Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2231
Title: การปรับปรุงคุณภาพแร่ทรายแก้วคุณภาพต่ำสำหรับอุตสาหกรรมแก้ว
Authors: สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย
ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช
วิชญา การชัญกาศ
Email: fmnsss@kankrow.eng.chula.ac.th, Somsak.S@Chula.ac.th
fmndww@kankrow.eng.chula.ac.th, dawan@eri.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และธรณีวิทยาเหมืองแร่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และธรณีวิทยาเหมืองแร่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และธรณีวิทยาเหมืองแร่
Subjects: ทรายแก้ว
การแต่งแร่
อุตสาหกรรมแก้ว
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการแต่งแร่ทรายแก้วคุณภาพต่ำ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมแก้ว โดยขั้นต้นทำการแยกสารอินทรีย์จำพวกรากไม้, เศษหญ้า ออกไปก่อน ด้วยตะแกรงสั่นแบบเปียก และแยกแร่ซึ่งมี ถ.พ. หนักด้วยเครื่องฮัมฟรีสไปรอล แล้วจึงนำทรายแก้วที่ได้เบื้องต้นมาแต่งแร่ต่อในขั้นที่สองโดยทำการแต่งแร่เปรียบเทียบ 3 วิธีดังนี้ โต๊ะสั่นแยกแร่, เครื่องแยกแร่แม่เหล็กความเข้มสูงแบบเปียกชนิดถังคารูเซล และเครื่องแยกแร่แม่เหล็กสายพานขวางแบบแห้งผลการวิจัยพบว่า ทรายแก้วที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งเป็นทรายแด้วเกรดต่ำ (95.5% SiO[subscript 2], 0.94% Al[subscript 2]O[subscript 3], 0.13% TiO[subscript 2], 0.0013% Cr[subscript 2]O[subscript 3], 3.07%LOI) ประกอบด้วยแร่ควอร์ตซ์ร้อยละ 95 มลทินซึ่งเป็นสารอินทรีย์จำพวกรากไม้, เศษหญ้า ร้อยละ 3 และแร่ติดแม่เหล็ก (เช่น อิลเมไนต์) รวมกับแร่ ถ.พ. หนักอื่นๆ ร้อยละ 2 ส่วนเม็ดทรายมีขนาดอยู่ในช่วง60-200 เมช กรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับการแต่งแร่หลังจากผ่านเครื่องฮัมฟรีสไปรอล คือ การแยกด้วยเครื่องแยกแม่เหล็กความเข้มสูงแบบเปียกชนิดถังคารูเซล โดยใช้สภาวะในการแต่งดังนี้ ป้อนแร่ผสมน้ำซึ่งมีสัดส่วนของแข็ง 6.67% ด้วยอัตราเร็ว 10 ลิตร/นาที ณ อัตราเร็วของถังคารูเซล 1.98 เมตร/นาที ณ สภาวะดังกล่าวสามารถเก็บแร่ได้ 93.36% yielf และได้หัวแร่ควอร์ต ที่มีคุณภาพสูง (99.40% SiO[subscript 2], 0.344% Al[subscript 2]O[subscript 3], 0.04% Fe[subscript 2]O[subscript 3], 0.038% TiO[subscript 2], 0.003% Cr[subscript 2]O[subscript 3], 0.23% LOI) ซึ่งสามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมแก้วได้ สำหรับการแยกแร่ที่ผ่านฮัมฟรีย์สไปรอลแล้วด้วยโต๊ะสั่น และเครื่องแยกแร่แม่เหล็กแบบสายพานขวาง ทรายแก้วที่ได้มีคุณภาพ (%Grade) SiO[subscript 2] มากกว่าร้อยละ 99 แต่ Fe[subscript 2]O[subscript 3] มากกว่าร้อยละ 0.05 จึงยังไม่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมแก้ว
Other Abstract: Dressing of low grade glass-sand for glass industry industry application is the main objective of the present research. In the dressing process, organic materials such as tree-root and grass was firstly separated by wet screening and then high specific-gravity ores were separated by Humhrey Spiral. After that the sand was further dressed with the following comparative three methods : -Ore Shaking Table, Carousel Wet High Intensity Magnetic Separator and Dry Cross Belt Magnetic Separator. The low grade glass-sand (95.5%SiO[subscript 2], 0.94%Al[subscript 2]O[subscript 3], 0.12%Fe[subscript 2]O[subscript 3], 0.13%TiO[subscript 2], 0.0013%Cr[subscript 2]O[subscript 3], 3.07%LOI) used in the present research was containing 95% quartz, 3% organic impurities such as tree-root and grass, and 2% magnetic adsorbed ores, e.g. Ilmenite, including other high specific gravity ores. Size of the sand particle was found to be in the range of 60-200 mesh. The appropriate process for treatment of the Humphrey Spiral light product is the carousel-Wet-High Intensity Magnetic Separation with the optimum condition of pulp density 6.67% at feed rate of 10 litre/min and 1.98 m/min. rotation rate of Carousel tank. High grade quartz (99.4%SiO[subscript 2], 0.0344%Al[subscript 2]O[subscript 3], 0.04%Fe[subscript 2]O[subscript 3], 0.038%TiO[subscript 2], 0.003%Cr[subscript 2]O[subscript 3], 0.23%LOI) which can be used in glass industries was obtained with the recovery of 93.36%. In case of the Humphrey Spiral light product treatment by Shaking Table and Dry Cross Belt Magnetic Separator it was found that high grade quartz (SiO[subscript 2]>99%) was obtained as well, but the Fe[subscript 2]O[subscript 3] impurities was still higher than 0.05%, which is not suitable for glass industries.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2231
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak(glass).pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.