Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/221
Title: | ระบบยูเอเอสบี-ตัวกลางกรองแบบอุณหภูมิสูงและสองขั้นตอน สำหรับบำบัดน้ำกากส่าและผลิตก๊าซชีวภาพ : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Two-stage thermophilic filter-UASB system for distillery waste treatment and biogas production |
Authors: | สุเมธ ชวเดช |
Email: | Sumaeth.C@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี |
Subjects: | การหมัก น้ำเสีย--การบำบัด--ระบบยูเอเอสบี |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระบบหมักที่ใช้ศึกษาเป็นระบบตัวกลางกรอง-ยูเอเอสบีสองขั้นตอนแบบอุณหภูมิสูง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ หลักการสองขั้นตอน, ระบบหมักประสิทธิภาพสูง (ระบบหมักตัวกลางกรองและระบบหมักชั้นตะกอนไหลขึ้น) และการควบคุมที่อุณหภูมิสูง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและการผลิตก๊าซชีวภาพ ในการทดลองนี้ใช้น้ำกากส่าจากโรงงานสุราซึ่งมีค่าซีโอดี 90,000-120,000 มก/ล ระบบหมักในการทดลองนี้ประกอบด้วยถังหมักกรด (ตัวกลางกรอง) มีขนาดจุ 6.8 ลิตร และถังหมักมีเธน (ตัวกลางกรอง-ยูเอเอสบี) มีขนาดสูง 55 ลิตร ถังหมักทั้งสองถังถูกควบคุมอุณหภูมิที่ 55 ซ ระบบนี้ได้แสดงถึงเสถียรภาพของระบบที่สูงมาก และสามารถรับอัตราป้อนสารอินทรีย์ได้สูงถึง 13.05 กก ซีโอดี/ม3 วัน อัตราป้อนสารอินทรีย์ที่เหมาะสมเท่ากับ 6.38 กก ซีโอดี/ม3 วัน สำหรับประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุด และที่สภาวะนี้ระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 52% ในการเปรียบเทียบกับระบบสองขั้นตอนยูเอเอสบีที่ควบคุมที่อุณหภูมิปานกลาง พบว่าระบบที่ศึกษานี้ ซึ่งเป็นระบบหมักสองขั้นตอนตัวกลาง-ยูเอเอสบีแบบอุณหภูมิสูง สามารถรับอัตราป้อนสารอินทรีย์ได้สูงกว่าเล็กน้อย นอกจากนี้ระบบหมักที่ศึกษานี้ยังให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่าระบบหมักขนาดใหญ่แบบยูเอเอสบีสองขั้นตอนอุณหภูมิปานกลาง |
Other Abstract: | This studied system, thermophilic two-stage filter-UASB, consisted of three main components of two-stage concept, high-rate anaerobic processes (anaerobic filter and upflow anaerobic sludge blanket) and thermophilic operation in order to improve treatment efficiency and biogas production. The distillery waste containing COD of 90,000-120,000 mg/l was used in this experimental study. The studied system consisted of 6.8 litre acidogenic fermenter (AF) and 35 litre methanogenic fermenter (AF-UASB). These two fermenters were operated at constant temperature of 55 C. The studied system showed a considerably high degree of process stability and it could withstand a high COD loading up to 13.05 kg COD/m3d. The optimum COD loading for maximum biogas production efficiency was 6.38 kg COD/m3d which corresponded to 52% COD reduction. In comparison with the mesophilic single-stage UASB system, the thermophilic two-stage AF-UASB unit had a maximum COD loading slightly higher. Moreover, it appeared that the studied system could yield a considerably higher efficiency than the full-scale mesophilic two-stage UASB process. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/221 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Petro - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumaet(uasb).pdf | 7.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.