Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22375
Title: Effects of moisture content, shape and particle size of composite particles of rice starch and microcrystalline cellulose on tabletting
Other Titles: ผลของปริมาณความชื้น รูปร่างและขนาดของอนุภาคประกอบร่วมระหว่างแป้งข้าวเจ้ากับไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสต่อการตอกเม็ด
Authors: Ratchada Pattanasombatsakul
Advisors: Poj Kulvanich
Other author: Chulalongkorn University. Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Poj.K@Chula.ac.th
Subjects: Tablets ‪(Medicine)‬
Rice flour
Cellulose
ยาเม็ด
แป้งข้าวเจ้า
เซลลูโลส
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: To investigate the effects of moisture content, shape and particle size of composite particles between rice starch (RS) and microcrystalline cellulose (MCC) on tabletting properties. The composite particles (RS:MCC) which composed of RS and MCC in the ratio of 7:3 were prepared by spray drying technique. MCC from two sources were used, CEOLUS® PH 101 and COMPRECEL®. Two groups of MCC were used, that passing through a sieve number 45 having an opening aperture of 355 µm (CS) and that its size was reduced by jet mill (CJM). It was found that using CS produced composite particles in “rugby ball” shape while using CJM gave composite particles of spherical shape. Powder characterizations of RS:MCC prepared by using MCC from two sources gave similar flowability index. However, the hardness of the 500 mg and 350 mg RS:MCC tablets composed of CEOLUS® PH 101 was higher than composite particles using COMPRECEL®. The composite particles using CEOLUS® PH 101 which having 7.01, 10.79 and 15.73 percent moisture content exhibited different tabletting properties in particular the hardness of tablet. Capping of tablet was found at 15.73 percent of moisture content level. Moreover, comparing with commercial spray dried rice starch without MCC (Eratab®), the Eratab® tablets were likely to be friable than RS:MCC tablets at the moisture content of approximately 10.79%. The relationship of particle sizes of RS:MCC composite particles with their tabletting properties was unclear. Perhaps, the particle size range of RS:MCC composite particles chosen for the study was inappropriate. Particle shape of RS:MCC composite particles especially affected on the hardness of 350 mg tablet when compressed with lower force as 1 and 1.5 metric tons. Tablets made from spherical shape RS:MCC (using CJM as starting materials) was harder than those of made from “rugby ball” shape RS:MCC (using CS as starting materials).
Other Abstract: ศึกษาผลของปริมาณความชื้น รูปร่างและขนาดของอนุภาคประกอบร่วม ระหว่างแป้งข้าวเจ้ากับไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส ต่อคุณสมบัติการตอกอัดเป็นเม็ด โดยเตรียมอนุภาคประกอบร่วมระหว่างแป้งข้าวเจ้ากับไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส ในอัตราส่วน 7:3 ด้วยเทคนิคการพ่นแห้ง ศึกษาเปรียบเทียบไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจาก 2 แหล่งผลิต คือ CEOLUS® PH 101 และ COMPRECEL® ทั้งนี้ก่อนใช้ได้นำมาคัดขนาดอนุภาคด้วยตะแกรงขนาด 45 เมชซึ่งมีรูเปิดขนาด 355 ไมครอน (CS) หรือย่อยขนาดด้วยเครื่องบดด้วยลมพ่น (CJM) พบว่าเมื่อใช้ CS จะได้อนุภาคประกอบร่วมที่มีรูปร่างคล้ายลูกรักบี้ ขณะที่ใช้ CJM จะได้อนุภาคประกอบร่วมรูปทรงกลม การศึกษาคุณสมบัติของผงอนุภาคประกอบร่วม พบว่าดัชนีสภาพไหลได้ของอนุภาคประกอบร่วมที่เตรียมจากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสทั้ง 2 แหล่งผลิตได้ค่าใกล้เคียงกัน แต่เมื่อนำมาตอกอัดเป็นเม็ดโดยมีขนาดเม็ด 500 และ 350 มิลลิกรัม พบว่าอนุภาคประกอบร่วมที่ใช้ CEOLUS® PH 101 เป็นส่วนประกอบให้ความแข็งของการตอกอัดมากกว่า COMPRECEL® เมื่อศึกษาผลของอนุภาคประกอบร่วมที่ใช้ CEOLUS® PH 101 ที่มีปริมาณความชื้นร้อยละ 7.01, 10.79 และ 15.73 ต่อคุณสมบัติของการตอกอัดเป็นเม็ดโดยเฉพาะความแข็งของเม็ดยาพบว่า ความชื้นที่ระดับร้อยละ 15.73 ทำให้เม็ดยาแตกในลักษณะกะเทาะเป็นแผ่น และยังได้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างอนุภาคประกอบร่วมกับ Eratab® ซึ่งเป็นแป้งข้าวเจ้าที่เตรียมโดยเทคนิคการพ่นแห้ง พบว่าที่ระดับความชื้นร้อยละ 10.79 เม็ดยาที่เตรียมจากอนุภาคประกอบร่วมจะมีความกร่อนที่ต่ำกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของอนุภาคประกอบร่วมกับการตอกอัดเป็นเม็ดยังสรุปได้ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการเลือกช่วงขนาดของอนุภาคประกอบร่วมที่นำมาทดลองยังไม่เหมาะสม ส่วนรูปร่างของอนุภาคประกอบร่วมจะมีผลต่อความแข็งของเม็ดยาที่มีขนาด 350 มิลลิกรัม และแรงตอกอัดต่ำที่ 1 และ 1.5 เมตริกตัน โดยเม็ดยาที่ตอกจากอนุภาคประกอบร่วมที่ใช้ CJM ซึ่งมีรูปทรงกลมมีความแข็งมากกว่าเม็ดยาที่ตอกจากอนุภาคประกอบร่วมที่ใช้ CS เป็นสารตั้งต้น ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกรักบี้
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Industrial Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22375
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1646
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1646
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratchada_pa.pdf11.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.