Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22486
Title: แบบแผนการทำงานของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Working patterns of women in bangkok metropolttan area
Authors: เสาวณีย์ คูพูลทรัพย์
Advisors: ภัสสร ลิมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม และแบบแผนการเจริญพันธ์ กับแบบแผนการทำงานตั้งแต่ช่วงก่อนแต่งงานจนถึงปัจจุบันของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 803 ราย เป็นสตรีที่สมรสครั้งเดียว กำลังอยู่กินกับสามี และมีบุตร โดยคัดเลือกตัวอย่างมาจากโครงการวิจัยการทำงานของสตรีกับความต้องการผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเข้าโรงเรียนอนุบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ของสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2532-2533 ผลการศึกษาพบว่า สตรีส่วนใหญ่ทำงานเป็นบางช่วง คือ เริ่มทำก่อนแต่งงาน และจะหยุดหลังจากแต่งงานและมีบุตร กลุ่มรองลงมาคือ ผู้ที่ทำงาต่อเนื่องและผู้ที่ไม่ทำงานเลย สตรีที่ประกอบอาชีพวิชาชีพ และมีการศึกษาสูง จะทำงานต่อเนื่องในสัดส่วนที่สูงกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพอื่น และมีการศึกษาต่ำกว่า รวมทั้งจะมีการเปลี่ยนงานน้อย ขณะที่สตรีบางส่วนที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น โดยเฉพาะอาชีพค้าขาย เมื่อวิเคราะห์แบบแผนการทำงานของของสตรีกับตัวแปรต่างๆ พบว่า อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ของสามี ระยะเวลาการทำงานของสตรี จำนวนบุตรที่มีชีวิต ระยะเวลาหยุดงานหลังคลอดบุตรโดยเฉลี่ย และผู้ดูแลบุตรส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการทำงานของสตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .05 แต่เมื่อใช้รายได้ ระดับการศึกษาและอาชีพของสามี ระดับการศึกษาและอาชีพของสตรี และจำนวนบุตรที่มีชีวิต เป็นตัวแปรควบคุม พบว่ามีความสัมพันธ์กับแบบแผนการทำงานของสตรีดังนี้ อาชีพของสามีมีผลเฉพาะในกลุ่มที่สามีมีรายได้สูง รายได้ของสามีมีผลต่อเมื่อสามีมีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวเปลี่ยนไป เมื่อนำอาชีพของสตรีเข้ามาพิจารณาด้วย ตัวแปรระยะเวลาการทำงานของสตรีพบว่า มีความสัมพันธ์ในทุกกลุ่มการศึกษา และทุกกลุ่มอาชีพ ระดับการศึกษาของสามีมีความสัมพันธ์เฉพาะในกลุ่มที่สามีไม่ได้ประกอบอาชีพเท่านั้น จำนวนบุตรที่มีชีวิตมีความสัมพันธ์ต่อเมื่อสามีมีรายได้ปานกลาง รายได้สูง กับกลุ่มสตรีที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า ขณะที่การหยุดงานหลังคลอดบุตรโดยเฉลี่ยมีความสัมพันธ์ เฉพาะในกลุ่มสตรีที่สามีมีรายได้ต่ำ ปานกลาง กับกลุ่มสตรีที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า และไม่ได้ประกอบอาชีพ สำหรับผู้ดูแลบุตรส่วนใหญ่นั้นมีความสัมพันธ์กับแบบแผนการทำงานของสตรีเกือบทุกกรณียกเว้นกรณีที่สตรีไม่ได้ประกอบอาชีพ ส่วนระยะเวลาที่สตรีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และระยะห่างการมีบุตรโดยเฉลี่ยไม่มีผลต่อแบบแผนการทำงานของสตรีเลย ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีจำแนกพหุพบว่า ตัวแปรต่อไปนี้คือ อาชีพ ระยะเวลาการทำงานและระดับการศึกษาของสตรี ผู้ดูแลบุตรส่วนใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ จำนวนบุตรที่มีชีวิต เป็นตัวแปรที่จะส่งผลให้การทำงานของสตรีมีความต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the relationship between socio-economic characteristics, fertility behavior, and working patterns (from before marriage to present) of women in Bangkok. Eight hundred ad three currently-married women, who married only once and have at least one child, were drawn from the sample of the survey of Women’s Work and the Need for Child Care Among Prekindergarten in Bangkok Metropolitan Area. This survey was conducted by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University in 1989-1990. The findings revealed that the majority of women worked before marriage but stopped after having children. Then next largest groups comprised those who worked continuously and who never worked. Almost all well-educated, professional women continued working in the same occupation. The husband’s occupation, education, and income, and women’s working duration, number of living children, average duration of maternal leave, and child caretakers were significantly correlated with women’s working pattern at the 0.05 level. However, when the husband’s income, education, and occupation, women’s education and occupation, and number of living children were controlled for, it was found that the relationship between the independent variables and women’s working pattern had changed as follows: the husband’s occupation affected only women whose husbands had higher income; the husband’s income affected women whose husband had education lower than college level; women’s working duration had an effect on women of every educational level and every occupation; the husband’s education affected only women whose husband did not work; the number of children affected only women whose husbands had medium and high income levels and women in sales occupation; the average duration of maternal leave affected only women whose husbands hand lower or medium incomes, and women who were in sales or never worked; the child caretaker did not have any effect only for women who never worked; and the women’s duration of living in Bangkok and average child spacing had no relation with women’s working patterns. The MCA results revealed that the following variables had a statistically significant relationship with women’s working pattern; women’s occupation, education, and working duration, child caretakers and especially the number of living children.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22486
ISBN: 9745824585
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee_Kh_front.pdf460.09 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Kh_ch1.pdf874.35 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Kh_ch2.pdf636.44 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Kh_ch3.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Kh_ch4.pdf618.39 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Kh_back.pdf382.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.