign with anti-corruption policy shows that media campaign is conducted in accordance with the policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21316
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.400
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.400
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pichit_th.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.