Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2150
Title: การศึกษาสารคาร์โบไฮเดรตจากเปลือกทุเรียนในการเตรียมผลิตภัณฑ์ยาน้ำและผลิตภัณฑ์อาหาร
Other Titles: Carbohydrate substance from durian rind for pharmaceutical liquid preparations and food products
Pharmaceutical liquid preparations and food products
The studies of carbohydrate substance from durian rind for pharmaceutical liquid preparations and food products
Authors: สุนันท์ พงษ์สามารถ
เรวดี ธรรมอุปกรณ์
ธิติรัตน์ ปานม่วง
Email: Sunanta.Po@Chula.ac.th
Thitirat.P@Chula.ac.th
Rawadee.d@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาชีวเคมี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเภสัชกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเคมีเทคนิค
Subjects: เยลลี่
ทุเรียน--เปลือก
เปลือกผลไม้--วิเคราะห์และเคมี
คาร์โบไฮเดรต
ยาน้ำ
แยม
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารสกัดคาร์โบไฮเดรตจากเปลือกทุเรียน (Durio zibethinus Linn.) สกัดได้เป็น crude fraction (F I) โดยการตกตะกอน aqueous extract ของเปลือกทุเรียนสดด้วย 60% alcohol ส่วน purified fraction (F II) เป็นการทำให้บริสุทธิ์ โดยการตกตะกอนซ้ำด้วย alcohol ของ crude extract ที่ได้จากการตกตะกอน acid-alcohol ของ aqueous extract จากเปลือกทุเรียนสด สามารถสกัดได้ 2.18% F I และ 1.03% F II ตามลำดับ สารสกัดเปลือกทุเรียนมีลักษณะเป็นของแข็ง เป็นผงมีรูปร่างไม่แน่นอน พบทั้งลักษณะกลมและคล้ายไฟเบอร์ จากการดูด้วยกล้อง Scanning electron microscope F I มีสีน้ำตาลอ่อน ส่วน F II เป็นผงสีขาวนวล สารที่สกัดได้มีกลิ่นเฉพาะ มีรสเปรี้ยวอมขม F II ที่เตรียมโดยวิธี Spray Dried จะได้ผงสีขาว ไม่มีรสขม มีลักษณะคล้ายฟองอากาศกลมกลวง เมื่อดูด้วยกล้อง Scanning electron microscope ผงของสารสกัดเปลือกทุเรียนจะพองตัวได้ในน้ำให้เป็นของเหลวข้นหนืดมี pH เป็นกรดที่ 5.8+-0.3 ใน F I และที่ 3.8+-0.2 ใน F IIตามลำดับ สารละลาย 3% ของ F I และ F II มีความหนืด 130.6 cps และ 207.6 cps ตามลำดับ จากการวัดด้วยเครื่อง Cone/Plate Viscometer ใช้ Cone # CP.41 ที่ rate of shear 50 rpm. ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส สารละลายของ F I ไม่ใสมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วน F II จะเป็นของเหลวใสไม่มีสี ส่วนประกอบทางเคมีของสารสกัดเปลือกทุเรียนเป็นคาร์โบไฮเดรต การวิเคราะห์ธาตุพบมีคาร์บอน 19.33% ไฮโดรเจน 2.72% ใน F I และมีคาร์บอน 22.89% ไฮโดรเจน 3.24% ใน F II ตามลำดับ ไม่พบมีไนโตรเจนเลย การวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของสารสกัดเปลือกทุเรียน แสดงคุณสมบัติเป็นสารคาร์โบไฮเดรตกับ Molisch's test และ Anthrone's test แสดงปฏิกิริยาของสาร glycuronate กับ Tollen's napthoresorcinol แสดงปฏิกิริยาการเกิดเจลของสาร polyuronide กับสารละลายโลหะหนักและแอลกอฮอล์ แสดงปฏิกิริยาของสาร polysaccharide เกิดสีม่วงแดงกับน้ำยาไอโอดีนไม่พบการเกิดปฏิกิริยา reducing sugar กับ Fehling's test ของสารสกัดเปลือกทุเรียน แต่จะพบได้ในสารละลายที่ได้หลังจากทำ acid-hydrolysis ของ F I หรือ F II เท่านั้นซึ่งจะสูญเสียปฏิกิริยาการเกิดสีกับไอโอดีนแล้วสายยาวของ polysaccharide ของสารสกัดเปลือกทุเรียนจะถูกย่อยได้โดย amylase ของน้ำลายเป็นโมเลกุลสั้นลงจนไม่เกิดสีกับไอโอดีน อย่างไรก็ดีการย่อยด้วยเอ็นไซม์ amylase เกิดได้ไม่สมบูรณ์จนเป็นน้ำตาลโมเลกุลอิสระ หรือเกิดปฏิกิริยาของ reducing sugar ส่วนประกอบของน้ำตาลใน polysaccharide ของสารสกัดเปลือกทุเรียนได้ตรวจหาด้วยเครื่อง HPLC พบว่า F I ประกอบด้วย สาร monosaccharide 4 ชนิด ซึ่งตรงกับน้ำตาลมาตรฐาน rhamnose, arabinose, fructose และ glucose ในอัตราส่วน 2:2:1:18 ส่วน F II ประกอบด้วยสาร monosaccharide 3 ชนิดที่ตรงกับน้ำตาลมาตรฐาน rhamnose, arabinose, และ glucose ในอัตราส่วน 1:1:3 การวิเคราะห์แร่ธาตุในสารสกัดเปลือกทุเรียนพบมีปริมาณของโปเทสเซียม 5.64% ใน F I และ 2.21% ใน F II มีแคลเซียม 0.70% ใน F I และ 1.02% ใน F II พบมีโซเดียมและแมกนีเซียม 4.21% และ 0.29% ใน F I และมี 1.38% และ 0.80% ใน F II ตามลำดับ แร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส ซิลิกอน สังกะสี และทองแดงพบในปริมาณต่ำ ตะกั่วมีน้อยกว่า 0.08 ppm ไม่พบมีสารหนู (arsenic) อยู่เลย ได้ศึกษาการใช้สารสกัดเปลือกทุเรียนในยาน้ำแขวนตะกอนและอิมัลชัน พบว่าสารสกัดเปลือกทุเรียนใช้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจในตำรับยาน้ำแขวนตะกอนเปรียบเทียบกับตำรับมาตรฐานที่ทดลองได้แก่ Kaolin Mixture with Pectin NF XIII, Barium Sulfate Suspension และ Trisulfa Suspension การใช้สารสกัดเปลือกทุเรียนในตำรับ Calamine Lotion เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับมาตรฐาน BP 1988, USP XXII จะไม่เหมาะสม เมื่อตั้งทิ้งไว้ตัวยาจับเป็นก้อนไม่กระจายตัวสารสกัด F II พบว่าใช้ประโยชน์ได้ดีเป็นสารทำอิมัลชันเสริมในตำรับยาน้ำอิมัลชันที่ทดลอง ได้แก่ Liquid Paraffin Emulsion BP 1988. Mineral Oil Emulsion USP XXII และ Cod Liver Oil Emulsion ได้ตำรับยาที่มีเนื้อยาขาวขึ้นและมีความคงตัวดีขึ้น สารสกัดเปลือกทุเรียน F II ใช้ได้ผลดีในการเตรียมอาหารพวกแยมและเยลลี่ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อนุ่มใสเป็นประกายและไหวตัวดี สามารถใช้ F II น้อยกว่าเพคติน 3 เท่าในตำรับแยมและเยลลี่ F II ยังใช้ได้ผลที่น่าพอใจช่วยให้มีเนื้อข้นขึ้นในการช่วยเตรียมตำรับน้ำสลัดและมายองเนส
Other Abstract: Carbohydrate extracts from Durian (Durio zibethinus Linn.) rind were isolated. Crude fraction (F I) was precipitated in 60% alcohol of aqueous extract from fresh Durian rind (mesocarp). Purified fraction (F II) was purified by alcohol re-precipitation of equeous crude extract from acid-alcohol precipitation of aqueous extract from fresh Durian rind. The yield of 2.18% F I and 1.03% F II were obtained, respectively. Durian rind extracts were solid, amorphous powder, round and fiber-like shape were seen under scanning electron microsops. F I were light-brown in color, F II was creamy-white powder. The extracts had specific odor, sour and bitter taste. F II prepared by spray dried method was white fine powder, no-bitter taste, bubble-like shape was seen under scanning electron microscope. Powder of the extracts swelled in water giving viscous liquid with acid pH, at 5.8+-0.3 for F I and at 2.8+-0.2 for F II, respectively. Three percent solution of F I and F II appeared viscosity of 130.6 cps and 207.6 cps, respectively; measured by Cone/Plate Viscometer, Cone # CP-41, rate of shear 50 rpm. at 30 C. The solution of F I was not clear, pale-brown liquid, F II was clear, colorless liquid. Chemical