Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2158
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ในการนำการรักษาโรคเอดส์ ด้วยยาต้านเชื้อไวรัสเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
Other Titles: The study on cost-benefit analysis of including triple antiretroviral therapy into the core benefit package of the university health coverage in Thailand
Authors: วิทยา กุลสมบูรณ์
สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล
วสันต์ ภิญโญวิวัฒน์
อุษาวดี มาลีวงศ์
Email: Vithaya.k@Chula.ac.th
tssthitp@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม
โรงพยาบาลบำราศนราดูร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: โรคเอดส์--การรักษาด้วยยา--ต้นทุนและประสิทธิผล
สารต้านไวรัส
ประกันสุขภาพ--ไทย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ในการนำการรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเข้าสู่สิทธิปะโยชน์ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนและผลได้ของการรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสและประเมินความเป็นไปได้ในการนำการรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเข้าสู่การประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลบำราศนราดูรด้วยแบบจำลองด้านต้นทุนและผลได้ที่กำหนดขึ้นแล้วนำมาทำการประมาณภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ในแต่ละปี และจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ที่ใช้ยาและไม่ใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ของโรงพยาบาลบำราศนราดูรมีต้นทุนในการรักษารวมต่อปีต่อคนเท่ากับ 87,168 และ 11,115 บาทตามลำดับ (ราคา ณ ปี 2545) การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ 9,143.04 บาท/คน/ปี ในการศึกษานี้ได้ประมาณการอัตราส่วนผลได้/ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเทียบกับการไม่ใช้ยาต้านไวรัสในกรณีที่ใช้ยา GPO-vir พบว่ามีอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนส่วนเพิ่มอยู่ในระหว่าง 2.68-2.94 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงภาระค่าใช้จ่ายในการให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ครอบคลุมถ้วนหน้า จะมีค่าใช้จ่ายในระยะยามระหว่าง 4,000 ถึง 11,000 ล้านบาทต่อปี โดยเมื่อคิดเป็นภาระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่หักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอยู่แล้วจากกรณีที่ไม่ใช้ยา จะมีค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มระหว่าง 1,400 ถึง 8,500 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ก็ขึ้นกับแนวทางการดำเนินงานว่าจะเป็นแบบใด และขึ้นอยู่กับตัวแปรที่สำคัญคือ (1) ประสิทธิภาพของยาสูตร GPO-vir ขององค์การเภสัชกรรมในเรื่องการแพ้ยาและดื้อยา (2) ต้นทุนราคายาในสูตรอื่น ๆ ที่ยังมีสิทธิบัตรอยู่ว่าสามารถลดราคาลงได้มากน้อยเพียงใด (3) จำนวนผู้ป่วยเอดส์รายใหม่จะควบคุมได้มากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นทางเลือกใดจะต้องมีข้อกำหนดมาตรฐานการให้บริการที่จะต้องมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังนี้คือ (1) มีระบบการให้คำปรึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด ที่สามารถให้ผู้ป่วยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง (2) มีเครือข่ายผู้ติดเชื้อร่วมในกระบวนการให้คำปรึกษาและติดตามผู้ป่วยและ (3) มีการเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในทุกระดับ การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรให้ความครอบคลุมในทุก ๆ โรค ตามกำลังความสามารถของประเทศ ซึ่งสามารถทำได้หากมีการจัดการที่ดี เพราะสุขภาพของประชาชนเกี่ยวข้องทั้งในเรื่องของมนุษยธรรมและความมั่งคั่งของประเทศ
Other Abstract: The objective of this study was to obtain the cost-benefit data of triple antiretroviral therapy (ARV) and suggest policy options of government subsidization of ARV for all aids patients in the universal health coverage program (UC) in Thailand. Cost-benefit analysis model was employed using treatment cost and outcome data from Bumrasnaradoon Hospital, Thailand. Additionally, a sample of local health to calculate the consecutive annual budget in adding the ARV into Core benefit package. The results indicated that the average annual treatment cost of individual patient in the ARV groups was 87,168 baht (2,075 $ US) and the cost in the non-ARV group was 11,115 baht (264 $ US) (price in 2003). In Using the ARV, the decreasing cost from opportunistic infection was 9,143.04 baht per patient per year. Cost-benefit analysis of the selected three options was conducted and compared. Each option was calculated using drug cost data from different sources including Bumrasnaradoon Hospital, GPO-vir from governmental production organization (GPO), and the Access to Care Project (ATC). The results indicated that cost-benefit ratio of GPO-vir option was 2.68-2.94 which was the most efficient option. The estimated long term annual cost for ARV treatment full of coverage ranged 4,000 - 11,000 million baht per year. After adjustment using the incremental cost from non-ARV treatment, the cost ranged 1,400-8,500 million baht per year. The calculations might vary based on theses circumstances including (1) the effectiveness of GPO-vir in terms of adverse drug reaction and drug resistance, (2) the reduction of ARV price based on the drug patent status, and (3) the decreasing number of the new HIV case based on the prevention program. To obtain the successful outcome of the ARV provision, it was required that (1) the health service institutions should establish standard counseling system emphasizing on patient's self-decision to have the ARV treatment, (2) the networks of patient living with AIDS (PLWA) should be recognized and participated in the counseling and monitoring process, and (3) the health service officers should have adequate training for their readiness to provide ARV. The study suggested that ARV should included for the UC program based on the study results and the purpose of the program in Thailand.
Description: ยาต้านไวรัส : ประสิทธิภาพและการเข้าถึงยา -- ต้นทุนการรักษาด้วยการใช้และไม่ใช้ยาต้านไวรัส : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบำราศนราดูร -- คุณภาพชีวิตการรักษาด้วยการใช้และไม่ใช้ยาต้านไวรัส : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบำราศนราดูร -- ต้นทุนผลได้ของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ -- ความพร้อมในการเข้าสู่การประกันสุขภาพถ้วนหน้า -- ทางเลือกการสนับสนุนยาต้านไวรัสเอดส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2158
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Withaya.pdf15.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.