Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22391
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ จันทรวงศ์
dc.contributor.advisorชัยอนันต์ สมุทวญิช
dc.contributor.authorสุมินทร์ จุฑางกูร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตยาลัย
dc.date.accessioned2012-10-04T03:53:24Z
dc.date.available2012-10-04T03:53:24Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745664197
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22391
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาถึง กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในการศึกษานี้จะอาศัยการจัดระบบการศึกษาของชาติเป็นตัวแบบ และในรายละเอียดของการศึกษานั้นจะเน้นการพิจารณาวิเคราะห์เนื้อหาสาระของแบบเรียนหลวงในรัชกาลดังกล่าวเป็นสำคัญ โดยหลักการแล้ว การจัดการศึกษานั้นถือว่าเป็นจักรกลในการผลิตบุคลากรให้เป็นผู้ที่มีความรู้และความรับผิดชอบในด้านต่างๆ เพื่อที่จะทำการสร้างสรรค์สังคมนั้นๆ ต่อไป แต่หากพิจารณาในบริบททางสังคม-การเมือง ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของวิทยานิพนธ์นี้แล้ว ระบบการศึกษาถือได้ว่าเป็นเสมือน “โรงงาน” ที่จะทำการผลิตคุณค่าที่สังคมยอมรับให้แก่บรรดาผู้ที่จะเข้ารับการศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างให้บุคคลที่ถูกกล่อมเกลาทางการศึกษานั้นเป็นผู้ที่ยอมรับต่ออำนาจทางการเมมืองที่ดำรงอยู่ในขณะนั้น จากลักษณะเช่นนี้จะพบว่า เนื้อหาแบบเรียนหลวงในสมัยรัชการที่ 5 นอกจากจะสอนความรู้ด้านอักขรวิธี และความรู้ด้านวิทยาการต่างๆ แล้ว ยังมีการสอนถึงความรู้และแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐประชาชาติ การสอนให้เป็นผู้ยอมรับและเชื่อฟังต่ออำนาจรัฐสมัยใหม่ที่แตกต่างจากโครงสร้างอำนาจรัฐแบบเดิม การสอนให้มีความจงรักภักดี หวงแหน เสียสละ และมุ่งจะกระทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติรวมตลอดถึงความภูมิใจในความเป็นชาติไทยของตน และท้ายที่สุดเนื้อหาแบบเรียนยังได้สอนเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเน้นถึงความสูงส่งของพระราชอำนาจและพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ ผลจากการศึกษาให้ข้อสรุปว่า เนื้อหาสาระในทางการเมืองของแบบเรียนหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มุ่งเน้นที่จะปลูกฝัง คุณค่าและอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น
dc.description.abstractalternativeThe thesis aims at studying Political Socialization during the reign of King Rama V which is based on the educational system of the period while analysis of the official textbooks used in the same period will be the main substance of the study. In principle, education serves as a tool to produce knowledgeable citizens as well as to inculcate in them the sense of responsibility which, together, could contribute to general progress of the society. Yet from political and social standpoints which is the main trust of the thesis, educational performs the function to socialize citizens into accepting political ideas advocated by the state. From content analysis of the official textbooks of this period, it is found out that beside teaching grammar and language and other technical knowledge, concept of nation-state, acquiescence to the authority and power of state, loyalty, sacrifice, involvement, and contribution to the state as well as pride in being Thai citizens, are subjects prescribed by the textbooks. They also highlight loyalty to the throne, loftiness of the royal power and unfathomable royal companion It can be surmised from this study that the content of the official textbooks in the reign of King Rama V stresses the inculcation political values and ideologies among pupils.
dc.format.extent477268 bytes
dc.format.extent701504 bytes
dc.format.extent1424292 bytes
dc.format.extent2290195 bytes
dc.format.extent2899206 bytes
dc.format.extent675730 bytes
dc.format.extent718908 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมประกิตทางการเมือง
dc.subjectแบบเรียน
dc.subjectการปฏิรูปการศึกษา -- ประวัติ -- กรุงรัตนโกสินทร -- รัชกาลที่ 5, 2411-2453
dc.subjectการเมืองกับการศึกษา -- ประวัติ -- กรุงรัตนโกสินทร -- รัชกาลที่ 5, 2411-2453
dc.titleการกล่อมเกลาทางการเมืองโดยใช้แบบเรียนหลวงเป็นสื่อ ในสมัยรัชกาลที่ 5en
dc.title.alternativePolitical Socialization through the use of official textbooks under the reign of King Rama Ven
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปกครองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumin_Dj_front.pdf466.08 kBAdobe PDFView/Open
Sumin_Dj_ch1.pdf685.06 kBAdobe PDFView/Open
Sumin_Dj_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Sumin_Dj_ch3.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Sumin_Dj_ch4.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Sumin_Dj_ch5.pdf659.89 kBAdobe PDFView/Open
Sumin_Dj_back.pdf702.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.