composition of Durian rind extract was carbohydrate. Elemental analysis revealed 19.33% carbon (C), 2.72% hydrogen (H) in F I and 22.89% C, 3.24% H in F II, respectively. Nitrogen (N) was not existed in the extracts. Chemical analysis of Durian rind extracts showed carbohydrate reaction with Molisch's test and Anthrone test, glycuronate reaction with Tollen's naphthoresorcinol, gel formation of polyuronide reaction with heavy metal solution and alcohol, purple-red color of polysaccharide reaction with iodine solution. No reducing sugar test of the extracts with Fehling's test was observed. However, this test was observed in the solution from acid-hydrolysis of F I or F II which was already lost their color test with iodine. Long chain polysaccharide of the extracts was hydrolysed by saliva amylase to become short chain molecule that gave no color with iodine. However, digestion with enzyme amylase was not complete to give monosaccharide or reducing sugar test. Sugar components in polysaccharide of Durian rind extracts were identified by HPLC technique. F I composed of 4 monosaccharides identical to standard rhamnose, arabinose, fructose and glucose in 2:2:1:18 ratio. F II composed of 3 monosaccharides indentical to standard rhamnose, arabinose and glucose in 1:1:3 ratio. Mineral analysis of Durian rind extracts revealed high contants of potassium 5.6% in F I and 2.21% in F I, calcium 0.70% in F I and 1.02% in F II. Sodium and magnesium were found 4.21% and 0.29% in F I, 1.38% and 0.80% in F II, respectively. Other elements such as aluminum, iron, manganese, silicon, zinc and copper were also found in low concentration. Lead was found less than 0.08 ppm. Arsenic was not observed. Uses of Durian rind extracts in suspension and emulsion were studies. Durian rind extracts was satisfactorily used in suspension in comparision to standard preparation such as Kaolin Mixture with Pection NF XIII, Barium Sulfate Suspension and Trisulfa suspension. Calamine Lotion was not suitable to used Durian rind extracts as suspending agent in comparision to standard preparation in BP 1988 and USP XXII. Caking occurred during storage. F II appeared to be useful auxiliary emulsifying agent in emulsion such as Liquid Paraffin Emulsion BP 1988., Mineral Oil Emulsion USP XXII and Cod Liver Oil Emulsion. Better white texture and stability received. Durian rind extracts fraction F II, exhibited good results in food preparation such as jam and jelly, giving products texture soft, clear, and quivering on shaking. F II was used three times less than pection for jam and jelly. F II was used satisfactorily, giving body of products texture, in preparation of salad dressing and mayonnaise.
Description: ยาน้ำแขวนตะกอน -- ยาน้ำอิมัลชัน -- การประเมินผลของตำรับอิมัลชัน -- การทดสอบคุณภาพของแยมและเยลลี่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2150
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SunantaCar.pdf55.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.