Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21500
Title: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของสตรีในวัยเจริญพันธุ์ ณ หมู่บ้านซอยเสนานิคม 2 บางเขน
Other Titles: Knowledge attitudes and practice toward family planning among the women in senanikom Soi2, Bangkhen
Authors: เพ็ญศรี ปิยะรัตน์
Advisors: ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สตรี
การวางแผนครอบครัว
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อต้องการจะทราบว่าสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ในหมู่บ้านซอยเสนานิคม 2 มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวอย่างไร และอีกประการหนึ่งเพื่อต้องการทราบว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสถานภาพทางสังคม สถานภาพทางเศรษฐกิจ และสถานภาพทางประชากรและการเจริญพันธุ์จะมีผลทำให้เกิดความแตกต่างในด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวหรือไม่ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาโดยการสัมภาษณ์สตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ คือระหว่างอายุ 15-44 ปี และยังอยู่กับสามี โดยทำการสัมภาษณ์ครัวเรือนที่เลือกมาเป็นตัวอย่าง 215 ครัวเรือน หรือเท่ากับ 34 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด วิธีการคัดเลือกได้ใช้วิธีเลือกแบบธรรมดา ( Simple Random Sampling with Replacement ) ถ้าครอบครัวใดไม่มีสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หรืไม่ได้อยู่กับสามี ก็จะเลือกครอบครัวใหม่มาแทนด้วยวิธีการแบบเดียวกัน การศึกษานี้ได้ทดสอบสมมติฐาน 11 ข้อ ( 5 ข้อเกี่ยวกับสถานภาพทางสังคม 3 ข้อเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจ และ 3 ข้อเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรและการเจริญพันธุ์ ) ผลการศึกษาปรากฏว่า ปัจจัยทางด้านสังคมที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวก็คือ การศึกษาของสตรี สตรีที่มีการศึกษาสูงกว่า ป.4 หรือต่ำกว่า และสตรีที่มีการศึกษาสูงนี้ถ้าได้อ่านหนังสือพิมพ์ด้วยแล้วก็จะทำให้มีอัตราส่วนของความรู้ ทัศนคติและการใช้วิธีคุมกำเนิดสูงขึ้นอีกด้วย สำหรับการไปรับบริการที่ศูนย์นั้นพบว่า สตรีที่ไปรับบริการที่ศูนย์สาธารณสุข จะมีความรู้เห็นด้วย และใช้วิธีคุมกำเนิดสุงกว่าสตรีที่ไม่ได้รับบริการ นอกจากนี้การไปดูภาพยนตร์เสมอก็จะทำให้มีความรู้ และเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวสูงกว่าสตรีที่ไม่ได้ดูภาพยนตร์ ส่วนการใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นพบว่า สตรีที่ไม่ได้ดูภาพยนตร์จะใช้วิธีคุมกำเนิดมากกว่าสตรีที่ดูภาพยนตร์ สำหรับการย้ายถิ่นนั้นพบว่าสตรีที่ย้ายถิ่นมานานจะทำให้มีความรู้ และใช้วิธีคุมกำเนิดมากกว่าสตรีที่ย้ายมาในระยะเวลาอันสั้น แต่ทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวนั้นพบว่า สตรีที่ย้ายมาเป็นเวลา 5-10 ปี จะเป็นกลุ่มที่เห็นด้วยมากที่สุด ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว ก็คือ การประกอบอาชีพของสตรีพบว่า สตรีที่ทำงานบ้านมีความรู้เห็นด้วยและใช้วิธีคุมกำเนิดสูงกว่าสตรีที่ทำงานนอกบ้าน สำหรับรายได้ของครอบครัวนั้นก็ได้พบว่า ครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่า จะมีความรู้และใช้วิธีคุมกำเนิดสูงกว่าครอบครัวซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า แต่ทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวนั้นจะสูงในกลุ่มสตรีที่มีรายได้ปานกลาง สำหรับรายได้ของสตรีนั้นพบว่า สตรีที่ไม่มีรายได้เลย จะใช้วิธีคุมกำเนิดมากที่สุด ส่วนสตรีที่มีรายได้ต่ำกว่า 600 บาท และสตรีที่มีรายได้ 600 บาท หรือมากกว่า จะมีความรู้เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวมากที่สุดตามลำดับ ปัจจัยทางด้านประชากรและการเจริญพันธุ์ที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวก็คือ อายุของสตรี พบว่าสตรีที่อยู่ในวัยกลางคน (25-34 ปี ) จะมีความรู้เห็นด้วย และใช้วิธีคุมกำเนิดมากกว่าสตรีที่มีอายุสูงหรืออายุน้อยกว่า นอกจากนี้จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง ซึ่งพบว่าสตรีที่มีบุตร 1-3 คน เป็นกลุ่มที่มีความรู้และเห็นด้วยมากกว่าสตรีที่มีบุตรน้อยกว่าหรือมากกว่า 3 คน ส่วนการใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นพบว่า สตรีที่มีบุตรตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปจะมีอัตราการใช้สูงสุดสำหรับทัศนคติต่อจำนวนบุตรที่ควรมีนั้นพบว่า สตรีที่มีความรู้ในวิธีคุมกำเนิดเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวและใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าควรมีบุตร 3 คน ส่วนสตรีที่ไม่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวให้ความเห็นว่าควรมีบุตร 4 คนหรือมากกว่า จึงพอกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับสถานภาพทางสังคม ปัจจัยที่เกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านประชากรและการเจริญพันธุ์ต่างมีอิทธิพลต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว แต่ในบรรดาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ปัจจัยที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุโดยจำเพาะจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว.
