Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22444
Title: ระดับการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของศึกษานิเทศก์อำเภอ และครูวิชากลุ่มโรงเรียนในเขตการศึกษา 8
Other Titles: The adoption levels of the educational innovations among the supervisors at the Amphoe level and the academic teachers in elementary school clusters in educational region eight
Authors: สุภาภรณ์ ทองเจิม
Advisors: สำลี ทองธิว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของศึกษานิเทศก์อำเภอและครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนในเขตการศึกษา 8 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตการศึกษา 8 3. เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวแปรด้านภาษาถิ่น ศาสนา สถานภาพทางเศรษฐกิจ วุฒิทางการศึกษาและระยะเวลาในการทำงานแต่ละระดับชั้นของการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของศึกษานิเทศก์อำเภอและครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนในเขตการศึกษา 8 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาถึงระดับการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของศึกษานิเทศก์อำเภอและครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนในเขตการศึกษา 8 โดยใช้กระบวนการยอมรับนวัตกรรม 5 ขั้น ของโรเจอร์และชูเมคเกอร์ (Regers and Sheemaker 1971 : 101) เป็นหลักดังนี้คือ 1. ขั้นตระหนักหรือตื่นตัว 2. ขั้นสนใจ 3. ชั้นประเมินผล 4. ขั้นทดลอง 5. ขั้นยอมรับ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษารวม 5 ด้าน จำนวน 37 ชนิด ได้แก่ 1. นวัตกรรมด้านหลักสูตร 2. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน 3. นวัตกรรมด้านสื่อการ 4. นวัตกรรมด้านการวัดผลประเมินผล 5. นวัตกรรมด้านการบริหารและการบริการ ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังศึกษานิเทศก์อำเภอทุกอำเภอในเขตการศึกษา 8 รวมทั้งสิ้น 92 คน ครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนในเขตการศึกษา 8 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแยกประเภท จำนวน 360 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานตามวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัย 1. ศึกษานิเทศก์อำเภอและครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนมีระดับการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษา รวม 5 ด้านดังนี้ การยอมรับนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนด้านการวัดผลประเมินผลอยู่ระดับเดียวกันคือ ระดับตกลงใช้และยอมรับนวัตกรรมด้านสื่อสารสอนอยู่ในระดับประเมินค่า ครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนยอมรับนวัตกรรมด้านหลักสูตรอยู่ในระดับทดลองใช้ ซึ่งเป็นระดับสูงกว่าการยอมรับของศึกษานิเทศก์อำเภอที่อยู่ในระดับประเมินค่า 2. ระดับการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษา 37 ชนิด พบว่า ศึกษานิเทศก์อำเภอ และครู วิชาการกลุ่มโรงเรียนยอมรับอยู่ระดับเดียวกันซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ระดับนำไปใช้ ได้แก่ การสอนซ่อมเสริมและการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนศึกษานิเทศก์อำเภอมีการยอมรับอยู่ระดับนำไปใช้ขณะที่ครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนอยู่ระดับทดลองใช้ได้แก่ วิทยุโรงเรียน การวัดผลแบบอิงเกณฑ์ การประเมินผลก่อนเรียน การประเมินผลรวม การรวมโรงเรียนในรูปสาขาและการจัดสภานักเรียน นวัตกรรมทางการศึกษารวม 5 ด้าน จำนวน 37 ชนิด นั้นเป็นที่ยอมรับจากศึกษานิเทศก์อำเภออยู่ในระดับเดียวกันและระดับสูงกว่า การยอมรับของครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนยกเว้น ในเรื่องการใช้รถจักรยานเพื่อขยายการศึกษาภาคบังคับ เป็นที่ยอมรับจากครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนอยู่ระดับทดสอบใช้ ซึ่งเป็นระดับที่สูงเท่า การยอมรับของศึกษานิเทศก์อำเภอที่อยู่ระดับสมใจ 3.ผลการเปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการศึกษาของครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กในเขตการศึกษา 8 พบว่า 3.1 การยอมรับนวัตกรรมด้านการวัดผลและประเมินผลและการเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติของครูวิชาการที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่แตกต่างกับขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 การยอมรับชุดการเรียนการสอนของครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่กับขนาดเล็กและครูวิชาการ กลุ่มโรงเรียนขนาดกลางกับขนาดเล็ก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระดับที่ .05 3.3 การยอมรับการโต้วาทีธรรมะของครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนขนาดกลางกับขนาดเล็กมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.4 การยอมรับการจัดสภานักเรียนของครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่กับขนาดเล็กมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ศึกษานิเทศก์อำเภอที่มีระยะเวลาในการทำงาน 1-10 ปี และมากกว่า 10 ปี มีการยอมรับนวัตกรรมรวมอยู่ระดับเดียวกันยกเว้นนวัตกรรมด้านหลักสูตรและด้านการบริหารและบริการได้เป็นที่ยอมรับจากศึกษานิเทศก์อำเภอที่ทำงาน 10 ปีขึ้นไปในระดับที่สูงกว่า คือระดับทดลองใช้ นวัตกรรมแต่ละชนิดที่ได้รับการยอมรับสูงสุดจากศึกษานิเทศก์ อำเภอที่มีเวลาในการทำงาน 1-10 ปีและมากกว่า 10 ปีขึ้นไป คือระดับนำไปใช้ ได้แก่ การสอนซ่อมเสริม วิทยุโรงเรียน การประเมินผลการเรียน การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน การประเมินผลรวมและการจัดสภานักเรียน นวัตกรรมดังกล่าวมานี้ ส่วนใหญ่ ศึกษานิเทศก์อำเภอได้รับการเผยแพร่มาจากการอบรมคือ วิทยุโรงเรียนและการสอนซ่อมเสริม นอกจากนี้ได้มาจากการเรียน ครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 10 ปีและมากกว่ามีวุฒิปริญญาตรีและต่ำกว่า มีเงินเดือน 2,000 – 3,000 บาทและมากกว่า มีการยอมรับนวัตกรรมการรวมด้านหลักสูตรอยู่ระดับสูงสุดคือระดับทดลองใช้ มีการยอมรับระดับต่ำสุด คือระดับประเมินค่า ได้แก่ นวัตกรรมด้านการบริหารและด้านสื่อการสอน และมีการยอมรับนวัตกรรมเพียงชนิดเดียวที่อยู่ระดับสูงสุด คือระดับนำไปใช้ได้แก่ การสอนซ่อมเสริม 5.นวัตกรรมที่ศึกษานิเทศก์อำเภอและครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนใช้นอกเหนือไปจากแบบสอบถาม ได้แก่ 5.1 ครูกิติมศักดิ์ 5.2 ห้องสมุดเคลื่อนที่ 5.3 โรงเรียนชุมชน 5.4 การจัดการศึกษาแบบกึ่งศึกษาสงเคราะห์ 5.5 การจัดครูเดินสอนตามหย่อมบ้าน 5.6 การสอนภาษาไทยแบบสร้างสรรค์
