Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2215
Title: กระบวนการผลิตเหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์
Authors: ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์
มนัส สถิรจินดา
กิตติ อินทรานนท์
เสริมพันธ์ แปลกสิริ
Email: fmtpbd@kankrow.eng.chula.ac.th, bparitud@netserv.chula.ac.th, paritud@cuuc.chula.ac.th
fmtmst@eng.chula.ac.th
Kitti.I@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เหล็กหล่อ
อุตสาหกรรมรถยนต์--ไทย
อุตสาหกรรมเหล็กหล่อ--ไทย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โลหะผสมนิเกิลและโลหะผสมโมลิบดินั่มได้ถูกนำมาเป็นส่วนผสมสำคัญ เพื่อผลิตเหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์ ส่วนผสมโลหะผสมนิเกิลใช้ 5 ส่วนผสม ตั้งแต่ 0.6-4% และโลหะผสมโมลิบดินั่มใช้ 3 ส่วน ตั้งแต่ 0.1-0.6% เหล็กหล่อกราไฟต์กลมที่ผลิตได้ก็จะถูกนำไปชุบแข็งโดยวิธี Austempering ที่อุณหภูมิ 250 ซ, 300 ซ และ 350 ซ หลังจากนั้นจึงนำไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกลเพื่อหาความต้านแรงดึง ความทนทานต่อแรกกระแทก และความแข็ง การศึกษาวิจัยถูกออกแบบ (5 x 3 x 3) และจัดให้มีขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. เพื่อวัดุณสมบัติเชิงกลของเหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์ที่ผลิตได้ 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกล ความเหมาะสมเชิงเทคนิคและต้นทุนการผลิตของเหล็กหล่อและเหล็กกล้าที่ใช้เป็นชิ้นส่วนรถยนต์กับเหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์ที่ผลิตได้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการผสมโลหะผสมนิเกิล 1.5% และโลหะผสมโมลิบดินั่ม 0.3% จะให้ค่าความต้านแรงดึงสูงที่สุด และอุณหภูมิในการชุบแข็งโดยวิธี Austempering ที่ให้ค่าความต้านแรงดึงสูงที่สุด คือ 250 ซ แต่ถ้าต้องการค่าความทนทานต่อแรงกระแทกสูงที่สุดจะต้องทำ Austempering ที่อุณหภูมิ 350 ซ กล่าวโดยสรุปได้ว่าการเติมส่วนผสมของโลหะผสมนิเกิลมากกว่า 3% ขึ้นไป จะทำให้ได้เหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์โดยไม่ต้องทำการอบชุบ แต่การเติมโลหะผสมโมลิบดินั่มมากกว่า 0.3% จะทำให้ความต้านแรงดึงลดลงได้ จากการศึกษาความเป็นไปได้เชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ พบว่าเหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์ที่ผลิตได้ สามารถนำไปใช้ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ต้องการความทนทานต่อแรงกระแทกสูง การเสียดสีและการสึกหรอได้เป็นอย่างดี ควรที่จะมีการสนับสนุนการลงทุนและพัฒนาการผลิตเหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเบไนต์ในประเทศไทยเพื่อใช้ทดแทนเหล็กหล่อเทา เหล็กหล่อกราไฟต์กลมเนื้อพื้นเพิรไลท์ เฟอร์ไรท์และเหล็กกล้าชุบแข็ง
Other Abstract: Nodular cast iron with bainetic structure was produced by adding Nickel alloy and Molybdinum alloy. The adding process of Ni alloy was varied 5 levels from 0.6-4% while of Mo alloy varied 3 levels from 0.1-0.6%. Test materials were then heat-treated by austempering at 250 C, 300 C and 350 C. Main mechanical properties were tested to determine tensile strength, impact strength and hardness test of the produced nodular cast iron. The study was designed (5 x 3 x 3) and set up with two objectives : 1) to determine mechanical properties of nodular cast iron with bainetic structure and 2) to compare the mechanical properties, technical feasibility and production cost of cast iron and steel used as automobile parts with the nodular cast iron. Results showed that the tensile strength was highest if 1.5% of Ni alloy, 0.3% of Mo alloy added and heat-treated at 250 C. To obtain the highest impact strength, the tested nodular cast iron was heat-treated at 350 C. It was concluded that by adding 3% or more of Ni alloy, the bainetic structure could be obtained without the austempering treatment. If 0.3% or more of Mo alloy was added, however, the tensile strength could be reduced. From the view point of technical and economic feasibility, it was founded that the nodular cast iron with bainetic structure could be used in making automobile parts which were designed to resist high impact, heavy wear and corrosion. It was recommended that investment and development for the production of nodular substitute for grey cast iron, nodular cast iron with pearlitoferritic structure, and hardened steel.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2215
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pritat_iron.pdf9.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.