Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2199
Title: การวิจัยและพัฒนาเครื่องกระตุ้นหัวใจ
Authors: ชาตรี ศรีไพพรรณ
โคทม อารียา
กฤษดา วิศวธีรานนท์
Email: Krisada.V@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
Subjects: เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
หัวใจ--การเต้น
เวชภัณฑ์
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบของเครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดฝังภายในแบบให้อัตราเต้นคงที่ และแบบให้อัตราเต้นเมื่อต้องการการวิจัยเครื่องแบบให้อัตราเต้นคงที่เน้นหนักถึงเทคนิคต่างๆ ในการสร้าง การใช้วัสดุและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิคส์ที่หาซื้อได้ในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างเครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจให้มีราคาถูกเพื่อให้ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยมีโอกาสยืดชีวิตตัวเองได้ ได้ออกแบบเครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจที่ปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาถูกต้องและใช้พลังงานต่ำ ได้ทดลองนำเครื่องที่สร้างไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจโดยใช้เครื่องชนิดติดภายนอกร่างกายเป็นผลสำเร็จ ได้ใช้ก้อนกาอีป๊อกซี่แข็งเคลือบด้วยอีลาสไดเมอร์ซีลีโคนขนาดเท่าเครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจไปผ่าตัดฝังเข้าใต้ผิวหนังสุนัขทดลอง ผลการตรวจเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นว่าสารที่ใช้ฝังไม่มีปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อสุนัขทดลอง ในการวิจัยเครื่องแบบให้อัตราเต้นเมื่อต้องการ ได้สร้างและทดสอบวงจรต้นแบบในห้องปฏิบัติการ นำวงจรต้นแบบไปประกอบลงบนแผ่นวงจรพิมพ์ที่มีขนาดเล็กพอที่จะฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยได้ จากผลการทดลองของการวิจัยครั้งนี้ทำให้เชื่อได้ว่าวงจรต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมากสามารถนำไปใช้งานได้
Other Abstract: This research presents the design and construction of fixed rate and demand type internal cardiac pacemaker prototypes. In the research on the fixed rate one, the emphasis was on the various construction techniques using the material and components that can be purchased in the country. The purpose was to build a low cost pacemaker for low income patients. The pacemaker could generate proper waveforms and consumed low energy. It has been successfully applied to patients externally. Pieces of epoxy adhesives coated with silicone elastomer which had the same size and shape as pacemaker were implanted subcutaneously in dogs. Histologic section of tissue revealed that the implanted material did not have any harmful effect. In the research on the demand type pacemaker, a prototype has been built and tested in the laboratory. The whole circuit can be mounted on a printed circuit board small enough for implantation. Form the results of the research, the author feels confident that the developed circuit can be actually used.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2199
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krisada(fixed).pdf23.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.