Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21788
Title: ผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
Other Titles: The effect of a mindfulness meditation program on knee pain among older persons with knee osteoarthritis
Authors: ปุณยนุช คงเสน่ห์
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jiraporn.Ke@Chula.ac.th
Subjects: ข้อเข่า -- โรค
ผู้สูงอายุ -- โรค -- การรักษา
การส่งเสริมสุขภาพจิต
ผู้สูงอายุ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลอง ที่ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยใช้แนวคิดการเจริญสติของ Kabat-Zinn (1990) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจำนวน 70 คน ที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน จับคู่ในด้าน อายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกาย ชนิดของยาแก้ปวด ความถี่ของยาแก้ปวดที่ได้รับ และประสบการณ์ในการเจริญสติ ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 5 ครั้ง และรายบุคคล 3 ครั้งรวม 8 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินระดับอาการปวดชนิดตัวเลข (Numeric Rating Scale: NSR) และแบบประเมินภาวะข้อจำกัดจากอาการปวดเข่า (Western Ontario Mcmaster Universities Osteoarthritis Index: WOMAC Scale) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และมีความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .78 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ภายหลังได้รับโปรแกรมการเจริญสติ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเจริญสติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเจริญสติ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the effects of a mindfulness meditation program on knee pain among older persons with knee osteoarthritis. The mindfulness meditation based on Kabat-Zinn’s theory (1990) was applied to the development of the intervention. The sample consisted of 70 older persons who are members of the Senior Citizens Club in Suratthani Province suffering knee osteoarthritis. The first 35 subjects were assigned to a control group and the other 35 subjects were assigned to an experimental group. Participants from both groups had similar characteristics in terms of age, gender, BMI, type of pain medication, the frequency of pain medication consumption and experience of mindfulness. The experimental group underwent a mindfulness meditation program and the control group received routine treatment. The instruments employed in the study included the intervention, developed by the researcher, of “A Mindfulness Meditation Program” comprising five group activities and three individual activities, totaling eight activities. Data were collected by using a Numeric Rating Scale (NRS) and “The Daily Movement Efficacy” (Modified WOMAC Scale). The instruments were tested for content validity by 5 experts, and CVI were 1.0 while the reliability test-retest were .78 and .99, respectively. Data were analyzed using descriptive (mean, percentage, standard deviation) and t-test statistics. The major results were as follows: 1.After receiving the mindfulness medication program, the mean pain score among older persons with knee osteoarthritis in the experimental group was significantly lower than the score before undergoing the program (p < .01). 2.After receiving the mindfulness medication program, the mean pain score among older persons with knee osteoarthritis in the experimental group was significantly lower than those who received routine treatment only (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21788
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.481
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punyanuch_ko.pdf47.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.