Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22031
Title: ศึกษาเปรียบเทียบผลของยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 40 มิลลิกรัม ฉีดทุก 12 ชั่วโมง ว่าสามารถเพิ่มค่าความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะอาหารได้เทียบเท่ากับผลของยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วยให้ต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมง ได้หรือไม่ในคนไทย
Other Titles: Comparison between omeprazole 80 mg IV push then 40 mg IV every 12 hours that can rise intragastric pH as same as omeprazole 80 mg IV push then 8 mg drip per hour in Thai population
Authors: คณิตา ฉัตราโสภณ
Advisors: สุเทพ กลชาญวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sutep.G@Chula.ac.th
Subjects: ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ -- การรักษาด้วยยา
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย: ภาวะเลือดออกทางเดินอาหารรักษาโดยการให้ยาลดกรด PPI พบว่าเชื้อชาติเอเชียมียีนที่ทำให้ยา PPI สลายได้ช้ากว่าทำให้ชาติเอเชียมีประสิทธิภาพของยามากกว่าชาติอื่นในขนาดยาที่เท่ากัน จึงเป็นที่มาว่าคนไทยที่เป็นเชื้อชาติเอเชียน่าจะต้องการปริมาณยา PPI ที่น้อยกว่าขนาดที่ใช้ปกติ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการให้ยา omeprazole (o-sid) 80 มิลลิกรัม ตามด้วย 40 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับการให้ omeprazole (O-sid) 80 มิลลิกรัม ตามด้วยหยดต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมงว่าสามารถเพิ่มค่า pH ในกระเพาะได้เทียบเท่ากันในประชากรไทย ระเบียบวิธีการวิจัย: อาสาสมัครสุขภาพแข็งแรงดี 8 รายได้เจาะเลือด Serum H. pylori และ CYP2C19 หลังจากนั้นจะได้ยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมเข้าทางหลอดเลือดดำแล้วตามด้วยฉีด 40 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 48 ชั่วโมงต่อเนื่องโดยมีสายวัด pH monitoring ตลอดหลังจากนั้นให้มีช่วง wash out เป็นเวลา 2 อาทิตย์และมาให้ยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมเข้าทางหลอดเลือดดำแล้วตามด้วยหยดต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมงเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลเป็นแบบต่อเนื่องดูในเรื่องค่าเฉลี่ย pH, เปอร์เซ็นต์ระยะเวลาที่ pH>4 และ pH>6 และผล acid break through ในแต่ละวิธีของการให้ยา และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกันว่าค่าเฉลี่ย และระยะเวลาที่สามารถทำให้ pH>6 มีความแตกต่างในแต่ละวิธีการให้หรือไม่ โดยดูร่วมกับผล serum H.pylori และ CYP2C19 ผลการวิจัย: พบว่าอาสาสมัครทั้งหมดที่เข้ารับการวิจัยมี CYP2C19 เป็นชนิด Extensive metabolizer และพบว่าค่าเฉลี่ย pH ในการให้ยาแบบ bolus น้อยกว่าการให้ยา continuous เฉพาะในวันแรกของการให้ยา (6.2±1 VS 7.1±0.6 (p<0.05)แต่mean pHรวม 48 ชั่วโมงไม่ต่างกันส่วนระยะเวลาที่สามารถทำให้ในกระเพาะ pH>6 สั้นกว่าในกลุ่ม bolus เมื่อเทียบกับcontinuousในวันแรก (66.2±22.7% VS 84.7±17.3%)(p<0.05) และรวม 48 ชั่วโมง (69.9±12.6% VS 83 ±13.8%,p<0.05) และพบว่าacid break through พบเฉพาะในการให้ยาแบบ bolusเท่านั้น สรุป: การให้ยาแบบbolus เมื่อเทียบกับการให้ยาแบบ continuous ใน 48 ชั่วโมง pH เฉลี่ยไม่แตกต่างกันแต่ถ้าดูในช่วง 24 ชั่วโมงแรกการให้ยาแบบ bolus จะมีค่าเฉลี่ยเป็นกรดมากกว่า และในกลุ่ม continuous สามารถจะควบคุมให้กระเพาะ pH>6 ได้คงที่จะยาวนานกว่ากลุ่ม bolus แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม bolus หรือ continuous ก็พบว่าสามารถควบคุมการหลั่งกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้แต่ในกลุ่ม extensive metabolizing CYP2C19 ดังนั้นการที่พบว่าคนเอเซียตอบสนองต่อการให้ยาลดกรดเป็นจากการที่มี poor metabolizer ต่อยา PPI มากกว่าคนต่างชาติ อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากการมี CYP2C19 ชนิดต่างๆ
Other Abstract: Background: Proton-pump inhibitor is more effective for gastric acid control in Asian than Western population possible because of high prevalence of poor metabolizing CYP2C19 genotype in Asian people. Objective: To evaluate the effect of low dose intravenous (IV) bolus VS. standard recommended dose continuous IV infusion of omeprazole in Thai healthy volunteers. Method: 8 healthy subjects were randomized to receive either omeprazole 80 mg IV bolus followed by 40 mg IV bolus every 12 hr or omeprazole 80 mg IV bolus followed by 8 mg/hr continuous infusion for 48 hr. The gastric pH was monitored by a pH catheter with a data logger (DIGITRAPPER pH 400, Medtronic A/S) for 2 days during the omeprazole treatment periods. The gastric pH sensor was positioned at 10 cm below the LES located by esophageal manometry. Results: The mean gastric pH for IV bolus was significantly lower than continuous infusion only on day 1 (6.2±1.0 VS 7.1±0.6(p<0.05). Percent time pH>6 for IV bolus was also significantly lower compared to continuous infusion on day 1 (66.2±22.7% VS. 84.7±17.3%)(p<0.05)and entire 48-hr study (69.9 ±12.6% VS83.0±13.8%,p<0.05). 2 subjects developed gastric acid break through during the IV bolus treatment, but none in continuous IV infusion of omeprazole. Conclusion: Continuous IV infusion of standard recommended dose of omeprazole provided better gastric acid control compared to lower dose IV bolus only during the first day but not on the second day. Although the continuous IV infusion was more effective ,both standard dose continuous IV infusion and low dose IV bolus omeprazole was effective for gastric pH control in Thai healthy volunteers with extensive metabolizing CYP2C19 genotypes. Comparing to Western population ,suggests the role of other factor(s) beside the CYP2C19 genotype, on gastric acid inhibition effect of IV omeprazole.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22031
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.554
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.554
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanita_ch.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.