Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21326
Title: การใช้การวิจัยแบบผสมเพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความเชื่อมั่นและพฤติกรรมการสอนของครูที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
Other Titles: Utilizing mixed-method research to explain the causal relationship between teacher’s confidences and teaching behaviors on students’ learning behaviors
Authors: สโรชา หะรังศรี
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอน
ครู
พฤติกรรมการเรียน
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความเชื่อมั่น พฤติกรรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในระดับประถมศึกษา (2) เปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่น และพฤติกรรมการสอนของครูในระดับประถมศึกษาตามภูมิหลังของครู และ (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความเชื่อมั่น และพฤติกรรมครูที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยแบ่งเป็น สองระยะ ระยะแรกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันในโรงเรียนจากกรณีศึกษาครูคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ระยะที่สองใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 388 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบทีแบบเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยมีดังนี้ (1)ครูมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความรู้ในสาระคณิตศาสตร์ เทคนิคการสอน การออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอน และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่สนองธรรมชาติของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการสอนด้านการเรียนรู้ สร้างความพร้อม และวางแผน ด้านการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิดและลงมือกระทำ ด้านความพยายามในการใช้สื่อการเรียนการสอน ด้านการประเมินตามสภาพจริง ด้านการจูงและการเสริมแรงทางการเรียนและด้านการบูรณาการความรู้และคุณธรรมอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ความใส่ใจขณะเรียน ความรับผิดชอบ และการใช้เวลาว่าง ในระดับมาก (2)ครูที่มีประสบการณ์การสอนไม่เกิน 20 ปี และมากกว่า 20 ปีมีความเชื่อมั่นและมีพฤติกรรการสอนที่ไม่แตกต่างกัน ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความเชื่อมั่นในเรื่องความรู้ในสาระคณิตศาสตร์ สูงกว่าครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 (3)ความเชื่อมั่นของครูส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการสอนของตนเองและส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยจะส่งผ่านพฤติกรรมการสอนของครู ดังนั้นความเชื่อมั่นและพฤติกรรมการสอนของครูเป็นเหตุสำคัญของพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โมเดลเชิงสาเหตุดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 51.382, df = 37, p. = 0.0583, RMSEA = 0.035, GFI = 0.978, AGFI = 0.938, RMR = 0.570) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของพฤติกรรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ร้อยละ 48.1 และร้อยละ 46.6 ตามลำดับ
Other Abstract: The objectives of this study were to (1) analyze the level of teachers’ confidences, their teaching behaviors and students’ learning behaviors in primary schools, (2) compare the level of teachers’ confidences and their teaching behaviors in primary schools in conjunction with their backgrounds and (3) analyze the causal relationship of the teachers’ confidences and their behaviors towards the students’ learning behaviors in primary schools. A mixed-method was used in this study and was divided into two phases. Qualitative research was used in the first phase. The data was collected by interviewing and observing the teachers’ everyday life in their schools. Quantitative research was used in the second phase. The subjects were 388 mathematics teachers in primary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. The observation sheets, interview questions and questionnaires. The research data were analyzed by employing descriptive statistics, t-test (independent), one-way ANOVA, Pearson correlation and LISREL Model analysis. It was found that: (1) The teachers’ confidences in their mathematics knowledge, teaching techniques, teaching planning and ability to teach in line with the students’ needs were at high level. Their behaviors concerning learning, preparing students and planning; encouraging students to think and do the activities; using teaching media; authentic assessment of students; motivating and reinforcing learning and integrating knowledge and moral were as a high level. The students also prepared themselves well before studying, paid attention to the class, were responsible and spent their spare time usefully. All of these were at a high level. (2) The level of confidences of the teachers who had been teaching less than 20 years and those who had been teaching more than 20 years was not different and neither were their teaching behaviors. The teachers who taught grades 4 – 6 had more confidence in their knowledge about mathematics than those who taught grades 1 – 3. (3) The teachers’ confidences had direct effect on their teaching behaviors and had indirect effect on their students’ learning behaviors. It can be said that the teachers’ confidence and teaching behavior leads to the students’ learning behavior. The causal relationship model fitted the empirical data. (X2 = 51.382, df = 37, p. = 0.0583, RMSEA = 0.035, GFI = 0.978, AGFI = 0.938, RMR = 0.570) The variables in the model can explain the correlation of the teachers’ teaching behaviors and the students’ learning behaviors by 48.1% and 46.6% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21326
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2001
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2001
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarocha_ha.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.