Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2222
Title: การศึกษาปัญหาของการเคลื่อนย้ายวัสดุ และวิเคราะห์สาเหตุของการบาดเจ็บ : กรณีในโรงงานบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Study and manual materials handling problems and cause findings of injuries: a case in a factory of Johnson & Johnson (Thailand) Co., Ltd.
Authors: กิตติ อินทรานนท์
Email: Kitti.I@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Subjects: การเคลื่อนย้ายวัสดุ
เออร์โกโนมิกส์
บาดแผลและบาดเจ็บ
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การยศาสตร์เป็นการศึกษาอันตรกิริยาระหว่างผู้ปฏิบัติงานและเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมใดๆ การศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่ตัวคนเป็นหลัก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้จะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อมีคนใช้ทำงาน ใช้บริการ ซ่อมแซมบำรุงรักษา สภาพแวดล้อมก็เช่นกัน จะมีความหมายมากขึ้นก็ต่อเมื่อมีบุคคลทำงานอยู่ในนั้น การประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านี้ในสถานประกอบการนับว่าจำเป็นมากเพื่อการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับหน่วยงานนั้น ประโยชน์ที่ชัดเจนนี้ได้กระตุ้นให้หน่วยอุตสาหกรรมภาคเอกชนหลายแห่งให้ความสนใจ บริษัท จอห์นสันแอนด์จอห์นสันประเทศไทย จำกัด ได้ขอให้หน่วยปฏิบัติการวิจัยการยศาสตร์เข้าไปทำการศึกษาโดยใช้ความรู้ทางการยศาสตร์ที่โรงงานของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการยศาสตร์โดยรวม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาภาระของกล้ามเนื้อของคนงานที่ทำงานโดยใช้แรงงานและทำงานซ้ำซาก 2) เปรียบเทียบผลการวัดการตอบสนองจากการวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อและการบันทึกการเต้นของหัวใจในการทำงานประเภทต่างๆ กัน 3) ศึกษาผลกระทบของปัจจัยการทำงานต่อกล้ามเนื้อ 4) เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขปัญหา การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวัดหาค่ามิติของสถานที่ทำงาน วัดสัดส่วนร่างกายของพนักงาน จากนั้นได้ทำการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์พนักงานสำหรับหาค่าดัชนีความผิดปกติ เพื่อเลือกผู้ถูกทดสอบซึ่งได้ทั้งหมด 9 คน จากงานที่ทำซ้ำซาก 5 คน (แผนกบรรจุผ้าอนามัย) งานที่ใช้แรงมาก 4 คน (งานยกถุงแห้ง 2 คน และงานเข็นรถบรรทุกแป้งเข้าออกจากเตาอบ 2 คน) ทำการวัดค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ที่กล้ามเนื้อ deltoid และ trapezius วัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ บันทึกลักษณะการทำงานในขณะทำงานทุกคน และวัดแรงที่ใช้ในการเข็นรถบรรทุกแป้งเข้าออกจากเตาอบ การศึกษาภาระงานของกล้ามเนื้อในงานที่ต้องใช้แรงมากพบว่าค่า EMG ที่กล้ามเนื้อ deltoid และ trapezius เฉลี่ยในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 35% ของค่าเฉลี่ยสูงสุด(MVE) ซึ่งนับว่าเป็นอันตราย ซึ่งได้เสนอแนะวิธีปรับปรุงโดยการติดแผ่นกันลื่นที่พื้นในงานเข็นรถบรรทุกแป้งและใช้เครื่องช่วยยกในงานยกถุงแป้ง พบว่าสามารถลดค่า EMG ได้ สำหรับงานบรรจุผ้าอนามัย (งานซ้ำซาก) นั้นพบว่าค่า EMG ที่ได้ต่ำกว่างานที่ต้องใช้แรงงานมาก อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบค่า EMG ของงานบรรจุผ้าอนามัยในต้นสัปดาห์ และในปลายสัปดาห์ พบว่า งานบรรจุผ้าอนามัยได้ก่อให้เกิดความล้าสะสม จึงได้เสนอวิธีการแก้ไขโดยการหมุนเวียนงาน สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง EMG และอัตราการเต้นของหัวใจพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน จากการศึกษาครั้งนี้จึงได้สรุปว่า ปัจจัยของการทำงานต่อกล้ามเนื้อคือ 1) ลักษณะของงาน 2) รอบการทำงาน (ต้นสัปดาห์-ปลายสัปดาห์) และ 3) ลักษณะสภาพแวดล้อมของการทำงาน
Other Abstract: Ergonomics is defined as the study of the interaction between workers and the equipment being used and the environments in which they function. Ergonomics is centered on the person. The equipment itself can be important if the person must operate, service, install, and/or repair that equipment. The same holds true for the environment which can be important if the person works in it. The application of this knowledge to the workplace is essential in order to enhance productivity and to increase the social responsibility of the firm. The significance of this benefit is getting more attention and interest from the industrial sector in Thailand. Laboratory for Ergonomics Research was invited by Johnson and Johnson (Thailand) Co., Ltd. to conduct an ergonomic study in its factory in Lard-Krabang Industrial Estage. Total Ergonomic Approach was promised to be the main methods to employ in the study. The objectives of the study were to 1) investigate muscular load of workers who perform a heavy work and a repetitive work, 2) compare responses of EMG measurement and heart rate record on different works, 3) study effects of work factors on muscles, and 4) propose solutions to the problems. The measurements of workspace dimensions and of workers anthropometry were collected. Interviews were done using standard interviewing forms to find an abnormal index. Nine test subjects were selected, i.e., five from repetitive work (sanitary napkin packing department), four from heavy work (two each from sack carrying work and hauling cart of sacks in and out of oven). Electromyogram (EMG) levels of deltoid and trapezius muscles and heart rate were measured together with observation of work conditions. Force required to push cart of sacks in and out of oven was also recorded. It was found that the average EMG values of deltoid and trapezius muscles for heavy work were higher than 35% of maximum value (from the MVE), which was considered dangerous by most previous reported works. After suggestions to use lifging aid for sacks and toinstall anti-slip floor sheets, EMG values were reduced. For sanitary-napkin packing, a repetitive work, it was found that EMG values were lower than those of heavy work. However, when comparing EMG values of sanitary-napkin packing for the beginning of the week against the end of the week, it was found that fatigue accumulation was existed in packing work. Job rotation was recommended as a solution to this accumulation problem. In every case, the statistical relationship between EMG and heart rate was not confirmed. From this study, it was concluded that factors affecting muscular activity are 1) type of work, 2) work shift (beginning-end of week), and 3) work environment.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2222
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitti_manual.pdf14.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.