Other Abstract: Purposes The purposes of this research were: 1. To study the adoption levels of the educational innovations among the supervisors at the Amphoe level and the academic teachers in elementary school clusters in educational region eight. 2. To compare the adoption of the educational innovations among the 3 cluster sizes: large, middle and small, in the educational region eight. 3. To study the coherence between the levels of adoption and the following variables; local languages, religions, education attainment, teaching experiences and economic status of the supervisors at the Amphoe level and the academic teachers in elementary school clusters in educational region eight. Procedures The instrument used in this study was the questionnaire constructed by the researcher. It was based on Rogers and Shcemaker’s adoption process which consisted of five stages: awareness stage, interest stage, evaluation stage, trial stage and adoption stage. There were 37 items in five areas of innovations : curriculum, instruction, educational media, measurement and administration. The samples were 60 supervisors at the Amphoe level and 183 academic teachers in elementary school clusters. The data were analysed of using ANOVA and Scheffe’ Test for all possible comparison. The data were tabulated alongside with the descriptive presentation and interpretation. Results 1. The supervisors at the Amphoe level and the academic teachers in elementary school clusters adopted in five areas of innovations : in instruction and measurement at the trial stage, in educational media at the evaluation stage. The academic teachers in elementary school clusters adopted in curriculum at the trial stage. This stage was higher than the evaluation stage which was the adoption level of the supervisors at the Amphoe. 2. For the adoption level of the 37 items of innovations; the supervisors at the Amphoe level and the academic teachers in elementary school clusters adopted innovations at the same or higher levels at adoption stage in remedial and formative evaluation. The supervisors at the Amphoe level adopted innovations at the adoption stage whereas the academic teachers were at the trial stage in school broadcast, criterion referenced measurement, pre-test, summative evaluation, branching school system and student council For the 37 educational innovations within 5 items of innovations, the supervisors’ levels of adoption were at the same or higher levels than those of the academic teachers except the use of bicycle for compulsory education in which the supervisors’ was at the interesting stage whereas the academic teachers’ was at the trial stage. 3. The comparative results of the adoption level of innovations among the academic teachers in school clusters within the large, medium and small grouped schools in the educational region eight revealed that there was a significant difference at the level of .05 in the adoption levels of innovation between the large and medium school clusters in measurement and evaluation and automatic promotion; between the medium and small school clusters, and between large and small school clusters in learning packages: between medium and small school clusters in the debate for moral value: between large and small school clusters in student council. 4.The supervisors who had I – I0 years or more of working experiences shared the same level of innovation adoption of the adoption stage, in remedial teaching, school broadeast, Pre-test, formative evaluation, summative evaluation and student council. The supervisors knew those innovations primarily by the orientation and the studying. The academic teachers with I-I0 years or more of working experiences, with the educational status lower or higher than the bachelor degree, with the monthly salary 2,000 – 3,500 bath or more shared the same level of innovation adoption, at the adoption stage in remedial teaching which was known primarily by the studying. 5. The other innovations which the supervisors and the academic teachers were currently using were : 5.1 Honorable teacher 5.2 Mobile library 5.3 Community school 5.4 Semi-welfare education 5.5 On-foot teacher among villages 5.6 The creative teaching method of the Thai language
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22444
ISBN: 9745641332
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Th_front.pdf594.23 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Th_ch1.pdf770.87 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Th_ch2.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Th_ch3.pdf504.34 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Th_ch4.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Th_ch5.pdf959.54 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Th_back.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.