Other Abstract: This study aims at finding (1) the knowledge, attitudes and practice concerning family planning of the women during child bearing age and living at Soi Senanikom No.2, (2) whether certain sociological, economic and demographic as well as fertility factors affect their knowledge, attitudes and practice concerning family planning. The data used in this study were obtained through interviews with women who were 15 to 44 years old and were still living with their husbands. The sample consisted of 215 families which constituted 34 percent of the total family population at this soi. The families sampled were selected by simple random (with replacement). If a family sampled had no eligible women or the women was not living with her husband, another family was chosen from the population as a substitute by the same method. Eleven hypotheses (5 concerning sociological, 3 concerning economic, and 3 concerning demographic and fertility variables) were formulated. and tested. This study yields some interesting findings as follows:- (1) With regard to the relationships between sociological factors on the one hand and knowledge in, attitudes toward, and practice of family planning on the other education, reading newspapers, receiving public health services at the public health center, and attending movies seem to affect the women’s knowledge in, attitudes toward and practice of family planning. In particular, women whose educational levels exceeded Grade 4 had more knowledge, more favorable attitudes toward family planning practiced family planning more often than women with lower levels of education. Among those whose educational levels exceeded Grade 4, the ones who read newspapers had more knowledge, more favorable attitudes and practiced family planning more often than the others who did not read newspapers. Moreover, those who attended the public health center for public health services had more knowledge, more favorable attitudes and practiced family planning more often than those who did not. Further, those who attended movies also had more knowledge and more favorable attitudes toward family planning than those who did not. However, the practice of family planning was found more often among those who did not attend movies than among those who did. Finally, those who had moved to Bangkok for a longer time had more knowledge, more favorable attitudes and practiced family planning more often than those who had moved to Bangkok for a shorter time. But those who moved to Bangkok 5 to 10 years had the most favorable attitudes toward family planning. (2) With regard to the relationships between economic factors and knowledge, attitudes and practice of family planning, women who worked at home seemed to have more knowledge, more favorable attitudes and to practice family planning more often than those who worked outside. Also, the families with higher income had more knowledge and practiced family planning more often than those with lower income, but the ones with medium income had the most favorable attitudes toward family planning. Finally, the women with no personal income practiced family planning most, but the ones with personal income less than 600 baht and the ones with personal income of 600 bath or more had most knowledge and most favorable attitudes toward family planning respectively.(3) With regard to the relationships between demographic and fertility factors on the one hand and knowledge, attitudes and practice of family planning on the other, age and number of off springs seemed to be most significant. The women of medium age (25-34 years) had more knowledge, more favorable attitudes and practiced family planning more often than those who were older or younger. Also, the ones with 1-3 living off springs had more knowledge and more favorable attitudes toward family planning than those who had more or fewer off springs, but the practice of family planning was found most often among these with more than four off springs. Further, the majority of those who had knowledge, favorable attitudes and practiced family planning preferred having 1-3 off springs, while those who did not have favorable attitudes toward family planning prefered having four or more off springs. Therefore, it may be concluded that some sociological, economic, demographic as well as fertility factors seem to significantly affect the women’s knowledge, attitude and practice of family planning. But of all these factors the number of living off springs is the most important one that has affected the knowledge, attitudes and practice of family planning positively.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21500
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pensri_Pi_front.pdf545.78 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch1.pdf878.05 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch2.pdf595.5 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch3.pdf748.24 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch4.pdf341.03 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch5.pdf986.42 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch6.pdf665.11 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch7.pdf655.45 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_ch8.pdf684.01 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Pi_back.pdf909.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.